ROE : Ratio อันดับ 1 ในดวงใจการวิเคราะห์หุ้น
เวลาเราเข้าสู่โลกการลงทุน จำเป็นที่ต้องเรียนรู้ศัพท์เทคนิคต่างๆ ของเผ่าการลงทุนบ้าง จะได้รู้สึกไม่เคอะเขินและมีความมั่นใจมากขึ้นในการลงทุน วันนี้ผมมีศัพท์อยู่ตัวหนึ่งที่อยากให้ทุกคนรู้จัก คือ “ROE” หรือ “Return on Equity” หรือเรียกว่า “อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น”
เวลาเราเข้าสู่โลกการลงทุน จำเป็นที่ต้องเรียนรู้ศัพท์เทคนิคต่างๆ ของเผ่าการลงทุนบ้าง จะได้รู้สึกไม่เคอะเขินและมีความมั่นใจมากขึ้นในการลงทุน วันนี้ผมมีศัพท์อยู่ตัวหนึ่งที่อยากให้ทุกคนรู้จัก คือ “ROE” หรือ “Return on Equity” หรือเรียกว่า “อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น”
สำหรับผมให้อัตราส่วนนี้เป็นอันดับ 1 ในดวงใจเวลาเริ่มต้นวิเคราะห์หุ้นของบริษัทจดทะเบียน อัตราส่วนนี้คำนวณได้โดยใช้สูตร ROE = (กำไรสุทธิของกิจการ/ส่วนของผู้ถือหุ้น) x 100 ซึ่งอัตราส่วนนี้จะอธิบายว่า เงิน 100 บาทของผู้ถือหุ้นกิจการนำไปสร้างผลตอบแทนเป็นกำไรได้กี่บาท ซึ่งโดยทั่วไปยิ่งสร้างกำไรได้มากก็ยิ่งดี ถือว่ายิ่งคุ้มกับเงิน 100 บาทของเรา
หลักการลงทุนจะสอนว่าเมื่อเราจ่ายเงินซื้อหุ้นมาไม่ว่าจะได้มาจากราคาตลาดเท่าไรก็ตาม เราจะมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจการผ่านมูลค่าเงินส่วนของผู้ถือหุ้น (ซึ่งมาจากสินทรัพย์หนี้สิน ส่วนต่างที่คงเหลือคือส่วนที่เป็นของเจ้าของ) เงินในส่วนนี้มีทั้งส่วนที่เป็นทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระตามราคาพาร์ ส่วนเกินมูลค่าหุ้น และกำไรสะสม ซึ่งทั้ง 3 ส่วนหลักนี้ เมื่อเราถือหุ้นก็ถือว่าเราเป็นเจ้าของ
โดยหลักถ้าเราอยากให้ ROE มีค่ามากและเพิ่มขึ้นมี 2 ทาง คือ ทำให้ตัวเศษ (กำไรสุทธิของกิจการ) เพิ่มขึ้นมากๆ และเร็วกว่าการเพิ่มขึ้นของตัวส่วน (การเพิ่มขึ้นของส่วนของผู้ถือหุ้น) การเพิ่มขึ้นของตัวส่วน ถ้าเพิ่มจากกำไรสะสม ซึ่งมาจากกำไรของกิจการหลังหักเงินปันผลจ่ายแล้ว ถือว่ามาจากฝีมือการดำเนินงาน แต่ถ้ามาจากทุนจดทะเบียนและส่วนเกินมูลค่าหุ้นก็ทำได้ แต่ต้องเอาเงินนี้ไปทำประโยชน์ สร้างกำไรให้เพิ่มเร็วกว่าก็แล้วกัน อย่างไรก็แล้วแต่ เราอยากเอาบริษัทที่ ROE มีค่าสูงและมีแนวโน้มเพิ่มมากๆ เพราะนักลงทุนจะได้มั่นใจว่าบริษัทนั้นเก่งในการบริหารเงินทุนของเราไปสร้างกำไร
เรายังเจาะลึก ROE ได้อีกว่า ค่าที่สูงที่เราอยากได้มีสาเหตุมาจากอะไร หรือการที่บริษัทบางบริษัทมี ROE ต่ำเป็นเพราะอะไร ผมจะขอขยายสูตรการคำนวณ ROE ออกมาดังนี้
บริษัทที่จะมี ROE สูง ควรมีค่า j, kและlสูงด้วย เพราะเป็นผลคูณกัน อยู่ ในองค์ประกอบที่jคือ Net profit Margin หรืออัตรากำไรสุทธิ ซึ่งแสดงถึงประสิทธิภาพการบริหารการขาย ควบคุมค่าใช้จ่ายเพื่อสร้างกำไรว่าทำได้ไหม โดยดูว่ายอดขาย 100 บาท สร้างเป็นกำไรได้กี่บาท ซึ่งยิ่งมากยิ่งดี ส่วนองค์ประกอบที่ kAsset Turnover หรืออัตราการหมุนของสินทรัพย์เพื่อสร้างรายได้ อธิบายว่า สินทรัพย์ 100 บาท สร้างยอดขายได้กี่บาท ซึ่งเราย่อมอยากเห็นมากๆ โดย jกับ kนี้ ช่วยให้เราดูประสิทธิภาพของกิจการได้ลึกขึ้น เช่น บางบริษัททำกำไรแบบ Margin (เทียบกับยอดขาย) ได้ดี แต่ยังใช้สินทรัพย์ให้เกิดประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ และสุดท้ายองค์ประกอบ lบริษัทที่จะมี ROE สูง ควรมีค่า Equity Multiplier สูงด้วย ค่านี้แสดงความคุ้มค่าว่าในเงินที่ลงทุนในสินทรัพย์ทั้งหมดมาจากเงินในส่วนของผู้ถือหุ้นกี่บาท หลักคณิตศาสตร์บอกเราว่าถ้าเราอยากได้ค่า 3 นี้มาก ต้องทำให้ตัวส่วนมีค่าน้อยๆ ซึ่งก็คือ บริษัทที่ลงทุนในสินทรัพย์โดยอาศัยเงินจากหนี้สิน (กู้ยืม) มาก และใช้เงินจากผู้ถือหุ้นน้อย คือ ไม่รบกวนผู้ถือหุ้นมาก และนำสินทรัพย์ไปสร้างรายได้และกำไรได้ดีจะถือว่าเก่ง แต่ก็ต้องระวังด้วย เพราะยิ่งกู้มาก แม้จะดีต่อค่า ROE แต่ภาระหนี้สินและดอกเบี้ยจ่ายก็จะสูง จนทำให้ความเสี่ยงทางการเงินของกิจการสูงขึ้นด้วย
การรู้ค่า ROE อาจใช้เป็นจุดแรกในการเรียนรู้ที่จะคัดกรองหุ้นของบริษัทที่น่าสนใจ อย่างไรก็ดี ต้องศึกษาปัจจัยพื้นฐานในประเด็นอื่นๆ ประกอบด้วย จะได้ตัดสินใจลงทุนได้อย่างมั่นใจ แต่ก็อย่ามัวแต่ศึกษาจนไม่กล้าลงทุนนะครับ เดี๋ยวจะโดนล้อว่านี่แหละต้นฉบับของ “รู้อะไร ไม่สู้ อย่ารู้เยอะ” อิอิ