posttoday

คปภ.จ่อคุมขายประกันผ่านแบงก์

18 พฤศจิกายน 2558

คปภ.เตรียมหารือแบงก์ชาติ สร้างกฎคุมขายประกันผ่านธนาคาร กำชับแจ้งลูกค้าก่อน ยันไม่คิดซ้ำเติมธุรกิจ

คปภ.เตรียมหารือแบงก์ชาติ สร้างกฎคุมขายประกันผ่านธนาคาร กำชับแจ้งลูกค้าก่อน ยันไม่คิดซ้ำเติมธุรกิจ

นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า จะทำงานใกล้ชิดกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย โดยเฉพาะการขายประกันผ่านแบงก์ หรือ แบงก์แอสชัวรันส์ ที่มีรายงานว่ายังมีบางพื้นที่ไม่ทำตามประกาศของ คปภ.และลูกค้าร้องเรียนอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ มาตรฐานที่ คปภ.กำหนด เช่น จะต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบว่าเป็นการขายประกัน แต่ทุกวันนี้ยังมีลูกค้าที่ไม่รู้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ประกัน เพราะธนาคารว่าเป็นผลิตภัณฑ์ประกัน เพราะธนาคารพาณิชย์มุ่งสร้างยอดขาย หรือผลกำไรมากจนเกินไป ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน โดยที่ผ่านมามีการร้องเรียนจากประชาชนเกี่ยวกับการขายประกันผ่านธนาคารเป็นจำนวนมาก

"ผมไม่ได้บอกนะว่าแบงก์ไหน โดยจะขอความร่วมมือกับ ธปท.ในการตักเตือน เริ่มจากเบาไปหาหนัก เราไม่ซ้ำเติมธุรกิจ ไม่มีการกลั่นแกล้งแบงก์ใดแบงก์หนึ่ง เข้าใจว่าธุรกิจอยากสร้างผลกำไร อยากสร้างยอดขาย แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎกติกาและไม่ทำให้ประชาชนเดือดร้อน" นายสุทธิพล กล่าว

สำหรับการบริหารธุรกิจประกันภัยได้วางแนวทางการทำงานออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1.การใช้กฎกติกาจะยึดแนวทางความยืดหยุ่น กำกับเท่าที่จำเป็น แต่ยึดเกณฑ์การดูแลประชาชนอย่างเคร่งครัด เช่น กฎหมายประกันภัยทางทะเลที่ใช้ของประเทศอังกฤษ แต่ปัจจุบันไทยเข้มแข็งพอแล้วจึงต้องออกกฎหมายดังกล่าวมาใช้เองและพัฒนากฎหมายใหม่ๆ ให้ทันกับสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น กฎหมายการควบคุมดูแลการขายประกันออนไลน์ การรับจ่ายเงินผ่านออนไลน์ออนไลน์ การรับจ่ายเงินผ่านออนไลน์

นอกจากนี้ 2.สร้างเสถียรภาพความมั่นคงให้กับบริษัทประกัน ที่ปัจจุบันมีแนวทางเดียว คือ เพิ่มทุน ขณะที่มีแนวทางอื่นที่สามารถทำได้ เช่น หากต้องเป็นบริษัทขนาดเล็กต่อไป ก็ต้องทำให้เกิดความมั่นคงและเพิ่มทุนอย่างค่อยเป็นค่อยไป แนวทางที่ 3.การให้ความรู้แก่ประชาชน ที่จะต้องมีการ แยกกลุ่มและหาช่องทางการสื่อสารที่ เหมาะสม มีการตั้งศูนย์ไกล่เลี่ยข้อพิพาทด้านประกันภัย เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่มีปัญหา ขณะที่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัทประกันนั้น ต้องตอบโจทย์ลูกค้าในทุกกลุ่มทั้งกลุ่มผู้มีรายได้น้อย เกษตรกร คนพิการ ผู้สูงอายุ และกลุ่มที่ประกอบอาชีพเสี่ยง

และ 4.การเพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมในเวทีสากล โดยเฉพาะในกลุ่มซีแอลเอ็มวี 4 ประเทศ ที่จะต้องหาทางปรับกฎกติกาให้ใกล้เคียงกัน หรือสร้างกติกากลางขึ้นมาใช้ร่วมกันเพื่อสร้างตลาดเดียวกันขึ้น