posttoday

คู่แต่งงานใหม่ ควรบริหารเงินอย่างไร ?

16 มิถุนายน 2557

เขาว่ากันว่า "ยามรัก น้ำต้มผักก็ว่าหวาน" เพราะฉะนั้น สำหรับคู่แต่งงานใหม่แล้ว อะไรก็คงจะดีงาม ชื่นมื่นไปหมด แต่กระนั้น การจะรักษาความรัก รักษาชีวิตคู่ให้ยืดยาวนั้น

เขาว่ากันว่า "ยามรัก น้ำต้มผักก็ว่าหวาน" เพราะฉะนั้น สำหรับคู่แต่งงานใหม่แล้ว อะไรก็คงจะดีงาม ชื่นมื่นไปหมด แต่กระนั้น การจะรักษาความรัก รักษาชีวิตคู่ให้ยืดยาวนั้น

 มีปัจจัยอีกมากมายที่นอกเหนือไปจากความรักที่ทั้งคู่มีให้กัน และหนึ่งในนั้นคือเรื่อง "เงินๆ ทองๆ" นั่นเอง เพราะสุดท้ายแล้ว ก็ต้องยอมรับว่าเงินคือปัจจัยสำคัญอันดับต้นๆ ให้การดำเนินชีวิตในปัจจุบันสามารถดำเนินไปได้อย่างสะดวกสบาย วันนี้ Moneyguru จึงขอเสนอบทความแนะนำการบริการเงินสำหรับคู่ใหม่ปลามันมาฝากกัน

คุยเปิดอกเรื่องการเงิน

การคุยเปิดอกเรื่องการเงินกับคู่ครอบของคุณถือเป็นเรื่องที่ดี จริงๆ ควรจะเป็นเรื่องที่คุณคุยกันตั้งแต่ก่อนตัดสินใจใช้ชีวิตคู่ร่วมกันเเล้ว โดยเรื่องหลักๆ ที่คุยกันคือ สถานะทางการเงิน เป้าหมายในเรื่องการเงินของแต่ละคนเป็นอย่างไร เติบโตมาในสิ่งแวดล้อมแบบไหน โดยเฉพาะเรื่องการจัดการและบริการการเงินในครอบครัว พ่อแม่สอนให้ประหยัดมาตั้งแต่เด็กหรือไม่ หรือเป็นคนใช้เงินมือเติบมาตั้งแต่เด็ก พ่อแม่ตามใจ เป็นต้น หากคุณคุยแล้วพบว่าคู่ครองของคุณแตกต่างกับคุณมาก อาจจะดีกว่า หรือแย่กว่า อย่าตกใจ ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีที่คุณคุยกันทำความรู้จักกันเสียแต่เนิ่นๆ เพื่อจะได้หาทางออกร่วมกัน อันเป็นจุดกึ่งกลางที่จะทำให้คุณทั้งคู่อยู่รอด

นอกจากเรื่องนิสัยการเงินที่ต้องรู้จักแล้ว ยังรวมไปถึง รายการรายได้ รายการหนี้สินทุกอย่าง ประวัติเครดิต ซึ่งเมื่อคุณแต่งงานไปแล้ว ถือว่า เรื่องนี้ไม่ควรปิดบังกัน แต่ก็อย่างที่บอกว่า สติเป็นเรื่องสำคัญ หากพบเรื่องที่คุณตาดไม่ถึง ก็ให้ใจเย็นๆ และค่อยหาทางแก้ต่อไป

ตั้งเป้าหมายใหม่ร่วมกัน

เมื่อคุณรู้พื้นฐานนิสัยการเงิน สถานะการเงิน ของคู่ครองคุณแล้ว ก็ถึงเวลาตั้งเป้าหมายร่วมกัน เพื่อนำไปวางแผนการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจริงๆ แล้ว เป้าหมายมีอยู่ 3 อย่างหลักๆ คือ เป้าหมายการมีเงินก้อนระยะสั้น 5 ปี หรือ  10 ปี อาจจะเพื่อนำไปดาวน์ซื้อบ้านหลังใหม่ ซื้อรถ หรือพาครอบครัวไปเที่ยว เป้าหมายที่ 2 คือ กองทุนที่คุณต้องกันไว้ใช้ฉุกเฉิน ซึ่งส่วนใหญ่คือ 3-6 เท่าของรายจ่ายประจำของคุณต่อเดือน ส่วนเป้าหมายสุดท้ายคือ เป้าหมายระยะยาว ได้แก่ เงินเก็บเพื่อการศึกษาบุตร หรือ เงินเก็บไว้ใช้ตอนเกษียณอายุ เป็นต้น ซึ่งการแบ่งแบบนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะคุณจะได้รู้ว่าคุณต้องเก็บเงินอย่างไรบ้าง อาทิ เราไม่ควรฝากเงินส่วนมากไว้ในบัญชีเกษียณเพราะควรเป็นบัญชีที่ถอนไม่ได้เลย เป็นต้น

ทำงบประมาณรายรับ-รายจ่าย

จัดทำงบประมาณรายจ่ายต่อเดือนของคุณทุกอย่างที่เป็นรายจ่ายประจำ ทั้ง ค่ากิน ค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าโทรศัพท์ เป็นต้น หลังจากนั้น แบ่งรายได้ของคุณเก็บเป็นเงินออม อย่างน้อยที่สุด 20% โดย 10% เป็นเงินฝากฉุกเฉิน และ 10% เป็นเงินฝากยามเกษียณ หลังจากนั้นคุณก็ย้อนกลับมาดูว่ารายจ่ายที่คุณไล่เรียงไว้แต่ทีแรก เกินร้อยละ 80 ของเงินเดือนหรือไม่ ถ้าเกิน คุณควรตัดบางอย่างออกเสีย นอกจากนี้ หากคุณรู้สึกว่ายากที่จะมาไล่รายการที่จ่ายทั้งหมด คุณก็ลองติดตามรายจ่ายของคุณประมาณ 1-2 เดือนดูสิ ช่วยได้แน่นอน ส่วนในกรณีที่คุณมีหนี้ คุณควรลดสัดส่วนการใช้ลงเป็น 70% และแบ่งอีก 10% หรือมากกว่านั้นไปใช้หนี้ ไม่ควรที่จะเอาจากส่วนออมเงินทั้งหมดไปใช้หนี้


แบ่งหน้าที่ให้ชัดเจน

ใครคนหนึ่งในบ้านควรได้รับมอบหมายให้เป็นคนจ่ายบิลต่างๆ แต่ในขระเดียวกันอีกฝ่ายหนึ่งก็ควรรับรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในบ้านเกี่ยวกับการเงินด้วย เพราะฉะนั้น ทั้งคู่ควรนัดหมายคุยกันเรื่องการเงินในบ้านอย่างสม่ำเสมอ เพื่อดูว่า สถานะในปัจจุบัน กำลังอยู่ในหนทางสู่เป้าหมายที่ตั้งเป้าไว้ในตอนแรกหรือไม่

ซื้อของใหญ่แค่ไหนจึงต้องคุยกันก่อน?

เมื่อใครคนใดคนหนึ่งอยากได้สิ่งของต่างๆ ทั้งคู่ควรตกลงเอาไว้ว่า หากเลยราคาเท่าไหร่ถึงเรียกว่าของชิ้นใหญ่และควรปรึกษากันก่อน เพื่อให้ทั้งคู่ยินยอม อาทิ หากซื้อของราคาไม่กี่พัน อาจจะไม่ต้อง แต่ถ้าขึ้นหลักแสน ควรบอกกล่าวอีกฝ่าย เพื่อตกลงว่าสมควรหรือไม่ เป็นต้น

คุยเรื่องเพื่อนและครอบครัว

คุณควรมีข้อตกลงเกี่ยวกับการช่วยเหลือเพื่อน ญาติพี่น้อง หรือคนในครอบครัวของคุณในเรื่องเงิน ซึ่งประเด็นนี้ขึ้นอยู่กับคนคุณมีเงินเหลือพอที่ไม่ใช่เงินออมมากแค่ไหนที่พอช่วยได้ คนคนนั้นมีปัญหาบ่อยมั้ย หรือเป็นเหตุกะทันหันจริงๆ เรื่องนี้ต้องตกลงกันให้ดีว่าสามารถช่วยได้หรือไม่ ช่วยได้เท่าไหร่

พินัยกรรมก็เป็นเรื่องสำคัญ

เราไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น และการตายก็เป็นเรื่องธรรมชาติ การทำพินัยกรรมคือเรื่องสำคัญ เพราะถ้าไม่มีพินัยกรรม รัฐจะเข้ามาจัดการแทนคุณ ดังนั้น จะบรรจุคู่สมรสของคุณไว้ในนั้นหรือไม่ ลูกของคุณแต่ละคนควรได้อะไรบ้าง ก็ควรคิดไว้ก่อน เพื่อที่จะได้ไม่เกิดปัญหาทีหลัง

คู่แต่งงานใหม่ ควรบริหารเงินอย่างไร ?