ข้อคิดเชิงกลยุทธ์จากภาพยนตร์เรื่องยุทธการถล่มบิน ลาเดน (ตอน 2)

01 กุมภาพันธ์ 2556

ข้อคิดเชิงกลยุทธที่น่าสนใจจากภาพยนตร์

ข้อคิดเชิงกลยุทธที่น่าสนใจจากภาพยนตร์

เรื่อง “ยุทธการถล่มบินลาเดน” ตอนที่ 12) ตัวเอกของเรื่องเป็นนักวิเคราะห์สาวของ CIA ที่ถูก Recruit เข้าทำงานในองค์กร ตั้งแต่เรียนมัธยมปลายและเป็นคนที่รัฐบาลและฝ่ายบริหารที่วอชิงตันเชื่อว่าตัวเอกจะแกะรอยเจอ เพราะเป็นคนที่ฉลาดมาก แม้จะเป็นเช่นนั้น แต่เธอยังไม่สามารถโน้มน้าวเสียงส่วนใหญ่ของทีมให้กลับมาจดจ่อที่การไล่ล่าบิน ลาเดน หลังจากล้มเหลวมาหลายปีได้ เพราะเธอประเมินว่าถ้าไม่ไล่ล่าบิน ลาเดน จนเจอ จะไม่สามารถป้องกันการก่อการร้ายในสหรัฐอเมริกาได้ ในขณะที่สมาชิกในทีม CIA ส่วนใหญ่ท้อแท้ในการตามล่าบิน ลาเดน แม้ว่าจะระดมทรัพยากรและบุคลากรชั้นเลิศจำนวนมาก แต่ไม่สามารถหาบิน ลาเดน เจอ และเสียงส่วนใหญ่เริ่มเชื่อว่า ถ้าไม่สามารถตามตัวบิน ลาเดน เจอได้ ก็น่าจะเป็นไปได้ว่าบิน ลาเดน น่าจะตายไปแล้ว ดังนั้นสิ่งที่ถูกคือการเตรียมป้องกันการโจมตีครั้งต่อไป มากกว่าไปตามล่าคนบงการ 911 ซึ่งไม่มีร่องรอยและที่มาให้ตามเลย

อย่างไรก็ตาม ความผิดพลาดที่คิดแบบนี้คือการที่เมื่อไม่สามารถเด็ดหัวผู้บงการได้ การโจมตีด้วยการก่อการร้ายในโลกตะวันตกจึงยังคงเกิดขึ้นต่อไป ดังจะเห็นจากเหตุการณ์ที่ลอนดอน ดูรายละเอียดที่ http://en.wikipedia.org/wiki/7_July_2005_London_bombings)นิวยอร์ก http://en.wikipedia.org/wiki/2010_Times_Square_car_bombing_attempt และสเปน http://en.wikipedia.org/wiki/2004_Madrid_train_bombings)

ผลคือ โลกตะวันตกต้องเป็นฝ่ายเล่นตามเกมที่บิน ลาเดน และเครือข่ายในองค์กรอัลกออิดะห์เป็นคนกำหนด ทำให้สหรัฐและพันธมิตรโลกตะวันตกจำต้องเล่นตามเกมของบิน ลาเดน โดยมิได้ตั้งใจ คือการตั้งรับ ผลคือในช่วงแรกๆ หลังปี 2001 ทรัพยากรมหาศาลต้องถูกนำไประดมป้องกันยังพื้นที่ซึ่งหลากหลายและมีจุดอ่อนในการตั้งรับมาก

3) การแกะรอยมีปัญหา เพราะสมมติฐานของ CIA ที่คิดว่าการใช้เงินเป็นรางวัลสำหรับผู้แจ้งเบาะแสและการทรมาน จะซื้อข้อมูลและรีดข้อมูลได้ทุกอย่าง โดยความคิดที่ว่าการใช้เงินจะนำมาซึ่งทุกอย่าง นำมาสู่ความเสียหายอย่างใหญ่หลวง เมื่ออัลกออิดะห์ซ้อนแผนส่งสายลับสองหน้าพร้อมระเบิดพลีชีพเข้าไปยังใจกลางค่ายทหารสหรัฐอเมริกา เพื่อระเบิดพลีชีพ ซึ่งได้ผลและสังหารเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ CIA ไปเป็นจำนวนมาก และเป็นความสูญเสียครั้งใหญ่ของ CIA

(ดูรายละเอียด http://en.wikipedia.org/wiki/Humam_Khalil_AbuMulal_alBalawi http://www.independent.co.uk/news/world/americas/howciawasfatallydupedbyjordaniandoubleagent1859007.html http://articles.cnn.com/20100105/world/jordan.cia.bombing_1_humamkhalilabumulalbalawiciabase?_s=PM:WORLD และ http://www.nytimes.com/2010/01/05/world/asia/05cia.html?_r=0 )

อันที่จริงความสูญเสียจะไม่หนักหนาเลย ถ้าเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ CIA ปฏิบัติการตาม “กฎรักษาความปลอดภัย” อย่างเคร่งครัด ด้วยการให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยตรวจเช็กรถพาหนะและตัวบุคคล แต่ด้วยความที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของ CIA เชื่อว่าเงิน 25 ล้านเหรียญสหรัฐจะโน้มน้าวให้สายลับซึ่งเป็นแพทย์ชาวจอร์แดนและเป็นผู้ที่ CIA คาดว่าแพทย์คนนี้ในที่สุดจะต้องไปรักษาอาการป่วยให้บิน ลาเดน ดังนั้นCIA จึงให้เกียรติและละเมิดหลักความปลอดภัย ที่สำคัญคือการสั่งห้ามเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยค้นตัวและตรวจตราพาหนะ เพราะประเมินว่าการทำเช่นนั้นจะทำให้ไม่ได้รับความร่วมมือจากแพทย์ชาวจอร์แดน ซึ่งผลที่สุดคือหายนะ เพราะนำมาซึ่งความสูญเสียมหาศาล

เบื้องหลังความผิดพลาดเกิดจากสมมติฐานที่เชื่อว่า เงินซื้อได้ทุกสิ่ง ดังนั้นจึงเชื่อใจและไม่ได้ระแวงสายลับสองหน้าว่าจะมีพฤติกรรมเข้ามาลอบสังหารถึงค่าย CIA เลย ประการสำคัญที่สุดคือ การที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของ CIA ละเมิดหลักความปลอดภัย ซึ่งเป็นหลักสำคัญมาก เพราะเชื่อมั่นในสมมติฐานข้างต้น

ดังนั้น บทเรียนคือ หลักความปลอดภัยหรือหลักบริหารความเสี่ยงที่สำคัญ เป็นเรื่องจำเป็น การละเมิดหลักการดังกล่าวแม้เพียงครั้งเดียว อาจนำหายนะถึงชีวิต

4) ทีมงาน CIA ในการแกะรอยมีความหลากหลาย ส่งผลให้แม้จะใช้เวลาล่าช้าถึง 10 ปีในการแกะรอยเจอ และนี่เป็นเอกลักษณ์ของหน่วยข่าวกรองของสหรัฐอเมริกาที่จะมีภูมิหลังหลายสาขาวิชาชีพที่จบและทำงานอยู่ ทำให้ลักษณะการทำงานและการมองปัญหาจะหลากหลายโดยอัตโนมัติ

ดังตัวเอกของเรื่องมีวิธีคิดที่กว้างและหลากหลายกว่า ในขณะที่ทีม CIA ระดับผู้บริหารจะคิดแบบมุ่งไปที่การปฏิบัติการทางทหาร ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันการโจมตีครั้งต่อไปและการตามล่าบิน ลาเดน จากการทรมานเชลยและพิจารณาความใกล้ชิดและการสั่งการในสมรภูมิ เช่น เชื่อมั่นในข้อมูลก่อนปี 2001 ซึ่งบิน ลาเดน พำนักอยู่ในเทือกเขาโทราโบรา (Tora Bora) กับกองกำลังตาลีบัน มิไยดีที่ตัวเอกจะบอกว่านี่เป็นข้อมูลของบิน ลาเดน ก่อนปี 2001 หรือก่อนเหตุการณ์ 911 ดังนั้นควรจะคิดว่าบินลาเดนน่าจะปรับกลยุทธ์ แต่ผู้บริหาร CIA ไม่เปลี่ยนความคิดจากข้อมูลที่เชื่อว่าบิน ลาเดน อยู่ที่โทราโบรา ส่งผลให้เกิดอคติในการเลือกข้อมูลและการวางแผนปฏิบัติการ เพราะข้อมูลที่ตรงกับอคติจะถูกเลือกมาเป็นลำดับแรกในการนำไปวางแผนปฏิบัติการ

ทั้งๆ ที่ความจริงวิธีคิดของบิน ลาเดน นั้นน่าสนใจตรงที่ว่า บินลาเดน เป็นคนที่มีความรู้ในเรื่องเศรษฐกิจและการเงินอย่างดียิ่ง เพราะศึกษาเรื่องเศรษฐศาสตร์และการบริหารธุรกิจ และมีความรู้เรื่องการทหารที่เน้นการต่อสู้ของฝ่ายที่เป็นรอง m

หมายเหตุ : โปรดติดตามตอนจบในครั้งต่อไป และบทความนี้เป็นทัศนะส่วนตัวของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานที่สังกัด

Thailand Web Stat