แยกยื่นหรือรวมยื่นดี
เมื่อปีที่แล้ว ถ้าจำกันได้ คู่สมรสจดทะเบียนได้มีเฮกัน เพราะศาลรัฐธรรมนูญได้ตีความว่า การกำหนดให้คู่สมรสต้องรวมเงินได้ยื่นภาษีร่วมกันนั้นขัดต่อความเสมอภาค และทางกรมสรรพากรได้ออกหนังสือซักซ้อมมาว่า สำหรับเงินได้พึงประเมินในปี 2555
เมื่อปีที่แล้ว ถ้าจำกันได้ คู่สมรสจดทะเบียนได้มีเฮกัน เพราะศาลรัฐธรรมนูญได้ตีความว่า การกำหนดให้คู่สมรสต้องรวมเงินได้ยื่นภาษีร่วมกันนั้นขัดต่อความเสมอภาค และทางกรมสรรพากรได้ออกหนังสือซักซ้อมมาว่า สำหรับเงินได้พึงประเมินในปี 2555
ให้คู่สมรสแยกยื่นภาษีกันได้นั้น มาถึงตอนนี้ ก็เข้าสู่ช่วงฤดูกาลยื่นภาษีกันแล้ว มาลองดูกันค่ะว่า แนวปฏิบัติในการยื่นภาษีของคู่สมรสที่ต้องยื่นภายในเดือน มี.ค.ของปีนี้มีกี่วิธีกันบ้าง
ล่าสุดทางกรมสรรพากรได้กำหนดให้คู่สมรสจดทะเบียนสามารถเลือกยื่นภาษีสำหรับเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2555 ได้ถึง 5 วิธีด้วยกันนะคะ ประกอบด้วย
วิธีที่ 1 แยกยื่น วิธีนี้คู่สมรสต่างคนต่างยื่นเลยค่ะ โดยแต่ละคนก็ยื่นรายได้ของตนเองตั้งแต่เงินได้ตามมาตรา 40(1) ถึง 40(8)
ไม่ต้องเอามารวมกัน วิธีนี้ต่างคนก็หักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อนของตนเอง และเสียภาษีตามอัตราที่เงินได้สุทธิของตนเองตกอยู่ค่ะ
วิธีที่ 2 ยื่นรวมกันโดยสามีเป็นผู้ยื่น กรณีนี้ภรรยาไม่ต้องทำอะไร ให้สามีจัดการยื่นรายได้ทุกประเภทของตนเองและภรรยารวมกันก็เงินได้ตั้งแต่ 40(1) เงินเดือน ค่าจ้าง ไปจนถึงเงินได้อื่นๆ ตามมาตรา 40(2)40(8) ค่ะ
วิธีที่ 3 ยื่นรวมกันโดยภรรยาเป็นผู้ยื่น กรณีนี้เหมือนกับวิธีที่ 2 ที่เอาเงินได้ทุกประเภทของคู่สมรสมารวมกันยื่นภาษี แตกต่างกันตรงที่ภรรยาเป็นคนจัดการค่ะ
วิธีที่ 4 ภรรยาแยกยื่นเฉพาะ เงินได้ตามมาตรา 40(1) เงินได้อื่น ยื่นรวมกับสามี วิธีนี้เป็นเหมือนวิธีเดิมค่ะ ที่แยกยื่นเฉพาะเงินได้ตามมาตรา 40(1) หรือพูดง่ายๆ ว่า แยกยื่นเฉพาะเงินเดือนเท่านั้น เงินได้ประเภทอื่น เช่น ค่าคอมมิชชัน ดอกเบี้ย เงินปันผล ค่าเช่า ฯลฯ ให้เอามารวมยื่นกับรายได้ของสามี
วิธีที่ 5 สามีแยกยื่นเฉพาะเงินได้ตามมาตรา 40(1) เงินได้อื่นยื่นรวมกับภรรยา วิธีนี้นี้คล้ายข้อ 4 ค่ะ แตกต่างกันตรงที่
คุณสามีเป็นคนแยกยื่นเงินได้ตามมาตรา 40 (1) คือ เงินเดือนของตนเองออกมา ส่วนที่เหลือรวมยื่นกับภรรยาค่ะ
แหมมีหลายวิธีแบบนี้ เอาละสิ คู่สมรสอาจจะหนักใจค่ะว่า แล้วตัวเราควรยื่นแบบไหนดี ถ้าเป็นคู่สมรสที่มีรายได้สูงทั้งคู่ แนะนำว่า แยกยื่นตามวิธีที่ 1 น่าจะดีค่ะ เพราะได้สิทธิยกเว้นเงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรกทั้งคู่ และรายได้ที่เยอะของเราไม่ไปทำให้คู่สมรสไปตกฐานภาษีที่สูงขึ้น เช่น ถ้าต่างฝ่ายต่างเสียภาษีอยู่ที่อัตรา 20% พอเอามารวมกันกลับกลายเป็นต้องเสียภาษีที่อัตรา 30% เป็นต้น หรือถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเงินเดือนเยอะมากๆ เสียภาษีในอัตราสูงมากๆ อยู่แล้ว เอามารวมกันดีไม่ดีกลายเป็นอัตรา 37% อันนี้ แย่เลยค่ะ
ส่วนการรวมเงินได้ทุกประเภทตามวิธีที่ 2 หรือวิธีที่ 3 เหมาะกับกรณีที่คู่สมรสมีรายได้ไม่สูงมากนัก หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีเงินได้ไม่สูงมาก แต่สามารถหักค่าลดหย่อนได้มาก เช่น สามารถหักค่าลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาที่อายุเกิน 60 ปี ได้ทั้งสองคนเป็นต้น กรณีแบบนี้ การรวมยื่นก็จะทำให้ได้ประโยชน์ค่ะ
สำหรับการแยกยื่นเฉพาะเงินได้ประเภทเงินเดือน 40(1) ตามวิธีที่ 4 และวิธีที่ 5 จะเหมาะกับคู่สมรสที่มีรายได้ประเภทเงินเดือนสูง ในขณะที่รายอื่นไม่มากนัก การนำรายได้อื่นไปรวมกับสามี หรือภรรยา ที่เสียภาษีในฐานอัตราภาษีที่ต่ำกว่า รายได้ส่วนนั้นของเราก็จะคิดภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับกรณีนำมารวมยื่นเป็นเงินได้ของตนเองทั้งหมดค่ะ ยกตัวอย่างเช่น ภรรยามีเงินเดือนสูง ตกฐานอัตราภาษีที่ 30% และภรรยาก็มีรายได้อื่นด้วย เช่น ปล่อยคอนโดให้เช่า ขณะที่สามีเสียภาษีอยู่ในอัตรา 20% การนำรายได้ค่าเช่าไปรวมกับรายได้สามี จะทำให้เสียภาษีในอัตรา 20% ด้วย ถ้าเป็นแบบนี้ ก็ควรเลือกวิธีที่ 4 ค่ะ ส่วนในทางกลับกันหากสามีมีเงินเดือนสูง และมีรายได้อื่นไม่มากนัก ภรรยาเสียภาษีในอัตราต่ำกว่า การนำเงินได้อื่นมารวมกับเงินได้ภรรยาก็น่าจะได้ประโยชน์กว่า ควรเลือกใช้วิธีที่ 5 คือ แยกยื่นเฉพาะเงินเดือนสามีค่ะ
ดังนั้น ในการยื่นแบบเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีภรรยา จึงต้องมีการวางแผนนะคะว่า ยื่นแบบไหนจะเกิดประโยชน์สูงสุดค่ะ ทั้งนี้ แนะนำให้ลองคำนวณดูก่อน และรีบยื่นแต่เนิ่นๆ เผื่อมีต้องส่งข้อมูลเพิ่มหรือมีแก้ไขจะได้ทำได้อย่างรวดเร็วและทันเวลาค่ะ