ชาวนาขายข้าวสาร

19 ธันวาคม 2557

เป็นอีกแนวคิดหนึ่งในการเพิ่มช่องทางการขายข้าวให้กับชาวนา เมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหกรรม พิจารณาแนวทางจัดตั้ง “โรงสีข้าวขนาดกลาง” ในเขตพื้นที่ที่มีการทำนา

เป็นอีกแนวคิดหนึ่งในการเพิ่มช่องทางการขายข้าวให้กับชาวนา เมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหกรรม พิจารณาแนวทางจัดตั้ง “โรงสีข้าวขนาดกลาง” ในเขตพื้นที่ที่มีการทำนา

พล.อ.ประยุทธ์ ต้องการโรงสีขนาดกลางดังกล่าวทำหน้าที่ให้บริการรับสีแปรสภาพข้าวเปลือกให้แก่ชาวนา เพื่อเพิ่มทางเลือกของชาวนาในการขายข้าวสาร นอกเหนือจากการขายเฉพาะข้าวเปลือกเท่านั้น 

บุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร อธิบดีกรมการค้าภายใน ระบุว่า การสร้างโรงสีขนาดกลางเป็นการเพิ่มทางเลือกในการขายข้าวให้ชาวนา และทำให้เกิดการกระจายตัวของโรงสีไปอยู่ใกล้พื้นที่ปลูกข้าว ซึ่งจะทำให้เกิดความคล่องตัว ตลอดจนลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งข้าวเปลือก

แต่ มานัส กิจประเสริฐ นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย ให้ความเห็นว่า  แนวคิดการจัดตั้งโรงสีขนาดกลางเพื่อให้บริการสีข้าวให้ชาวนานั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ก็จริง แต่ก็มีคำถามว่าจะคุ้มค่าหรือไม่ เนื่องจากปัจจุบันการทำธุรกิจโรงสีเป็นกิจการที่มีการเปิดให้แข่งขันโดยเสรี อีกทั้งปัจจุบันไทยมีโรงสีข้าวที่มีศักยภาพในการสีข้าวมากกว่าผลผลิตต่อปีกว่า 3 เท่าตัว หรือสามารถสีข้าวได้ 80-90 ตัน/ปี จากผลผลิตข้าวเปลือกทั้งประเทศ 30 ล้านตัน/ปี ส่งผลให้โรงสีต้องแย่งซื้อข้าวข้ามจังหวัด

“หากมองในแง่ความคุ้มค่าของการลงทุน โรงสีต้องใช้เงินลงทุน 200-300 ล้านบาท/แห่ง และยังต้องมีเงินทุนหมุนเวียนอีกเป็น 100 ล้านบาท อาจจะไม่คุ้มค่าในแง่การทำธุรกิจ เพราะสุดท้ายแล้วโรงสีต้องเป็นฝ่ายไปไล่ซื้อข้าวจากพื้นที่อื่นๆ ตามกลไกปกติ”

จึงอาจสรุปแนวคิดการเปิดโรงสีขนาดกลางรับสีข้าวให้ชาวนา เพื่อเพิ่มทางเลือกในการขายข้าวสารนั้น ไม่น่าจะคุ้มค่านักหากต้องการทำในเชิงพาณิชย์ ในขณะที่ปัจจุบันไทยมีโรงสีข้าวชุมชนเกือบ 4 หมื่นแห่งทั่วประเทศ และเกือบ 90% อยู่ในสภาพทิ้งร้าง

Thailand Web Stat