แฟรนไชส์ไทยไปเออีซีด้วยทักษะการคิดเชิงกลยุทธ์ (ตอน 11)
“วินเซ็นท์ เซ็นเตอร์เซอร์วิส (WIN – SENT Center Service)” แฟรนไชส์ไทยที่สามารถมองทะลุความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า (Unmet Needs) แล้วพัฒนาธุรกิจให้ตอบสนองความต้องการ ด้วยบริการครอบจักรวาลตั้งแต่จุดเติมเงินออนไลน์ ศูนย์ถ่ายเอกสาร ศูนย์ถ่ายรูปด่วน จองตั๋วเดินทาง ชำระค่าสาธารณูปโภค บริการรับส่งเอกสารและพัสดุด่วน ฯลฯ ด้วยกลยุทธ์มุ่งสร้างคุณค่าเพิ่ม (Added Value) การสร้างความแตกต่างที่เหนือกว่าคู่แข่ง (Differentiation Strategy) และการมุ่งเน้นการปฏิบัติการที่เป็นเลิศ (Operation Excellent) ด้วยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาเพิ่มประสิทธิภาพให้กับองค์กร กระทั่งสามารถนำพาธุรกิจแฟรนไชส์ร้านสารพัดบริการขึ้นสู่ทำเนียบแฟรนไชส์ที่โดดเด่นแห่งยุค ปั้นแบรนด์แฟรนไชส์ที่มีมูลค่าค่าแรกเข้าตั้งแต่ 25 แสนบาท ปัจจุบันมีสาขาทั่วประเทศกว่า 305 สาขา
“วินเซ็นท์ เซ็นเตอร์เซอร์วิส (WIN – SENT Center Service)” แฟรนไชส์ไทยที่สามารถมองทะลุความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า (Unmet Needs) แล้วพัฒนาธุรกิจให้ตอบสนองความต้องการ ด้วยบริการครอบจักรวาลตั้งแต่จุดเติมเงินออนไลน์ ศูนย์ถ่ายเอกสาร ศูนย์ถ่ายรูปด่วน จองตั๋วเดินทาง ชำระค่าสาธารณูปโภค บริการรับส่งเอกสารและพัสดุด่วน ฯลฯ ด้วยกลยุทธ์มุ่งสร้างคุณค่าเพิ่ม (Added Value) การสร้างความแตกต่างที่เหนือกว่าคู่แข่ง (Differentiation Strategy) และการมุ่งเน้นการปฏิบัติการที่เป็นเลิศ (Operation Excellent) ด้วยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาเพิ่มประสิทธิภาพให้กับองค์กร กระทั่งสามารถนำพาธุรกิจแฟรนไชส์ร้านสารพัดบริการขึ้นสู่ทำเนียบแฟรนไชส์ที่โดดเด่นแห่งยุค ปั้นแบรนด์แฟรนไชส์ที่มีมูลค่าค่าแรกเข้าตั้งแต่ 25 แสนบาท ปัจจุบันมีสาขาทั่วประเทศกว่า 305 สาขา
ย้อนกลับไปในช่วงก่อตั้งกิจการ คุณจิรภัทร สำเภาจันทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทวินเซ็นท์ เซ็นเตอร์เซอร์วิส เล่าให้ฟังว่า จบการศึกษาด้านการตลาดและสื่อสารมวลชน ทำให้มีประสบการณ์ด้านการผลิตสื่อโฆษณาและด้านไอที ต่อมาเข้ามาช่วยกิจการทางบ้านในธุรกิจจำหน่ายวัตถุดิบและสินค้าด้านกุ้งกุลาดำ ซึ่งในขณะนั้นเฟื่องฟูมาก และแทบจะไม่มีใครมองว่าธุรกิจกุ้งกุลาดำจะประสบปัญหาเพราะแม้แต่นักเศรษฐศาสตร์ต่างๆ และกูรูระดับโลกอย่างไมเคิล อี พอร์เตอร์ ยังมาชี้แนะให้กับรัฐบาลว่าประเทศไทยต้องชูเรื่องการท่องเที่ยวและการส่งออกกุ้งกุลดำเป็นหลัก
ทว่าด้วยการวิเคราะห์ธุรกิจอย่างชาญฉลาด คุณจิรภัทรกลับมองต่างว่าธุรกิจการเกษตรโดยเฉพาะกุ้งกุลาดำ เป็นธุรกิจที่มีความอ่อนไหวสูง มีความเสี่ยงหลายด้าน ทั้งการจ้างพนักงานจำนวนมาก มีช่องทางทุจริตสูง ต้องสต๊อกสินค้าจำนวนมาก สินค้ามีอายุ ต้องแบกรับหนี้สินจากลูกหนี้การค้า และต้องพึ่งพาธรรมชาติที่ควบคุมไม่ได้ ดังนั้นจึงได้ออกแบบธุรกิจสำรองไว้ โดยต้องเป็นธุรกิจที่มีการสต๊อกน้อยๆ หรือไม่มีสต๊อกสินค้าเลยยิ่งดี จ้างพนักงานน้อย เป็นธุรกิจเงินสด และไม่ต้องอาศัยปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้
เมื่อวิเคราะห์ได้ดังนั้นจึงพยายามที่จะมองหาธุรกิจใหม่ๆ ที่สามารถป้องกันความเสี่ยงเหล่านั้นได้ กล่าวได้ว่าคุณจิรภัทรได้ทำใน 3 ประการที่ผู้ประกอบการควรทำ นั่นคือ การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม (SWOT Analysis) ของธุรกิจ การรู้จักวิเคราะห์วัฏจักรธุรกิจ (Business Cycle) เพราะผู้ประกอบการที่ดีจะต้องไม่วิเคราะห์เพียงวัฏจักรผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle) เท่านั้น และการนำข้อมูลมาจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง (Risk Management) เพื่อความเสี่ยงให้กับองค์กรในอนาคต ซึ่งเป็นทักษะการบริหารธุรกิจแบบมีความคิดรวบยอด (Conceptualized Skills) ที่ยอดเยี่ยมของผู้บริหาร
นอกจากนั้น คุณจิรภัทรยังมีโจทย์ส่วนตัวที่หากเลือกได้ก็ไม่ต้องการทำธุรกิจที่ต้องฆ่าสัตว์ตัดชีวิตอีกต่อไป ธุรกิจใหม่จึงมาลงตัวที่ธุรกิจสารพัดบริการ “วินเซ็นท์ เซ็นเตอร์เซอร์วิส”
(อ่านต่อฉบับหน้า)