ม.หอการค้าเผย 10 อาชีพเด่น-ร่วงปี61
ม.หอการค้าไทยแถลง 10 อาชีพเด่น-ร่วงปี 2561 ชี้ อาชีพด้านไอทีมาแรง ตามเทรนด์เศรษฐกิจดิจิทัล ขณะที่อาชีพช่างไม้-ช่างเย็บผ้า-แม่บ้านและนักข่าวติดอันดับอาชีพดาวร่วง
ม.หอการค้าไทยแถลง 10 อาชีพเด่น-ร่วงปี 2561 ชี้ อาชีพด้านไอทีมาแรง ตามเทรนด์เศรษฐกิจดิจิทัล ขณะที่อาชีพช่างไม้-ช่างเย็บผ้า-แม่บ้านและนักข่าวติดอันดับอาชีพดาวร่วง
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจิมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจ 10 อาชีพเด่น-ร่วงปี 2561 ว่า อาชีพที่มีความโดดเด่นจะอยู่ในเทรนด์กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีไอทีและกระแสรักสุขภาพและความงาม จึงทำให้อาชีพเด่นอันดับ1 ในปีหน้าคือ แพทย์ โดยเฉพาะกลุ่มแพทย์ผิวหนังและศัลยกรรม
รองลงมาเป็นกลุ่มอาชีพที่เกี่ยวไอที ได้แก่ โปรแกรมเมอร์วิศวกรซอฟต์แวร์และนักพัฒนา นักวิเคราะห์ข้อมูล (ไอโอที การใช้บิ๊กดาด้า) อันดับ3 นักการตลาดออนไลน์ รวมทั้งรีวิวเนอร์ เน็ตไอดอล อันดับ4 นักการเงิน และนักออกแบยวิเคราะห์ระบบด้านไอที อันดับ5 กราฟฟิคดีไซน์ และนักวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร อันดับ 6 นักวิทยาศาสตร์ด้านความงาม (คิดค้นเครื่องสำอาง) และอาชีพเกี่ยวกับการท่องเที่ยว อันดับ 7 ผู้ประกอบการธุรกิจ (สตาร์ทอัพ ผู้ประกอบการอี-คอมเมิร์ซ) อันดับ 8 อาชีพในวงการบันเทิง (ดารานักแสดง/นักร้อง) และสถาปริก/มัณฑนากร อันดับ9 ครูสอนพิเศษ/ติวเตอร์ และอาชีพเกี่ยวกับโลจิสติกและการขนส่ง และอันดับ 10 นักบัญชี
ด้านอาชีพที่ไม่โดดเด่นในปี 2561 ได้แก่ อันดับ 1 อาชีพช่างตัดไม้/ช่างไม้ไร้ฝีมือ อันดับ 2 พ่อค้าคนกลาง อันดับ 3 อาชีพย้อมผ้า อันดับ4 บรรณารักษ์ และไปรษณีย์ด้านการส่งจดหมาย อันดับ 5 พนักงานขายสินค้าหน้าร้าน อันดับ6 การตัดเย็บเสื้อผ้าโหล อันดับ7 การทำรองเท้า/ช่างซ่อมรองเท้า อันดับ 8 เกษตรกรและครู-อาจารย์ อันดับ9 แม่บ้านทำความสะอาด และอันดับ10 นักหนะงสือพิมพ์/นิตยสารและผู้สื่อข่าวภาคสนาม
ทั้งนี้ สิ่งที่น่ากังวลคือ สถานการณ์กำลังแรงงานที่หายไป ปัจจุบันมีกำลังแรงงานอยู่ที่ 37.2 ล้านคน และลดลงจากปี 2552 ที่มีอยู่ 38.2 ล้านคน ซึ่งรวม 10 ปี กำลังแรงงานหายปิ1 ล้านคน หรือลดลวเฉลี่ย 1-2 แสนคน/ปี จึงจำเป็นที่ต้องมีการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว เพราะประเทศไทยยังจำเป็นต้องใช้แรงงานกลุ่มนี้อยู่
นอกจากนี้ การที่โครงสร้างประชากรเปลี่ยนไป เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้แรงงานหายากขึ้น ค่าจ้างแรงงานแพงขึ้น ทำให้เป็นจุดเปลี่ยนในการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์เข้ามาใช้ทดแทน
"ถ้าการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำไม่สูงเกินไป อยู่ในระดับที่ทุกฝ่ายรับได้ก็จะไม่เป็นตัวเร่งให้เกิดการใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์มาแทนที่เร็วนัก เพราะค่าแรงทาสูงจะเป็นตัวบีบให้เกิดการเปลี่ยนแปลง" นายธนวรรธน์ กล่าว
อย่างไรก็ดี มองว่า การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำที่เหมาะสม น่าจะอยู่ใน 3-5% หรือประมาณ 10-12 บาท/วัน ซึ่งเป็นระดับเดียวกับอัตราเงินเฟ้อ