ธุรกิจหอพักความสำเร็จบนความเสี่ยง

24 กรกฎาคม 2557

กิจการหอพักนักเรียน นักศึกษา ในปัจจุบันเกิดขึ้นมากมายตามความต้องการของนักเรียน นักศึกษา ที่ย้ายถิ่นเข้าสู่เมืองใหญ่เพื่อมาแสวงหาโอกาสในการศึกษามากขึ้นทั้งหญิงและชาย จากงานวิจัยของศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เกี่ยวกับเยาวชนกับนโยบายการจัดระเบียบหอพักนักศึกษา เมื่อสอบถามความเห็นของกลุ่มตัวอย่าง 30.9% ระบุเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดมากที่สุดในหอพักนักศึกษา คือ ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ มั่วสุมทางเพศ ชู้สาว

กิจการหอพักนักเรียน นักศึกษา ในปัจจุบันเกิดขึ้นมากมายตามความต้องการของนักเรียน นักศึกษา ที่ย้ายถิ่นเข้าสู่เมืองใหญ่เพื่อมาแสวงหาโอกาสในการศึกษามากขึ้นทั้งหญิงและชาย จากงานวิจัยของศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เกี่ยวกับเยาวชนกับนโยบายการจัดระเบียบหอพักนักศึกษา เมื่อสอบถามความเห็นของกลุ่มตัวอย่าง 30.9% ระบุเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดมากที่สุดในหอพักนักศึกษา คือ ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ มั่วสุมทางเพศ ชู้สาว

แม้จะไม่ได้มีกฎหมายใดๆ ห้ามปรามในการเปิดหอพักนักศึกษาแบบหอรวม การขอความร่วมมือจากสถาบันการศึกษา กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือองค์กรเพื่อสังคมต่างๆ ในการจัดสรรประเภทหอพักให้เหมาะสม หรือขอความร่วมมือสอดส่องดูแลพฤติกรรมนักเรียน นักศึกษา ตลอดจนการแจ้งเตือนต่างๆ แต่ด้วยนักเรียนหรือนักศึกษาส่วนมากบรรลุนิติภาวะกันแล้ว จึงคิดว่าดูแลตัวเองได้ มีความเป็นผู้ใหญ่มากเพียงพอต่อการตัดสินใจ

การจะอยู่หอพักกับใครต่อใครนั้นอยู่บนพื้นฐานของสิทธิที่พวกเขามี แต่น้อยนักที่นักศึกษาจะมองเห็นถึงความถูกต้องตามหลักศีลธรรมจรรยา จารีตประเพณีไทย หอพักส่วนใหญ่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยการเปิดกิจการหอพักนักศึกษาในรูปแบบหอพักรวมหญิงชาย โดยไม่ได้คำนึงถึงหลักความถูกต้องของสังคม ปล่อยปละละเลยให้หญิงชายอยู่อาศัยกันได้อย่างเสรี สนับสนุนชีวิตความเป็นอยู่แบบคู่รักอยู่กินกันระหว่างเรียน ซึ่งเป็นเรื่องที่พบเห็นโดยทั่วไปสำหรับกิจการหอพักนักศึกษา แม้ว่าทางมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานทางราชการที่เกี่ยวข้องข้องจะมีการขอความร่วมมือให้ช่วยดูแล สอดส่องพฤติกรรมต่างๆ หรือขอความร่วมมือจัดระเบียบหอพักให้แยกหญิงแยกชาย

แต่เจ้าของกิจการส่วนมากมองว่าเป็นเรื่องของพฤติกรรมส่วนตัวที่ผู้อาศัยต้องดูแลชีวิตคู่ของตนเอง จึงคิดว่าเป็นภาระและไม่ใช่ธุระของกิจการ และหากให้ความร่วมมือปฏิบัติการแล้ว ลูกค้าอาจไม่พอใจที่ทางเจ้าของหอพักไปยุ่งเรื่องส่วนตัวของเขา และถ้าลูกค้าหายไปใครจะรับผิดชอบเงินลงทุนและค่าใช้จ่ายของหอพักต่างๆ ซึ่งเจ้าของกิจการมองความจำเป็นของธุรกิจเป็นหลัก ละเลยความถูกต้องในสังคม เพราะถือว่าเป็นความเสี่ยงหากจะทำธุรกิจหอพักโดยแยกหญิงแยกชาย

การดำเนินธุรกิจหอพักนักศึกษาที่ปราศจากความรับผิดชอบต่อสังคม ย่อมทำให้เกิดปัญหาสังคมตามมามากมาย อาทิ ปัญหายาเสพติด ปัญหาการอยู่อาศัยฉันสามีภรรยาของนักศึกษาในแบบที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่รู้ การตั้งครรภ์นอกสมรสหรือการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ที่เลวร้ายที่สุด คือ ปัญหาทารกแรกเกิดถูกทอดทิ้งหรือถูกทำแท้ง ซึ่งหอพักรวมหญิงชายเป็นบ่อเกิดของปัญหานี้ในอันดับต้นๆ

ดังนั้น การเปิดกิจการหอพักเพียงเพื่อหวังปริมาณลูกค้าที่พอใจในการอยู่รวมกันหญิงชายได้ ซึ่งกฎหมายควบคุมไม่ได้ เจ้าของหอพักตามใจผู้อยู่อาศัย ปัญหาสังคมเหล่านี้จะได้รับการแก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น หากเพียงนักธุรกิจหอพักมองเห็นหลักของศีลธรรมจรรยาและขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีไทยให้มีความสำคัญมากกว่าธุรกิจ ดำรงไว้ซึ่งความถูกต้องของการเป็นเจ้าของธุรกิจที่ไม่สนับสนุนวิถีชีวิตของนักศึกษาในทางที่ไม่ถูกต้อง โดยไม่คำนึงว่าธุรกิจหอพักอาจไม่มีลูกค้า เพราะไม่ตอบสนองความพึงพอใจตามหลักการตลาด แต่ก็ยังคงยืนหยัดอยู่บนความตั้งใจที่แน่วแน่เพื่อปกป้องสังคมที่อ่อนแอลงไปทุกวันๆ นี้ไว้ การดำรงอยู่ซึ่งธุรกิจที่เข้าใจคุณธรรมและหลักจริยธรรมจะได้รับการต้อนรับในโลกปัจจุบันมากขึ้น อย่าตามใจตลาดมากจนเกินไป

การตอบสนองเพียงเพื่อหวังให้ตลาดพึงพอใจเป็นการตามใจลูกค้า แต่สร้างปัญหาย้อนกลับมาทำลายสังคมจนยากเกินเยียวยา หากตั้งใจที่จะดำเนินกิจการหอพักด้วยนโยบายเชิงจริยธรรมแล้ว ประกอบกับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้นักเรียน นักศึกษา และพ่อแม่ผู้ปกครอง ตระหนักถึงความถูกต้องของการอยู่รวมกันหญิงชาย เชื่อว่าพ่อแม่ผู้ปกครองจะมีความพึงพอใจและสบายใจมากกว่าที่จะฝากบุตรหลานไว้กับกิจการที่เป็นเสมือนพ่อแม่คนที่สอง เพื่อให้เจ้าของกิจการหอพักรายอื่นๆ เห็น “ความสำเร็จบนความเสี่ยง” ว่าการดำเนินธุรกิจหอพักสตรีก็สามารถสวนกระแสความต้องการของตลาดได้

หากเพียงผู้ประกอบการไม่เห็นแก่ได้จนหลงลืมความถูกต้องและช่วยกันสร้างให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่กิจการอื่นๆ และร่วมกันรณรงค์ให้เห็นถึงความสำคัญของกิจการหอพักที่เข้มงวดเรื่องความเป็นอยู่และให้ช่วยกันดูแลสังคมนี้สืบไปจากหนังสือ “การตลาดไม่รู้จักพอ (Never Ending Marketing)” โดย กุลฉัตร ฉัตรกุล ณ อยุธยา สำนักพิมพ์โพสต์บุ๊ก

Thailand Web Stat