หน้าต่างบานแรก
การลงทุนต่างประเทศ กฎหมายภาษีสำหรับนักลงทุนไทยเรามาติดตามเรื่องข้อกฎหมายและภาษีสำหรับการลงทุนในเออีซีกันต่อนะครับ วันนี้เป็นรูปแบบในข้อ 3 สัญญาที่เกี่ยวข้องก็จะเป็นเรื่องสัญญาซื้อขาย สัญญาว่าจ้างการผลิต ซึ่งก็มีประเด็นเกี่ยวกับราคา วิธีการชำระราคาสินค้า ค่าจ้าง ว่าเป็นเท่าใด วิธีการชำระราคาค่าจ้างจะเป็นอย่างไร ควรมีการเปิด L/C หรือชำระราคาตามกำหนดเวลาและเป็นเงินตราสกุลใด การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของคู่สัญญา การโอนกรรมสิทธิ์ การรับรอง และรับประกันถึงคุณภาพของสินค้า ภาระภาษีที่เกิดจากการทำสัญญา รวมถึงการใช้กฎหมายการระงับข้อพิพาทโดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการตามสัญญา
การลงทุนต่างประเทศ กฎหมายภาษีสำหรับนักลงทุนไทยเรามาติดตามเรื่องข้อกฎหมายและภาษีสำหรับการลงทุนในเออีซีกันต่อนะครับ วันนี้เป็นรูปแบบในข้อ 3 สัญญาที่เกี่ยวข้องก็จะเป็นเรื่องสัญญาซื้อขาย สัญญาว่าจ้างการผลิต ซึ่งก็มีประเด็นเกี่ยวกับราคา วิธีการชำระราคาสินค้า ค่าจ้าง ว่าเป็นเท่าใด วิธีการชำระราคาค่าจ้างจะเป็นอย่างไร ควรมีการเปิด L/C หรือชำระราคาตามกำหนดเวลาและเป็นเงินตราสกุลใด การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของคู่สัญญา การโอนกรรมสิทธิ์ การรับรอง และรับประกันถึงคุณภาพของสินค้า ภาระภาษีที่เกิดจากการทำสัญญา รวมถึงการใช้กฎหมายการระงับข้อพิพาทโดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการตามสัญญา
2.รูปแบบการตั้งผู้จัดจำหน่าย (Distributorship) กับการแต่งตั้งตัวแทนจำหน่าย (Agency)
รูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่ไม่ใช่เป็นการขายโดยตรงให้กับลูกค้าผู้บริโภคโดยตรง แต่เป็นการขายผ่านผู้แทนหรือตัวแทนจากนายหน้าและเป็นรูปแบบที่ใช้กันมากในการเป็นการเปิดตลาดใหม่โดยมีสัญญา 2 แบบ
ข้อคิด (1) รูปแบบทำสัญญาผู้จัดจำหน่าย (Distributorship Agreement) กับสัญญาตัวแทนจำหน่าย (Agency Agreement) เป็นรูปแบบที่บริษัทควรใช้ก่อนที่จะเข้ามาลงทุนขายสินค้าหรือบริการด้วยตนเองในต่างประเทศแต่ละประเทศ ทั้งนี้อาจมีการกำหนดให้ขายให้บริษัทในกลุ่ม AEC ซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่ายเป็นผู้ซื้อก็จะเป็นเรื่องการซื้อมาแล้วขายไป หรืออาจแต่งตั้งให้บริษัท AEC ตามสัญญาตัวแทนจำหน่าย โดยบริษัทไทยแต่งตั้งบริษัท AEC ให้เป็นตัวแทนหรือนายหน้าเป็นผู้ติดต่อลูกค้าของตนเองโดยจ่ายเป็นค่านายหน้า ในทางธุรกิจท่านต้องพิจารณาว่าผู้จัดจำหน่ายหรือตัวแทนจะสามารถขายสินค้าให้ได้ตามเป้าหมาย โดยต้องพิจารณาถึงชื่อเสียงความสามารถในทางการเงินและเครือข่ายของผู้จัดจำหน่ายหรือผู้แทนจำหน่าย สัญญาสองประเภทนี้อาจมีความแตกต่างกันในแง่ความรับผิดชอบ สิทธิหน้าที่และภาษีจึงต้องตรวจสอบประเด็นข้อกฎหมายให้ดี
(2) โดยทั่วไปลักษณะสัญญาเป็นผู้จัดจำหน่าย (Distributorship Agreement) จะเป็นในรูปที่บริษัท AEC เป็นผู้ซื้อสินค้ามาจากบริษัทไทย บริษัท AEC ผู้จัดจำหน่ายจะเป็นผู้นำเข้าสินค้านั้นเข้ามา แล้วจึงนำสินค้านั้นมาขายต่อไปให้กับผู้ซื้อ ซึ่งเป็นผู้บริโภคในประเทศของตน ลักษณะของสัญญานั้นจึงเป็นสัญญาซื้อขาย จึงควรมีข้อกำหนดให้ผู้จัดจำหน่ายมีหน้าที่เกี่ยวกับการโฆษณา การส่งเสริมการขาย ยอดซื้อขั้นต่ำ กำหนดเวลาการเลิกสัญญา หรือการส่งมอบสินค้านั้นในการปฏิบัติตามสัญญา
ทั้งนี้ บริษัทไทย (ในฐานะผู้ขาย) ก็อาจจะส่งสินค้าโดยตรงไปยังลูกค้าของบริษัท AEC ไว้ก็ได้ บางกรณีผู้จัดจำหน่ายจะต้องเก็บสต๊อกสินค้าเพื่อจะส่งมอบให้ลูกค้า จึงอาจมีข้อตกลงที่จะไม่เก็บสต๊อกสินค้า แต่จะส่งสินค้าต่อเมื่อมีลูกค้าสั่งให้ผู้ขายส่งมอบสินค้าให้กับผู้ซื้อโดยตรงก็ย่อมทำได้ ขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าและข้อตกลงกับบริษัทไทยเป็นกรณีๆ ไป แต่สัญญาซื้อขายนั้นเกิดขึ้นระหว่างบริษัท AEC กับบริษัทลูกค้าในประเทศดังกล่าวนั่นเอง
ส่วนลักษณะการชำระเงิน ก็เป็นการชำระเงินที่ผู้จัดจำหน่ายจะต้องชำระเงินโดยตรงให้กับบริษทไทยผู้ขาย โดยวิธีการต่างๆ ที่จะตกลงกันโดยมีข้อตกลงต่างๆ ในเรื่องของวิธีการชำระเงิน การเปิด Letter of Credit เป็นเงินตราต่างประเทศของคู่สัญญา การโอนกรรมสิทธิ์ การรับรองและรับประกัน ซึ่งคุณภาพของสินค้าและเรื่องภาระภาษีควรเป็นภาระของลูกค้าผู้ซื้อเช่นเดียวกับรูปแบบแรก
(3) สำหรับสัญญาการตั้งผู้จัดจำหน่าย (Distributorship Agreement) นี้ อาจจะเป็นรูปสัญญาที่เรียกว่าเป็นผู้จัดจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียว คือ Sole Distributor (หรือ Exclusive) คือบริษัทไทยจะไม่ขายสินค้าให้แก่ผู้อื่นในประเทศ นอกจากบริษัท AEC ลูกค้าทุกรายจะต้องซื้อผ่านบริษัท AEC เท่านั้น หรืออาจเป็นการแต่งตั้งผู้จัดจำหน่ายหลายราย (NonExclusive Distributor) ที่อาจมีหลายราย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงและความสามารถของผู้จัดจำหน่ายในการขยายตลาดเป็นสำคัญ
(4) โดยหลักภาษีอากรทั่วไป หากเป็นสัญญาผู้จัดจำหน่ายโดยตรง บริษัทไทยไม่ควรต้องเสียภาษีใดในต่างประเทศ เพราะเป็นการขายสินค้าให้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ แต่ควรตรวจสอบกฎหมายภาษีในแต่ละประเทศด้วยเช่นเดียวกับกรณีที่ 1
(5) ส่วนสัญญาที่เรียกว่า สัญญาตัวแทนจำหน่าย “Agency Agreement” ประเด็นทางกฎหมายก็จะแตกต่างกันไป เพราะจะเป็นลักษณะสัญญาตัวแทน ผู้ทำสัญญาซื้อขายโดยตรงกับบริษัทผู้ซื้อก็คือ บริษัทต่างประเทศกับบริษัทผู้ซื้อ โดยบริษัท ก ทำหน้าที่เป็นตัวแทนโดยการเจรจาเข้าทำสัญญาแทนบริษัท A กับบริษัทผู้ซื้อ หรือชี้ช่องให้บริษัท A ขายสินค้าให้บริษัทผู้ซื้อ กรณีเช่นว่านี้ บริษัท ก อาจจะได้รับค่านายหน้าหรือตัวแทนจากบริษัท A ตามที่จะได้มีการตกลงไว้ในสัญญาตัวแทน แต่การเลิกสัญญาตัวแทนอาจต้องดูกฎหมายให้ดีว่าตัวแทนจะฟ้องร้องตัวการได้หรือไม่เมื่อมีการเลิกสัญญาที่ไม่เหมาะสม
(6) หลักกฎหมายโดยทั่วไป การเป็นตัวแทนมีความเสี่ยงทางกฎหมายมากกว่าการเป็นผู้แทนหรือผู้จัดจำหน่าย โดยเฉพาะเรื่องภาษีและความรับผิดชอบ หากผู้ประกอบการหลีกเลี่ยงได้ก็ต้องหลีกเลี่ยงโดยการไม่เข้าทำสัญญาตั้งตัวแทน แต่ควรเป็นลักษณะเป็นผู้จัดจำหน่ายมากกว่า ดังนั้น บริษัทไทยจะไปทำธุรกิจในรูปแบบนี้ในต่างประเทศ รูปแบบนี้ก็จำเป็นต้องศึกษากฎหมายภายในของประเทศของ AEC นั้นอย่างละเอียดด้วยเช่นกัน เพราะอาจมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญได้