กรมชลฯคุมเข้มบริหารน้ำทั่วประเทศ
"อธิบดีกรมชลฯ" เข้ม บริหารน้ำทั่วประเทศ ด้านศูนย์พิบัติเกษตรฯรายงานความเสียหายด้านผลผลิตแล้วประมาณ 8 พันล้าน
"อธิบดีกรมชลฯ" เข้ม บริหารน้ำทั่วประเทศ ด้านศูนย์พิบัติเกษตรฯรายงานความเสียหายด้านผลผลิตแล้วประมาณ 8 พันล้าน
นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยภายหลังประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคาระห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำว่ากรมอุตุนิยมวิทยาคาดว่า ขณะนี้มีความกดอากาศต่ำลงมาเป็นระลอกส่งผลให้ระหว่างวันที่ 18- 20 พ.ย. จะมีฝนตกทั่วไปในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างขนาดใหญ่ต่อเนื่อง ทั้งเขื่อนภูมิพลและ เขื่อนสิริกิติ์ วันละประมาณ 4-6ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.)อย่างไรก็ตามทั้งหมดจะมีการบริหารตามแผนอย่างเคร่งครัด โดยจะระบายน้ำจาก4 เขื่อนหลักไม่เกิน 15 ล้าน ลบ.ม.ต่อวันเพื่อให้น้ำพอใช้ถึง ก.ค. 2559
ทั้งนี้ได้กำชับเจ้าหน้าที่ชลประทานในท้องถิ่นและยังมีบันทึกแจ้งผู้ว่าฯทั้ง 7 จังหวัดและอบต.ต่างๆที่ดูแลสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าในพื้นที่ภาคเหนือให้ใช้น้ำตามแผนที่แจ้งไว้กรมชลฯเท่านั้นโดยมีการเฝ้าระวังที่สถานีนครสวรรค์ และเขื่อนเจ้าพระยาชัยนาท หากมีปริมาณน้ำ ลดต่ำกว่า 130ลบ.ม.ต่อวินาทีแสดงว่ามีการนอกกติกาจะระสานกระทรวงมหาดไทยแจ้งเตือนเพราะต้องเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมงในส่วนการปลูกข้าวนาปีต่อเนื่องกว่า 1.76 ล้านไร่ นาปรัง 1.9 แสนไร่ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ลงไปกำชับขอความร่วมมือเกษตรทั้งในเขตชบประทานและนอกเขตชลประทาน
ทั้งนี้ศูนย์ติดตามแก้ไขปัญภัยพิบัติด้านการเกษตร รายงานว่าช่วงภัยเดือนพ.ค. 2558 – ปัจจุบัน พื้นที่การเกษตรประสบภัย 19 จังหวัด ได้แก่จังหวัดเชียงราย นครสวรรค์ น่าน พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ สุโขทัยอุตรดิตถ์ อุทัยธานี นครราชสีมา เลย ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง ปราจีนบุรี และสุพรรณบุรี พื้นที่ประสบภัย 3.3ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าว 1.2ล้านไร่ พืชไร่ 2.038 ล้านไร่ พืชสวนและอื่นๆ0.027 ล้านไร่ สำรวจพบความเสียหายแล้ว เกษตรกร 92,696 ราย พื้นที่การเกษตรเสียหาย1,140,747 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าว 310,094 ไร่ พืชไร่ 827,181 ไร่พืชสวนและอื่นๆ 3,472 ไร่ คิดเป็นวงเงินช่วยเหลือ 1,300 ล้านบาท
ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ พ.ค.- 9 พ.ย. 2558 พบว่า มีพื้นที่เสียหาย1,124,292 ล้านไร่ ปริมาณผลผลิต 4,923,486 ตันคิดเป็นมูลค่าความเสียหายประมาณ 8,128 ล้านบาท
สำหรับแผนการระบายน้ำ กรมชลฯมีแผนระบายน้ำชัดเจน วันละ15.54 ล้านลบ.ม.จากเขื่อนภูมิพล 4.4 ล้านลบ.ม. เขื่อนสิริกิติ์ 8.5 ล้านลบ.ม.เขื่อนแควน้อย 1.1 ล้านลบ.ม.เขื่อนป่าสักฯ1.6 ล้านลบ.ม.ทั้งนี้จะเป็นผลให้ไม่เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้รวมทั้งคุมอัตราการไหลของน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ในระดับ 130-160ลบ.ม.ต่อวินาที จนถึง อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ระดับ 70-80ลบ.ม.ต่อวินาที จะไม่เกิดปัญหาน้ำเค็มเข้าระบบประปาแน่นอน รวมทั้งสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำแม่กลอง ในพื้นที่ 4 จ. เช่นกาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐมสมุทรสาคร