posttoday

การลงทุนการศึกษาในเมียนมา

25 พฤศจิกายน 2562

โดย กริช อึ๊งวิฑูรสถิตย์

เมื่อหลายวันก่อน ทางสถาบันที่ปรึกษาอัจฉริยะด้านการค้าและการลงทุน (AITI)ของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้ส่งผู้ประกอบการที่ต้องการจะไปลงทุนในเมียนมา มาขอคำปรึกษาจากผม 3 ราย

หนึ่งในนั้นเป็นผู้ประกอบการที่อายุยังน้อยมาก ถ้าดูจากสายตาผมน่าจะประมาณสามสิบต้นๆ ที่น่าสนใจเพราะผมเห็นว่าเด็กหนุ่มที่ต้องการจะออกไปเผชิญกับความท้าทายในต่างแดน 

ซึ่งผมก็หันกลับมามองตัวเองเหมือนช่วงที่ผมเริ่มต้นการค้าในประเทศอินโดจีน (CLMV)ในยุคนั้นเลย แต่น้องเขาโชคดีกว่าผมมากเพราะในยุคที่ผมเดินทางไปเผชิญโชคนั้น ไม่มีใครให้คำแนะนำอย่างน้องเขาได้รับเลย

เราต้องเดินหน้าไปและแก้ปัญหาที่ประสบพบเจอด้วยตนเองทั้งหมด แน่นอนว่าการลองผิดลองถูกของผมนั้น ยังถือว่าผมอึดมาก และมีผู้ใหญ่ที่ให้การช่วยเหลือสนับสนุนด้านสินค้าให้ผมได้เกิดและต้องกราบขอบพระ คุณคุณเฉลี่ยว อยู่วิทยา จากบริษัท กระทิงแดง จำกัด และคุณสุวัฒน์ อุดมบัณฑิตกุล บริษัท รอแยลฟู้ดส์ จำกัด(ปลากระป๋องสามแม่ครัว)ที่ทำให้ผมมีวันนี้ครับ

มาดูที่น้องท่านนี้ เขามาปรึกษาผมว่าจะขายแฟรนไชส์การศึกษาที่เมียนมา มีความเป็นไปได้หรือไม่? เหตุผลเพราะน้องเขาท โรงเรียนกวดวิชาที่มีการสอนหลากหลายด้านมาก มีทั้งด้านภาษา ด้านดนตรี ด้านวิชาการและสันทนาการ

ซึ่งเขาคิดว่ามาจะเป็นที่ต้องการของประเทศที่กำลังเกิดการพัฒนาใหม่ ผมก็ถามไปว่าแล้วเคยไปดูตลาดที่นั่นหรือยัง เขาบอกว่าเคยไปดูที่ย่างกุ้งมาแล้ว

ส่วนมากที่ไปดูมา จะไปดูที่ชั้นของเล่นเด็กในห้างสรรพสินค้า จะเห็นมีศูนย์เด็กเล่นที่มีแค่ของเล่นเล็กๆน้อยๆเท่านั้น มันไม่ช่วยพัฒนาคุณภาพสมองเด็กเลย ของเราน่าจะดีกว่ามาก

ผมจึงขออนุญาตน้องเขาว่าน่าจะคิดเพิ่มเติมนะ อยากให้เขาทำการบ้านให้มากกว่านี้ แล้วค่อยมาปรึกษากันใหม่ สิ่งที่ผมถามเขา

เขายังไม่ทราบเลยครับว่าการศึกษาของเมียนมาเป็นอย่างไร แล้วจะไปบุกตลาดแล้ว ผมคิดว่าเสี่ยงมากครับการศึกษาของเมียนมาต่างจากที่อื่นมาก ผมเคยเขียนลงในคอลัมน์ผมมามากแล้ว อยากจะขอแชร์เพิ่มเติมนะครับ ที่เมียนมาเด็กที่นั่น

เขาเรียนในระบบ 6-2-2 ไม่เหมือนบ้านเราที่เรียนระบบ 6-3-3 เราเรียนมากกว่าเขาถึงสองปี และการสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่นั้นก็ไม่เหมือนเรา ของเรามีการสอยเอนทรานส์ โดยกระทรวงศึกษาธิการ ที่นั่นเขาใช้วิธีวัดผลสอบ

โดยเอาคะแนนการสอบปลายปีของปี 10 มายื่นเรื่องขอเรียนต่อในมหาวิทยาลัยได้เลย 

แต่การสอบปลายปี 10 นั้นข้อสอบมาจากส่วนกลาง โดยจะส่งตรงไปที่เขตจังหวัดเลย จึงจัดส่งให้โรงเรียนเป็นผู้จัดสอบเลย ซึ่งข้อดีคือไม่ซ้ำซ้อน และไม่ต้องสิ้นเปลืองทรัพยากรมาก

แต่ต้องซื่อสัตย์นะครับ ถ้ามาที่บ้านเราคงยาก ข้อสอบคงรั่วเละแน่ แต่ที่นั่นเขาทำได้ ส่วนปี 8 การสอบก็สำคัญเหมือนกัน การเรียนการสอนของที่เมียนมาคุณภาพจึงเข้มข้นมากๆ ตำราเรียนถ้าเป็นวิชาเชิงคณิตศาสตร์ และวิชาวิทยาศาสตร์

ที่นี่เขาใช้ตำราภาษาอังกฤษกัน ผมเคยเห็นที่โรงเรียนในเมืองพะอาน เห็นแล้วยังตกใจเลย มิน่าเด็กเขาจึงมีคุณภาพดีกว่าเรา จบแค่ปี 8 ก็สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษกับเราได้

นี่คือสาเหตุที่ทำให้คุณภาพของเด็กที่นี่ดีนั่นเอง ส่วนในเมืองย่างกุ้งนั้นโรงเรียนอนุบาล หรือโรงเรียนอินเตอร์มีอยู่หลายแห่งแต่ละแห่งใหญ่ๆทั้งนั้น การเรียนการสอนของเขาก็ดีมาก

จบจากที่นี่สามารถสอบเข้าเรียนที่สิงคโปร์ ออสเตรเลีย อังกฤษ สหรัฐอเมริกาได้เลย แทบจะไม่ต้องปรับตัวอะไรกันมาก ความคาหวังของผู้ปกครองที่นั่น ถ้ามีฐานะดีเขามักจะคาดหวังที่สี่ประเทศดังกล่าวเป็นอันดับต้นๆ

ส่วนผู้ปกครองที่มีฐานะรองลงมาหรือคนในรัฐฉานที่เป็นไทยใหญ่ ก็ต้องมาที่ประเทศไทยเรานี่แหละครับ เหตุผลเพราะถูกเงินดีแะครัฐฉานที่มักจะเลือกมาที่ไทย เหตุเพราะพูดกันรู้เรื่อง เข้าใจภาษาไทยได้ง่าย ไม่ต้องปรับตัวมาก 

ส่วนมหาวิทยาลัยรัฐของไทยเรายังติดอยู่กับเวลาเรียนของเขาที่มีแค่ 10 ปี ไม่ครบ 12 ปี ทำให้กระทรวงศึกษาธิการไทยเรามีปัญหาผมเคยต้องไปเซ็นต์รับรองเด็กรัฐฉานเมียนมา มาแล้วจึงทราบครับ

ดังนั้นโดยส่วนมากจึงมาเรียนที่มหาวิทยาลัยเอกชนเสียเป็นส่วนใหญ่ครับ ผมได้ถามต่อว่ากลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงของน้องเขาคือเด็กกลุ่มไหน เพราะเท่าที่ดู 

ผมคิดว่าน่าจะเป็นกลุ่มที่มีฐานะดีเท่านั้น เด็กที่มีฐานะไม่ดีย่อมไม่มีเงินจ่ายค่าเล่าเรียนแน่ๆ ดังนั้นผมจึงบอกน้องเขาไปว่าให้เขาไปอยู่ทำเซอร์เวย์เล็กๆดู ด้วยการเดินไปตามโรงเรียนเอกชนต่างๆ และโรงเรียนอินเตอร์อาจจะไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายของน้องเขา 

เพราะถ้าเขามีปัญญาเรียนโรงเรียนอินเตอร์ เป้าหมายเขาไปไกลมากแล้ว การศึกษาของเราเองน่าจะสู้สิงคโปร์ลำบากนิดนะ จากนั้นค่อยมาวางแผนว่ามิทชั่นของเราจะเดินไปอย่างไร น่าจะเป็นทางออกที่เสี่ยงน้อยกว่า