คอมมูนิตี้มอลล์ยังหอมรายใหม่เฟ้นจุดแข็งแจ้งเกิด
แม้ว่าปัจจุบันธุรกิจค้าปลีกกลุ่มคอมมูนิตี้มอลล์จะผุดขึ้นทั่วกรุงเทพมหานคร (กทม.) และจังหวัดใหญ่
แม้ว่าปัจจุบันธุรกิจค้าปลีกกลุ่มคอมมูนิตี้มอลล์จะผุดขึ้นทั่วกรุงเทพมหานคร (กทม.) และจังหวัดใหญ่ และมีบางรายที่ต้องล้มหายตายจากไปเนื่องจากสายป่านไม่ยาวพอและไม่มีจุดขายที่เด่นชัด แต่ดูเหมือนว่าธุรกิจนี้ยังคงหอมหวานเพราะยังคงมีผู้ประกอบการหน้าใหม่โดดเข้าสู่ตลาดนี้อย่างต่อเนื่อง
เห็นได้จากตัวเลขคอลลิเออร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย โดย สุรเชษฐ กองชีพ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย ที่กล่าวว่า ในอีก 5 เดือนนับจากนี้จะมีพื้นที่คอมมูนิตี้มอลล์เกิดใหม่อีกมากกว่า 2.47 แสนตารางเมตร (ตร.ม.) โดยสัดส่วนมากถึง 72% อยู่ในพื้นที่ กทม. รอบนอก เนื่องจากคอมมูนิตี้มอลล์ต้องเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน จึงเลือกทำเลรอบนอก กทม. ที่มีการขยายตัวของโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ๆ มากขึ้น
ขณะที่ความต้องการเช่าแม้ว่าครึ่งปีแรก ผู้เช่ารายเล็กจะได้รับผลกระทบจากปัญหาการเมืองที่ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว แต่ส่วนใหญ่ยังคงเชื่อมั่นในตลาด ดังนั้นอัตราการเช่าเฉลี่ยจึงยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อัตราการเช่าเฉลี่ยในพื้นที่ใจกลางเมืองเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมาแม้ว่าจะมีศูนย์การค้า และคอมมูนิตี้มอลล์หลายโครงการเปิดให้บริการ
อย่างไรก็ตาม การทำธุรกิจคอมมูนี้ตี้มอลล์จะประสบความสำเร็จได้ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและการดึงพันธมิตรผู้เช่าแบรนด์ชั้นนำที่สามารถดึงดูดลูกค้าได้ รวมถึงการออกแบบตัวโครงการให้สามารถเดินวนต่อเนื่อง ไม่ใช่เป็นทางเดินตัน
ทั้งนี้ ล่าสุดมีคอมมูนิตี้มอลล์น้องใหม่ 2 ราย เปิดตัวในเวลาไล่เลี่ยและคล้ายคลึงกัน นั่นคือ วนิลา มูน ปักธงบนถนนจันทน์ของกลุ่มพรธิสารและบีไฮฟ์ของกลุ่มบางกอกแลนด์ ในโครงการเมืองทองธานี เพราะทั้งสองรายต่างขยายต่อยอดจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และเลือกทำเลที่คู่แข่งน้อย
วรพจน์ พรธิสาร กรรมการผู้จัดการ บริษัทดีเวลลอปเมนท์ แบงคอก เปิดเผยว่า ได้ทุ่มงบลงทุนกว่า400 ล้านบาท เปิดคอมมูนิตี้มอลล์ ภายใต้ชื่อ วนิลา มูนบนถนนจันทน์ เนื้อที่กว่า 6 ไร่ ภายใต้คอนเซ็ปต์ Creativity Mall เจาะกลุ่มลูกค้าเป้าหมายระดับบีบวก ในพื้นที่รัศมี35 กม. มีรายได้ 5 หมื่น1 แสนบาท/เดือน คาดถึงจุดคุ้มทุนใน 810 ปี หวังรายได้ปีแรก 50 ล้านบาท
การรุกธุรกิจคอมมูนิตี้มอลล์ครั้งนี้มองว่าเป็นการสร้างรายได้ระยะยาว เพื่อเสริมธุรกิจเดิมจากธุรกิจรับเหมาที่สร้างรายได้ระยะสั้น และธุรกิจบ้านจัดสรรที่สร้างรายได้ระยะกลาง จากรายได้ทั้งกลุ่มเกือบ 10 บริษัทรวมเกือบ 1,000 ล้านบาท
สำหรับวนิลา มูน เป็นคอมมูนิตี้มอลล์แห่งเดียวบนถนนจันทน์ มีพื้นที่ใช้สอย 2.5 หมื่น ตร.ม. มีร้านค้า 72 ร้านค้า เปิดให้บริการแล้ว 40% คิดอัตราเช่า 1,200 บาท/ตร.ม. แบ่งออกเป็น 5 โซน คือ การศึกษา อาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต ความงาม และอื่นๆ คาดเปิดบริการเต็มพื้นที่ไตรมาส 4 ปีนี้ คาดมีคนเข้ามาใช้บริการ 3,0005,000 คน/วัน
นอกจากนี้ บริษัทยังมีแผนลงทุนคอมมูนิตี้มอลล์แห่งใหม่ที่สัตหีบซึ่งอยู่ระหว่างเจรจากับพันธมิตร เบื้องต้นจะพัฒนา 12 ไร่ ใช้เงินลงทุนกว่า 300 ล้านบาท คาดเปิดปี 2559
การเลือกลงทุนคอมมูนิตี้มอลล์ของบริษัทที่แม้การแข่งขันสูงแต่เชื่อว่ายังมีช่องว่าง โดยต้องหาทำเลที่ยังไม่มีคู่แข่ง เช่น บนถนนจันทน์และสัตหีบ ที่สำคัญคือต้องมีพันธมิตรที่เป็นแม่เหล็กดึงลูกค้า หาจุดต่างจากที่มีในทำเลนั้นๆ และต้องหากิจกรรมหรือสินค้าและบริการที่ทำให้เกิดลูกค้าหมุนเวียนมาใช้บริการได้ทั้งวัน เชื่อว่าจะประสบความสำเร็จได้
ในส่วนของธุรกิจรับเหมา บริษัทจะเน้นโครงการภาครัฐ อาทิ โรงพยาบาล มีมูลค่ารับงานต่อปี 500800 ล้านบาท ส่วนธุรกิจบ้านจัดสรรเน้นสร้างบ้านเจาะกลุ่มลูกค้าสวัสดิการ โดยล่าสุดได้เข้าไปร่วมเป็นพันธมิตรกับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ที่องครักษ์ คลอง 15สร้างบ้านพักบุคลากรของมหาวิทยาลัย บนพื้นที่ 50 ไร่ จำนวน 100 ยูนิต ราคาขายไม่เกิน 3 ล้านบาท ปัจจุบันมียอดขายแล้ว 40%
“การลงทุนในโครงการนี้เรามองว่า ไม่มีความเสี่ยง เพราะกลุ่มลูกค้าเป็นกลุ่มข้าราชการ ที่สามารถกู้เงินจากสหกรณ์ได้ ทำให้เราได้ลูกค้าแน่นอน และตอนนี้มีการโอนแล้ว 40% คาดว่าจะโอนแล้วเสร็จทั้งหมดได้ภายในปลายปี 2557 นอกจากโครงการนี้แล้วเราจะมีการเจรจากับหน่วยราชการอื่นอีก เพื่อสร้างที่อยู่อาศัยเพิ่ม”
ผู้ประกอบการรายใหญ่อีกรายในธุรกิจอสังหาฯ อย่างบางกอกแลนด์ที่ล่าสุดกระโดดเข้าสู่ธุรกิจคอมมูนิตี้มอลล์ เพราะมองเห็นโอกาสเช่นกัน โดย ปีเตอร์ กาญจนพาสน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกแลนด์ หรือบีแลนด์ เปิดเผยว่า หลังจากนี้จะเน้นลงทุนอาคารเชิงพาณิชย์ในเมืองทองธานีเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับพื้นที่ โดยล่าสุดลงทุน 1,700 ล้านบาท 3 โครงการ คือ ลงทุน 800 ล้านบาท โครงการบีไฮฟ์เป็นไลฟ์สไตล์มอลล์ 97 ยูนิต รองรับผู้อยู่อาศัยและทำงานในเมืองทองธานีกว่า 2 แสนคน ต้องการพื้นที่ช้อปปิ้ง รับประทานอาหารภายในเมืองทองธานี
ขณะที่อีก 2 โครงการ คือ ป๊อปปูล่า วอล์ค ลงทุน 300 ล้านบาท ตั้งระหว่างป๊อปปูล่า คอนโด และธนาคารกสิกรไทยสำนักงานใหญ่ เป็นอาคารพาณิชย์ชั้นเดียว 100 ยูนิต และโครงการเอาต์เลต ชั้นล่างของอาคารจอดรถในร่ม 9 ชั้น ลงทุน 600 ล้านบาท พื้นที่ 5,000 ตร.ม. รองรับเอาต์เลตของแบรนด์ดังที่สนใจมาเช่าพื้นที่เพิ่ม โดยในพื้นที่จะมีเอาต์เลตทั้งหมด 30 แบรนด์ แบรนด์ใหม่ๆ ที่จะเข้ามา ได้แก่ ซีเอ็มจี เอาต์เลต, รีบ็อก เอาต์เลต และซุปเปอร์สปอร์ต เอาต์เลต ตั้งเป้าจะสร้างรายได้จากค่าเช่าทั้ง 3 โครงการรวมกัน 200 ล้านบาท
สำหรับสาเหตุที่บีแลนด์เลือกทำไลฟ์สไตล์มอลล์ เนื่องจากไม่เคยทำตลาดค้าปลีกมาก่อน จึงต้องการทำเป็นไลฟ์สไตล์มอลล์ก่อนเพื่อทดลองตลาด หากประสบผลสำเร็จจึงค่อยต่อยอดสร้างห้างสรรพสินค้าในพื้นที่ที่ยังเหลืออยู่ของเมืองทองธานีก็ได้ ส่วนการเลือกทำเลในเมืองทองธานีเพราะดีมานด์อยู่แล้ว
ต้องจับตาก้าวย่างของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ ที่ก้าวรุกธุรกิจค้าปลีกพร้อมความมั่นใจเต็มเปี่ยมว่าจะประสบความสำเร็จในตลาดที่กล่าวได้ว่าเป็นเรดโอเชียนในขณะนี้อยู่อาศัยในพื้นที่ มีความต้องการพื้นที่ค้าปลีกมาก่อนจะก่อสร้าง
นายปีเตอร์ กล่าวว่า ไตรมาสแรกปีหน้า จะเปิดตัวโครงการทาวน์เฮ้าส์ บริเวณที่ดินถนนศรีนครินทร์ที่มีอยู่ ระยะแรก 500 ยูนิต และหลังเปิดตัวแล้วจะมีพื้นที่เหลืออยู่ จะนำมาทำอาคารเชิงพาณิชย์ ซึ่งอาจจะเป็นไลฟ์สไตล์มอลล์อีก เพื่อรองรับความต้องการของคนอยู่อาศัยในพื้นที่ แต่คงต้องพิจารณาอีกครั้ง