ไวน์ทุเรียน

15 กรกฎาคม 2556

ฤดูผลไม้ปีนี้คึกคักพอตัว เพราะไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็เห็นผลไม้เมืองร้อนสารพัดชนิดวางขายกันตั้งแต่ตลาดสด ตลาดนัด เรื่อยไปจนถึงซูเปอร์มาร์เก็ตในห้างหรู แต่เห็นราคาที่ต่ำเตี้ยแม้ไม่ถึงกับเรี่ยติดดิน ก็ให้นึกสงสารชาวสวนชาวไร่ที่อุตส่าห์ลงทุนปลูก แต่ไม่รู้ว่าจะได้ค่าตอบแทนคุ้มลงทุนหรือเปล่า

ฤดูผลไม้ปีนี้คึกคักพอตัว เพราะไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็เห็นผลไม้เมืองร้อนสารพัดชนิดวางขายกันตั้งแต่ตลาดสด ตลาดนัด เรื่อยไปจนถึงซูเปอร์มาร์เก็ตในห้างหรู แต่เห็นราคาที่ต่ำเตี้ยแม้ไม่ถึงกับเรี่ยติดดิน ก็ให้นึกสงสารชาวสวนชาวไร่ที่อุตส่าห์ลงทุนปลูก แต่ไม่รู้ว่าจะได้ค่าตอบแทนคุ้มลงทุนหรือเปล่า

นอกจากผลไม้ที่ดาษดื่นในตลาดแล้ว สิ่งหนึ่งที่มาคู่กับฤดูผลไม้ก็คือ การอัดงบประมาณเพื่อพยุงราคาที่ทำกันทุกปี น้อยบ้าง มากบ้าง แล้วแต่ว่าผลผลิตปีนั้นๆ จะล้นตลาดมากแค่ไหน ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ภาครัฐจะหยิบแนวทางดีๆ ให้ผลลัพธ์ยั่งยืนมาใช้บ้าง

ขณะที่ผู้เขียนยังมีภาพผลไม้ราคาถูกล้นเมืองติดตา ก็คลิกไปเห็นข่าว “ไวน์ทุเรียน” จากสิงคโปร์

แปลกใจไหมคะ ที่เขาคิดผลิต ไวน์ทุเรียน ผลไม้ที่นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นเคยศึกษาวิจัยเมื่อหลายปีก่อนแล้วพบว่า หากกินทุเรียนคู่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้วอาจทำให้ตายได้ เพราะว่าทุเรียนมีซัลเฟอร์หรือกำมะถันสูง ซึ่งเจ้าสารตัวนี้ยับยั้งกระบวนการกำจัดสารพิษ (อัลดีไฮด์) ที่ได้จากการสลายแอลกอฮอล์หรือเหล้าจากร่างกาย

แต่มาวันนี้ นักศึกษาปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์กลับนำเจ้าผลไม้ และเครื่องดื่มที่ไม่ควรกินร่วมกันมาทำให้กลายเป็นสิ่งที่กินได้ เพราะพวกเขาค้นคว้าวิจัยจนพบว่า กระบวนการหมักทำให้ระดับซัลเฟอร์ในทุเรียนลดฮวบฮาบ จนเชื่อได้ว่า ไวน์ทุเรียน ดื่มแล้วปลอดภัยแน่ๆ ซึ่งตอนนี้นักวิจัยสิงคโปร์ก็กำลังมองหานักลงทุนที่อยากจะปลุกปั้นเจ้าไวน์ตัวนี้ออกสู่ตลาดในอนาคต

คิดๆ ไปก็ไม่รู้จะดีใจหรือเสียใจดี เพราะว่าความเป็นจริงแล้ว ทุเรียนไทยของเราก็ดัง แถมกลิ่นหอมก็ขจรขจายไปเตะจมูกถูกใจชาวต่างชาติอีกไม่น้อย แต่ผลงานเด็ดๆ แบบนี้ กลับตกเป็นของชาวสิงคโปร์ ที่อยู่บนเกาะเล็กๆ ไม่ได้เพาะปลูกผลไม้อะไรเองเสียด้วยซ้ำ

แต่ข้อจำกัดด้านกายภาพแบบนั้นของสิงคโปร์ ก็กลับเปิดประตูของความคิดสร้างสรรค์ให้กว้างขึ้น จริงจังมากขึ้น มีการทุ่มเทค้นคว้าวิจัย เพื่อเอาชนะข้อจำกัดต่างๆ จนผลักดันประเทศให้ไปยืนอยู่แถวหน้าของโลก

สำหรับเมืองไทยของเราเอง ผู้เขียนเชื่อมั่นอย่างเต็มหัวใจว่า คนไทยของเรามีความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์มากเช่นกัน แต่อาจขาดการสนับสนุนด้านงบประมาณที่มากพอและต่อเนื่อง หรือหลายครั้งนักวิจัยสามารถค้นคว้าสร้างผลงานดีๆ ได้สำเร็จ ก็จำต้องขายองค์ความรู้เหล่านั้นให้กับต่างชาติ เพราะไม่มั่นใจว่าภาครัฐจะสนับสนุน ผลักดัน จนสามารถต่อยอดงานวิจัยในห้องแล็บให้เป็นสินค้าวางตลาดได้หรือไม่

ไวน์ทุเรียนฤดูผลไม้ปีนี้คึกคักพอตัว เพราะไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็เห็นผลไม้เมืองร้อนสารพัดชนิดวางขายกันตั้งแต่ตลาดสด ตลาดนัด เรื่อยไปจนถึงซูเปอร์มาร์เก็ตในห้างหรู แต่เห็นราคาที่ต่ำเตี้ยแม้ไม่ถึงกับเรี่ยติดดิน ก็ให้นึกสงสารชาวสวนชาวไร่ที่อุตส่าห์ลงทุนปลูก แต่ไม่รู้ว่าจะได้ค่าตอบแทนคุ้มลงทุนหรือเปล่า

นอกจากผลไม้ที่ดาษดื่นในตลาดแล้ว สิ่งหนึ่งที่มาคู่กับฤดูผลไม้ก็คือ การอัดงบประมาณเพื่อพยุงราคาที่ทำกันทุกปี น้อยบ้าง มากบ้าง แล้วแต่ว่าผลผลิตปีนั้นๆ จะล้นตลาดมากแค่ไหน ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ภาครัฐจะหยิบแนวทางดีๆ ให้ผลลัพธ์ยั่งยืนมาใช้บ้าง

ขณะที่ผู้เขียนยังมีภาพผลไม้ราคาถูกล้นเมืองติดตา ก็คลิกไปเห็นข่าว “ไวน์ทุเรียน” จากสิงคโปร์

แปลกใจไหมคะ ที่เขาคิดผลิต ไวน์ทุเรียน ผลไม้ที่นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นเคยศึกษาวิจัยเมื่อหลายปีก่อนแล้วพบว่า หากกินทุเรียนคู่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้วอาจทำให้ตายได้ เพราะว่าทุเรียนมีซัลเฟอร์หรือกำมะถันสูง ซึ่งเจ้าสารตัวนี้ยับยั้งกระบวนการกำจัดสารพิษ (อัลดีไฮด์) ที่ได้จากการสลายแอลกอฮอล์หรือเหล้าจากร่างกาย

แต่มาวันนี้ นักศึกษาปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์กลับนำเจ้าผลไม้ และเครื่องดื่มที่ไม่ควรกินร่วมกันมาทำให้กลายเป็นสิ่งที่กินได้ เพราะพวกเขาค้นคว้าวิจัยจนพบว่า กระบวนการหมักทำให้ระดับซัลเฟอร์ในทุเรียนลดฮวบฮาบ จนเชื่อได้ว่า ไวน์ทุเรียน ดื่มแล้วปลอดภัยแน่ๆ ซึ่งตอนนี้นักวิจัยสิงคโปร์ก็กำลังมองหานักลงทุนที่อยากจะปลุกปั้นเจ้าไวน์ตัวนี้ออกสู่ตลาดในอนาคต

คิดๆ ไปก็ไม่รู้จะดีใจหรือเสียใจดี เพราะว่าความเป็นจริงแล้ว ทุเรียนไทยของเราก็ดัง แถมกลิ่นหอมก็ขจรขจายไปเตะจมูกถูกใจชาวต่างชาติอีกไม่น้อย แต่ผลงานเด็ดๆ แบบนี้ กลับตกเป็นของชาวสิงคโปร์ ที่อยู่บนเกาะเล็กๆ ไม่ได้เพาะปลูกผลไม้อะไรเองเสียด้วยซ้ำ

แต่ข้อจำกัดด้านกายภาพแบบนั้นของสิงคโปร์ ก็กลับเปิดประตูของความคิดสร้างสรรค์ให้กว้างขึ้น จริงจังมากขึ้น มีการทุ่มเทค้นคว้าวิจัย เพื่อเอาชนะข้อจำกัดต่างๆ จนผลักดันประเทศให้ไปยืนอยู่แถวหน้าของโลก

สำหรับเมืองไทยของเราเอง ผู้เขียนเชื่อมั่นอย่างเต็มหัวใจว่า คนไทยของเรามีความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์มากเช่นกัน แต่อาจขาดการสนับสนุนด้านงบประมาณที่มากพอและต่อเนื่อง หรือหลายครั้งนักวิจัยสามารถค้นคว้าสร้างผลงานดีๆ ได้สำเร็จ ก็จำต้องขายองค์ความรู้เหล่านั้นให้กับต่างชาติ เพราะไม่มั่นใจว่าภาครัฐจะสนับสนุน ผลักดัน จนสามารถต่อยอดงานวิจัยในห้องแล็บให้เป็นสินค้าวางตลาดได้หรือไม่

เห็นแบบนี้แล้ว อยากจะให้ภาครัฐจริงใจและจริงจังในการกำหนดนโยบายด้านการวิจัยและพัฒนาให้มากกว่านี้ ไม่ใช่แค่ประกาศแผนฟุ้งๆ แต่ไม่เคยสนใจติดตามผลลัพธ์ว่าเป็นอย่างไรบ้าง

หากภาครัฐหรือเอกชนทำให้คนคิดอะไรดีๆ มั่นใจว่า ความฝันของพวกเขาเป็นความจริงได้ ก็ไม่มีใครทิ้งความฝันไว้กลางทาง หรือขายฝันให้คนอื่นหรอกค่ะ n


เห็นแบบนี้แล้ว อยากจะให้ภาครัฐจริงใจและจริงจังในการกำหนดนโยบายด้านการวิจัยและพัฒนาให้มากกว่านี้ ไม่ใช่แค่ประกาศแผนฟุ้งๆ แต่ไม่เคยสนใจติดตามผลลัพธ์ว่าเป็นอย่างไรบ้าง

หากภาครัฐหรือเอกชนทำให้คนคิดอะไรดีๆ มั่นใจว่า ความฝันของพวกเขาเป็นความจริงได้ ก็ไม่มีใครทิ้งความฝันไว้กลางทาง หรือขายฝันให้คนอื่นหรอกค่ะ

Thailand Web Stat