เรื่องของเวอร์จิ้น (Virgin Story)
เรื่องของเวอร์จิ้นดูจะเก่าสักหน่อย แต่เล่าครั้งใดก็ไม่รู้เบื่อ ด้วยเป็น Case Classic มีอิทธิพลต่อความคิดของหลายคน อีกทั้งยังเป็นแรงบันดาลใจของคนที่เรียนหนังสือไม่เอาถ่าน (แต่เอาเงิน) ขอใครต่อใครมากมาย นับเป็นผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดเลยทีเดียว
เรื่องของเวอร์จิ้นดูจะเก่าสักหน่อย แต่เล่าครั้งใดก็ไม่รู้เบื่อ ด้วยเป็น Case Classic มีอิทธิพลต่อความคิดของหลายคน อีกทั้งยังเป็นแรงบันดาลใจของคนที่เรียนหนังสือไม่เอาถ่าน (แต่เอาเงิน) ขอใครต่อใครมากมาย นับเป็นผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดเลยทีเดียว
เวอร์จิ้นของนาย Richard Branson เป็นธุรกิจที่เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1969 ซึ่งขณะนั้นมีอายุ 17 ปี ธุรกิจของเขาก็คือธุรกิจรับสั่งและส่งแผ่นเสียงทางไปรษณีย์ โดยลงโฆษณาไว้ในนิตยสารของโรงเรียนที่เขาเป็นบรรณาธิการ นิตยสารของ Branson นั้นเป็นที่นิยมมาก เพราะเขาสามารถสัมภาษณ์หรือลงบทความคนดังอยู่เป็นประจำ เช่น นักเขียนชื่อดังอย่างนายเจมส์ บอลด์วิน (James Baldwin) นักจิตวิทยาอย่างนายฌอง พอลซาแตร์ (Jean-Paul Sartre)
ต่อมา นาย Branson สามารถเปิดร้านแผ่นเสียงเวอร์จิ้นเรกคอร์ดส์ (Virgin Records) และเติบโตมาเรื่อยๆ เริ่มจากอังกฤษและขยายไปเพื่อนบ้านใกล้เคียง เมื่อร้านมีขนาดใหญ่ขึ้นก็เพิ่มไลน์ผลิตภัณฑ์ เช่น เทป ซีดี โปสเตอร์และอุปกรณ์เพลงต่างๆ จากนั้นจึงเปลี่ยนชื่อมาเป็น เวอร์จิ้น เมกะสโตร์ (Virgin Mega-store) จนกลายเป็นคู่แข่งสำคัญของ ทาวเวอร์เรกคอร์ดส์ และเอชเอ็มวี ปี ค.ศ. 1992 ได้ขายให้กับค่าย EMI ทำให้ได้เงินมากมายถึง 1,000 ล้านเหรียญ ซึ่งมากเพียงพอต่อการต่อยอดธุรกิจใหม่ของเขา ซึ่งก็คือ สายการบินเวอร์จิ้นที่เปิดบริษัทไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1984
ด้วยความเพี้ยนของ Branson ที่มักจะทำอะไรนอกกฎ แหก แหวกแนว อยู่เสมอๆ การกล้าเผชิญกับยักษ์ใหญ่อย่าง “บริติชแอร์เวย์” (British Airways) ภายใต้ชื่อ เวอร์จิ้น แอตแลนติก แอร์ไลน์ (Virgin Atlantic Airlines) ความแตกต่างที่โดดเด่น คือความประทับใจที่ลูกค้าได้รับ Branson ใช้ทฤษฎีหลักการของการฉีกกฎเกณฑ์หรือที่เรียกว่า “Disruption” สร้างความสนุกสนานปนเปไปกับความสะดวกสบาย การบริการที่ประทับใจสุดยอดนี้
เริ่มจาก Branson ได้นำเสนอสายการบินที่ราคาต่ำกว่าบริติชแอร์เวย์ โดยไม่มีชั้น 1ST class มีแต่ Business Class ที่เทียบเท่ากับ 1st class ของสายการบินอื่นๆ โดยที่ชั้นประหยัด Branson ก็ไม่ให้รู้สึกกระจอกโดยเรียกว่า “Upper Class” และยังเพิ่มที่นั่งให้กว้างขวางขึ้นเหยียดขาได้ไกลกว่าปกติ เรียกว่า “Premium Economy” อาหารบนเครื่องมีมากกว่า 3-4 ชนิด มีบริการเกมสำหรับเด็กๆ อีกทั้งสั่งแอร์บัส A340 รุ่นใหม่รวม 16 ลำ ทำให้ชั้นธุรกิจมีห้องนอนเตียงคู่ ห้องน้ำในตัว ห้องออกกำลังกาย
เขาได้กำหนดให้ตัวเองต้องพูดคุยกับผู้โดยสารที่ลงดินไปแล้วอย่างน้อยเดือนละ 50 คนเพื่อสอบถามความพึงพอใจ Branson นำตนเองออกไปยังทุกสื่อในการทำธุรกิจ เขารู้จักใช้การสื่อสารจนตัวเขาเองกลายเป็น Brand Ambassador ที่มีคนรู้จักโดยไม่ต้องจ้างดาราดังๆ มาเป็นพรีเซนเตอร์ ด้วยเหตุนี้เขาจึงประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในการเป็นผู้บริหารที่ทำให้พนักงานในองค์กรมีสำนึกในการเป็นคนในชุมชนเดียวกันมากที่สุด และทำให้พนักงานรักองค์กรมาก เขาเชื่อว่าถ้าเปลี่ยนงานให้กลายเป็นการผจญภัยที่น่าตื่นเต้น ทุกวันนี้ Branson ยังคงทำหน้าที่เป็นประธานของเวอร์จิ้นกรุ๊ปที่ดูแลพนักงานถึง 3.5 หมื่นคน