posttoday

เจ้าท่าฯลุ้น3เดือนผุดท่าเรือปากบารา

01 กรกฎาคม 2559

กรมเจ้าท่าลงพื้นที่ครั้งสุดท้าย 3 เดือน รู้ผลสร้างหรือยกเลิกท่าเรือปาก บารา สนข.กางแผนลงทุนภาคใต้ 1 ล้านล้าน

กรมเจ้าท่าลงพื้นที่ครั้งสุดท้าย 3 เดือน รู้ผลสร้างหรือยกเลิกท่าเรือปาก บารา สนข.กางแผนลงทุนภาคใต้ 1 ล้านล้าน

นายนครินทร์ สัทธรรมนุวงศ์ ผู้จัดการโครงการศึกษาผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ (เอสอีเอ) สำหรับการพัฒนาพื้นที่ชาย ฝั่งทะเลภาคใต้ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ในเดือน ก.ค.นี้ กรมเจ้าท่าจะลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับประชาชนในบริเวณพื้นที่โดยรอบโครงการก่อสร้างท่าเรือปากบารา จ.สตูล เป็นครั้งสุดท้าย และคาดว่าภายในประมาณ 3 เดือน จะได้ข้อสรุปว่าจะสามารถเดินหน้าต่อหรือจะยกเลิกโครงการ

"การศึกษาครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว โดยจะนำเสนอรายละเอียดทุก ด้านให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบ ทั้งข้อดี ข้อเสีย ผลกระทบต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ตัดสินใจเองว่าต้องการจะให้ก่อสร้างหรือไม่ หากไม่ก็จะยกเลิกโครงการทันที แต่หากให้เดินหน้าต่อก็จะดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อก่อสร้างต่อไป" นายนครินทร์ กล่าว

นอกจากนี้ สนข.ได้จัดทำแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ โดยรวบรวมโครงการไว้ทั้งหมด 55 โครงการ วงเงินรวมไม่ต่ำกว่า 1 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นการพัฒนาระยะแรก 10 โครงการ และระยะที่ 2 อีก 10 โครงการ เช่น การก่อสร้างท่าเทียบเรือ ประมาณ 4,000 ล้านบาท การก่อสร้างรถไฟทางคู่ประมาณ 1 แสนล้านบาท ปิโตรเคมี ประมาณ 6 แสนล้านบาท การก่อสร้างทางพิเศษประมาณ 2 หมื่นล้านบาท เป็นต้น

"แต่ละโครงการที่ สนข.จัดทำแผนขึ้นมา บางส่วนก็อาจจะไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณแผ่นดินในการก่อสร้าง ดังนั้นวงเงินรวมจึงยังไม่แน่นอน และต้องขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่เป็นเจ้าของโครงการจะดำเนินการอย่างไร เช่น โครงการทางพิเศษหรือมอเตอร์เวย์ ทางกรมทางหลวง (ทล.) หรือการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) อาจจะใช้เงินจากกองทุนค่าผ่านทางมาก่อสร้างก็ได้ เป็นต้น" นายนครินทร์ กล่าว

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการ สนข. กล่าวว่า ท่าเรือปากบารามีความสำคัญมากในการขนส่งสินค้าที่จะช่วยพัฒนาประเทศและภาคใต้ แต่ทางกรมเจ้าท่าต้องให้ข้อมูลแก่ประชาชนในพื้นที่อย่างรอบด้าน ไม่ใช่ให้แต่เรื่องดีๆ

ด้าน นายพรศักดิ์ แก้วถาวร กรรมการหอการค้าจังหวัดระนอง กล่าวว่า ปัจจุบันการส่งออกสินค้าจาก จ.ระนอง ไปยัง เมียนมาอยู่ที่ 1.7 หมื่นล้านบาท/ปี แต่หากส่งออกสินค้าไปยังอินเดีย ปากีสถานและกลุ่มประเทศตะวันออกได้มูลค่าจะเพิ่มขึ้น  5 เท่าตัว หรือ 1 แสนล้านบาท/ปี

ทั้งนี้ ไอเอ็มเอฟคาดการณ์ว่าการ โหวตเบร็กซิตจะมีผลกระทบในระยะสั้นต่อจีดีพีของอังกฤษอยู่ในระดับประมาณ ลบ 1% ถึงลบ 6% ภายในปี 2561 กรณีที่เลวร้ายที่สุด นั่นคือการเจรจาการค้ากับ อียูไม่เป็นผล จีดีพีมีโอกาสลดลงไปถึง ลบ 5.5% ภายในปี 2561

ภาพประกอบข่าว