กฎหมายใหม่ จำคุกไม่เกิน 5 ปี รอลงอาญาได้
ทนายความอิสระ เกิดผล แก้วเกิด นำเสนอเนื้อหาประมวลกฎหมายอาญาใหม่ มาตรา 56 วรรคแรก จำคุก 5 ปี มีลุ้นรอลงอาญา
ทนายความอิสระ เกิดผล แก้วเกิด นำเสนอเนื้อหาประมวลกฎหมายอาญาใหม่ มาตรา 56 วรรคแรก จำคุก 5 ปี มีลุ้นรอลงอาญา
เกิดผล แก้วเกิด ทนายความอิสระ นำเสนอเนื้อความกฎหมายใหม่ ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาอยู่ระหว่างรอประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา โดยระบุว่า "กฎหมายใหม่เเก้เเล้ว จำคุก 5 ปี มีลุ้นรอลงอาญา"
ทนายเกิดผลกล่าวว่า ปัจจุบันประมวลกฎหมายอาญา กำหนดหลักเกณฑ์ที่ศาลจะรอลงอาญาไว้ดังนี้
“ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 วรรคแรก ผู้ใดกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุก # และในคดีนั้นศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกินสามปี ถ้าไม่ปรากฏว่าผู้นั้นได้รับโทษจำคุกมาก่อน หรือปรากฏว่าได้รับโทษจำคุกมาก่อน แต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ เมื่อศาลได้คำนึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ และสิ่งแวดล้อมของผู้นั้น หรือ สภาพความผิด หรือเหตุอื่นอันควรปรานีแล้ว เห็นเป็นการสมควร ศาลจะพิพากษาว่าผู้นั้น มีความผิดแต่รอการกำหนดโทษไว้หรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้แล้วปล่อยตัวไป เพื่อให้โอกาสผู้นั้นกลับตัวภายในระยะเวลาที่ศาลจะได้กำหนด แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ศาลพิพากษา โดยจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้นั้นด้วยหรือไม่ก็ได้"
ตอนนี้ มีการแก้ไขกฎหมายใหม่ ซึ่งผ่านสภาแล้ว รอประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา แก้ไข จาก ถ้าศาลพิพากษาไม่เกิน #3ปี เป็น #ไม่เกิน5ปี ดังนี้
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 56 วรรคแรก
ผู้ใดกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุกหรือปรับ และในคดีนั้น #ศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ไม่ว่าจะลงโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตาม หรือลงโทษปรับ ถ้าปรากฏว่าผู้นั้น
(๑) ไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อน หรือ
(๒) เคยรับโทษจำคุกมาก่อนแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือเป็นโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือ
(๓) เคยรับโทษจำคุกมาก่อนแต่พ้นโทษจำคุกมาแล้วเกินกว่าห้าปี แล้วมากระทำความผิดอีก โดยความผิดในครั้งหลังเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
และเมื่อศาลได้คำนึงคำนึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ และสิ่งแวดล้อมของผู้นั้น หรือ สภาพความผิด หรือการรู้สึกความผิด และพยายามบรรเทาผลบร้ายที่เกิดขึ้น หรือเหตุอื่นอันควรปรานีแล้ว ศาลจะพิพากษาว่าผู้นั้น มีความผิดแต่รอการกำหนดโทษ หรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้ ไม่ว่าจะเป็นโทษจำคุก หรือปรับอย่างหนึ่งอย่างใดหรือทั้งสองอย่าง เพื่อให้โอกาสกลับตัวภายในระยะเวลาที่ศาลจะได้กำหนด แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ศาลพิพากษา โดยจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้นั้นด้วยหรือไม่ก็ได้
หลักเกณฑ์กฎหมายเดิม กับกฎหมายใหม่ แตกต่างกันมาก คือ
1.กฎหมายเดิม ศาลพิพากษาจำคุกไม่เกิน 3 ปี ถึงจะรอลงอาญาได้
***กฎหมายใหม่ ศาลจำคุกไม่เกิน 5 ปี รอลงอาญาได้
2.กฎหมายเก่า : ต้องไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อน ยกเว้นความผิดประมาท หรือลหุโทษ ถึงจะรอลงอาญาได้
**กฎหมายใหม่ :
(๑) ไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อน หรือ
(๒) เคยรับโทษจำคุกมาก่อนแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือเป็นโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือ
(๓) เคยรับโทษจำคุกมาก่อนแต่พ้นโทษจำคุกมาแล้วเกินกว่าห้าปี แล้วมากระทำความผิดอีก โดยความผิดในครั้งหลังเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ #ก็รอลงอาญาได้ (เคยจำคุกมาก่อน ก็รอได้)