posttoday

เพราะอะไร ทำไมเราต้องล้างผักด้วยน้ำยา

30 มกราคม 2566

ทุกวันนี้เมื่อเราเห็นผักผลไม้สดๆ ในตลาด หรือแม้แต่ในจานอาหารที่เสิร์ฟให้เรา เราไม่มีวันรู้เลยว่า พืช ผัก ผลไม้สดๆ ที่เราเห็นนั้นมีสารเคมีใดปนเปื้อนอยู่บ้าง เพราะอย่างน้อยก่อนที่เราจะบริโภคเข้าไปในร่างกาย เราควรรู้กันก่อนว่า มีสารเคมีชนิดใดที่อาจปนเปื้อนอยู่และเป็นอันตรายต่อร่างกาย แม้อาจไม่ส่งผลในทันทีทันใด แต่หากสะสมไปนานๆ ใครจะรู้ว่ามันจะส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพของเราในระยะยาว

เพราะอะไร ทำไมเราต้องล้างผักด้วยน้ำยา

รู้จัก 4 สารพิษอันตรายปนเปื้อนในพืช ผัก ผลไม้

จากข้อมูลรายงานการสำรวจขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติพบว่าประเทศไทย มีการใช้ยาฆ่าแมลงมากเป็นอันดับ 5 ของโลก ใช้ยาฆ่าหญ้าเป็นอันดับ 4 ของโลก ที่สำคัญจากการสำรวจทุกปี ยังพบว่าพบสารเคมีตกค้าง ในผัก และสารพิษอันตรายที่ทั่วโลกห้ามใช้ ซึ่งนอกจาก เกษตรกรซึ่งถือเป็นต้นน้ำของการผลิตที่เสี่ยงแล้ว ผู้บริโภคก็เสี่ยงต่ออันตรายด้านสุขภาพด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะ 4 สารพิษอันตรายที่ปนเปื้อนในพืช ผัก ผลไม้ ที่วางขายในท้องตลาด
          1) คาร์โบฟูราน (Carbofuran)
          สารชนิดนี้ใช้กำจัดแมลงในวงกว้าง นิยมใช้ในนาข้าวและพืชไร่อย่าง ถั่วเหลือง ข้าวโพด แตงโม แตงกวา และพืชสวนอย่างกาแฟ ส้ม มะพร้าว ฯลฯ เมื่อได้รับสารพิษชนิดนี้ หากมีปริมาณมากพอ จะทำให้อาเจียน เสียการทรงตัว มองไม่ชัด เป็นสารก่อมะเร็งรุนแรง เซลล์ตับแบ่งตัวผิดปกติ กระตุ้นให้เกิดเนื้องอก กลายพันธุ์ อสุจิตาย และทำลายเอนไซม์ที่เยื่อหุ้มสมอง
          2) เมโทมิล (Methomyl)
          ใช้กำจัดแมลงหลายประเภท เช่น แมลงปากกัด ปากดูด เพลี้ย และหนอนชนิดต่างๆ นิยมใช้ในองุ่น ลำไย ส้มเขียวหวาน สตรอว์เบอร์รี่ กะหล่ำปลี หัวหอม และมะเขือเทศ สารชนิดนี้จะทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ชัก พิษต่อหัวใจ ฮอร์โมนเพศชายลดลง ในระยะยาวจะทำลายดีเอ็นเอ ทำให้โครโมโซมผิดปกติ และเป็นพิษต่อม้าม
          3) ไดโครโตฟอส (Dicrotophos)
          ใช้กำจัดแมลงประเภทปากดูด เจาะ หรือกัด ในพืชผักผลไม้ ข้าว กาแฟ ถั่วฝักยาว ผักกาดหัว อ้อย คะน้า ส้ม ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ฯลฯ เป็นพิษต่อยีน เป็นสารก่อมะเร็ง พิษต่อไต พิษเรื้อรังต่อระบบประสาท ทำลายระบบประสาทส่วนกลาง 
          4) อีพีเอ็น (EPN)
          ใช้เป็นหัวยาและผสมกับสารเคมีเกษตรชนิดอื่นๆ ในการเพาะปลูก เพื่อกำจัดแมลงหลายชนิด พบในข้าว ข้าวโพด พืชตระกูลแตง ไม้ผล ไม้ดอกไม้ประดับ หากได้รับในปริมาณมากพอจะมีอาการท้องเสีย แน่นหน้าอก มองไม่ชัด สูญเสียการทรงตัว ไอ ปอดปวม หยุดการหายใจ ทำลายระบบประสาท ไขสันหลังผิดปกติ มีผลต่อสมอง และพิษเรื้อรังยังทำให้ทารกในครรภ์มีปัญหาการพัฒนาการของสมอง ปัจจุบันถูกยกเลิกไปแล้ว  ห้ามใช้ในไทยแต่ยังตรวจพบในพืชผักผลไม้บางชนิด
 

นอกจากนี้ก็ยังมีสารเคมีอีก 2 ชนิดคือ:
สารฟอกขาว 
สารเคมีที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเปลี่ยนสีของอาหารไม่ให้เป็นสีน้ำตาลหรือดำ การนำมาใช้กับผักผลไม้จึงสามารถพบได้ในผักผลไม้สีขาวหรือสีเหลือง เช่น ถั่วงอก ขิง หน่อไม้ เป็นต้น โดยสามารถสังเกตผักเหล่านี้ได้เมื่อมีสีขาวซีดผิดปกติ  สารฟอกขาว เมื่อเข้าสะสม ในร่างกาย อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัวได้

ฟอร์มาลีน
สารเคมียอดนิยมที่มักถูกนำมาใช้ในการรักษาสภาพความสดของอาหารโดยเฉพาะ สัตว์ทะเลชนิดต่าง ๆ รวมไปถึงในผักผลไม้บางชนิดเพื่อให้ผักมีลักษณะที่สดและกรอบขึ้น โดยเฉพาะผักชนิดใบที่มักใช้ตกแต่งภายในจานอาหาร หรือผักที่มักทานเป็นสลัด เมื่อร่างกายได้รับฟอร์มาลีนจะทำให้เกิดอาการผิดปกติกับร่างกาย เช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ ปวดศีรษะ คอแห้ง ปากแห้ง เป็นต้น หากมีการสะสมของฟอร์มาลีนมากขึ้นเรื่อย ๆ ฟอร์มาลีนที่มีฤทธิ์เป็นกรดจะกัดกระเพาะอาหาร และทำให้เป็นแผลในกระเพาะได้

สารพิษเหล่านี้สามารถตกค้างได้ในผักผลไม้ มักมีผลต่อระบบประสาทของเรา โดยจะมีผลต่อร่างกายก็ต่อเมื่อสารพิษเหล่านั้นมีการสะสมในปริมาณมากแล้ว ไม่ใช่การออกฤทธิ์ในทันที จึงถือได้ว่าเป็น "ภัยเงียบ" ที่ผู้รับประทานนั้น ไม่สามารถรับรู้ที่มาได้ว่า อาการที่เกิดขึ้นนั้นมาจากสาเหตุใดกันแน่

ดังนั้น วิธีป้องกันการบริโภคสารตกค้างเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายได้ดีที่สุดก็คือ การทำความสะอาด ผักและผลไม้ก่อนรับประทานหรือนำไปปรุงอาหารทุกครั้งด้วยวิธีที่ดีที่สุด

และหนึ่งทางเลือกในปัจจุบันที่จะทำให้คุณมั่นใจได้มากยิ่งขึ้นก็คือ การล้างด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผักและผลไม้ที่จะช่วยให้คุณปลอดภัยจากสารพิษตกค้างมากขึ้น
ด้วยคุณสมบัติที่จะช่วยชำระล้างทั้งฝุ่นสกปรกและสิ่งปนเปื้อนให้หลุดออกอย่างง่ายดาย 
ทีพีไอ กรีน อัลคาไลน์ วอช คือหนึ่งในทางเลือกที่ทรงประสิทธิภาพของคุณ เพราะนอกจากจะใช้ง่ายแล้วยังไม่ส่งผลต่อกลิ่นและสีของผักผลไม้หลังการล้างด้วย

สนใจสั่งซื้อ คลิก > https://bit.ly/3wBFxr8

📞 โทร 081-9359681, 085-6608565
Facebook inbox : m.me/TPIPolene
Line : @tpipl (https://lin.ee/gqQ3FKS)
Shopee : shopee.co.th/tpipoleneofficialstore
Lazada : lazada.co.th/shop/tpi-polene-official-store

Thailand Web Stat