posttoday

Proprietary Trading กับแก๊งสี่โมงเย็น(ตอน1

19 กันยายน 2556

ปริมาณซื้อขายหุ้นช่วง 4 โมงเย็นเป็นต้นไปมักจะมากกว่าช่วงอื่นๆ ของวันเพราะอะไร

โดย...วรวรรณ ธาราภูมิ

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.บัวหลวง

ปริมาณซื้อขายหุ้นช่วง 4 โมงเย็นเป็นต้นไปมักจะมากกว่าช่วงอื่นๆ ของวันเพราะอะไร

1.การปิดตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ช้ากว่าประเทศอื่นในย่านนี้ ทำให้ยุโรปที่เพิ่งเปิดตลาดเช้าส่งคำสั่งตามที่คำนวณแล้วในคืนก่อน เช่น หากดูไม่ดีก็ขาย หากดีก็ซื้อ เพราะมีโอกาสจะซื้อขายย่านนี้ก็แค่ช่วงนี้ช่วงเดียว

2.การที่พอร์ตบริษัทหลักทรัพย์ (Prop Trader) มักจะถูกกฎเกณฑ์ของบริษัทให้เน้นการซื้อขายรายวัน (Day Trade) ซึ่งน่าจะเพราะเพื่อลดความเสี่ยงของบริษัทจากการถือสถานะข้ามวัน คือ ซื้ออะไรมาก็ต้องขายไปในวันเดียว เพื่อกันไม่ให้มีความเสี่ยงจากการมีหุ้นค้างในพอร์ตข้ามคืน (Overnight Risk) จึงทำให้ขายหุ้นที่ซื้อวันนี้ให้หมดในวันเดียว ซึ่งในอีกทางก็ก่อให้เกิดวอลุมมากขึ้นในตลาด

3.มีคำสั่งซื้อขายของลูกค้ากองทุนเข้ามาในช่วงนี้ ทำให้ผู้จัดการกองทุนทำคำสั่งเพื่อ Settle ทั้งหมดที่เหลือของวัน

4.รายย่อยเองก็เป็นแก๊งสี่โมงเย็นไปโดยปริยาย เพราะรู้ว่า Prop Trade ต้องปิดสถานะวันต่อวัน เรื่องอะไรจะถือต่อล่ะ

5.รายใหญ่บางกลุ่มที่ทำ Day Trade

ใครคือแก๊ง 4 โมงเย็น

คำตอบคือ “ทุกคนข้างต้น” จะมาก จะน้อย แล้วแต่กรณี แต่คนมักพุ่งเป้าไปที่ Prop Trade ให้เป็นผู้ร้าย

มีข่าวลือว่า บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บางแห่งไม่มีพนักงานที่เป็น Prop Trader แต่มีนักลงทุนรายใหญ่ หรือลูกค้าคนรวย (High Networth) ทำตัวเสมือน Prop Trade ของบริษัทหลักทรัพย์ แต่จะจริงหรือไม่ เหลือวิสัยที่จะทราบ

ความเป็นมาของ Prop Trade

Proprietary Trading ก่อกำเนิดในวอลสตรีท สหรัฐ เมื่อโบรกเกอร์รายใหญ่และสถาบันการเงินเริ่มว่าจ้าง นักค้าหุ้น (Traders) มาซื้อขายหลักทรัพย์ให้บริษัทของตน โดยใช้เงินของบริษัทไปซื้อขาย

ต่างกับบริษัท Proprietary Trading Firm ที่ทำ DayTrading ซึ่งเกิดทีหลัง ในปี 2533 เป็นต้นมา เพราะกลุ่มหลังนี้ต้องใช้เงินตัวเองในการซื้อขาย และไม่ได้เป็นลูกจ้างของบริษัทในวอลสตรีท ทั้งยังแยกออกไปจากการบริหาร Portfolio ของโบรกเกอร์ โดยลูกค้าที่ทำ Prop Trade จะต้องวางเงินฝากเป็นหลักประกันการชำระราคาไว้ก่อน

ที่สำคัญ คือ พวก Prop Traders พวกหลังนี้เป็นลูกค้า ไม่ได้เป็นลูกจ้างของ บล.จึงคล้ายกับรายย่อยเพราะเสี่ยงกับเงินตนเอง แต่ได้มาร์จินที่สูงกว่ารายย่อยมาก

สำหรับ Prop Trade ของไทยนั้นเป็นหน่วยงานของ บล. มีการว่าจ้าง Traders เข้ามาเป็นพนักงานเพื่อทำรายการโดยใช้เงินของ บล.ในการซื้อขาย

เข้าใจว่า เดิมทีนั้นเขาให้มี Prop Trade เพื่อเสริมสภาพคล่องให้ตลาดฯ แต่หลังๆ มานี้เป็นไปได้ว่าอาจมีการใช้ Prop Trade เพื่อแสวงหากำไรให้ บล.เป็นหลัก โดยมีกฎกติกาและมารยาทตามที่สมาคมโบรกเกอร์กำหนดร่วมกัน

Prop Trader คล้ายผู้จัดการกองทุน (Fund Manager) หรือไม่

เนื้องานบางส่วนของ Prop Trade คล้าย Fund Manager แต่ต่างกันที่ Fund Manager ไม่มี Profit Sharing และ Fund Manager วัดผลงานกองทุนเทียบกับดัชนีอ้างอิงกับ Fund Manager บริหารเงินของลูกค้าไม่ใช่ของบริษัท ในขณะที่ Prop Trader มี Profit Sharing และจะวัดผลงานกันในระยะเวลาที่จะตกลงกัน เช่น เป็นรายไตรมาส โดยวัดว่ามีกำไรขาดทุนเท่าไร ถ้ากำไรก็เอามาแบ่งกันระหว่าง Prop Trader กับบริษัท n

(อ่านต่อฉบับพรุ่งนี้)

Thailand Web Stat