ถึงเวลามีที่ปรึกษาจัดพอร์ต

28 เมษายน 2558

ตลาดหลักทรัพย์ไทยจนถึงวันนี้ก็มีอายุ 40 ปีแล้วนะครับ ถ้าเทียบเป็นคนก็นับว่าเป็นวัยฉกรรจ์ กำลังลุยแหลกเลยทีเดียว ขณะที่กองทุนรวมในประเทศไทยเพิ่งจะมาเติบโตมากในช่วงหลังวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 โดยเริ่มจากกองทุนตลาดเงินและกองทุนประเภท Term Fund

ตลาดหลักทรัพย์ไทยจนถึงวันนี้ก็มีอายุ 40 ปีแล้วนะครับ ถ้าเทียบเป็นคนก็นับว่าเป็นวัยฉกรรจ์ กำลังลุยแหลกเลยทีเดียว ขณะที่กองทุนรวมในประเทศไทยเพิ่งจะมาเติบโตมากในช่วงหลังวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 โดยเริ่มจากกองทุนตลาดเงินและกองทุนประเภท Term Fund

ต่อมาก็เริ่มมีกองทุนประเภทที่ลงทุนในต่างประเทศ หรือ FIF ในปี 2545 แต่โชคไม่เข้าข้าง เนื่องจากโลกเข้าสู่วิกฤตเศรษฐกิจอีกครั้งในปี 2551 ทำให้ทั้งกองทุนหุ้นไทยและกองทุนหุ้นต่างประเทศต่างได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง มีเพียงกลุ่มนักลงทุนที่แบ่งเงินลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาวและทองคำเท่านั้น ที่สามารถลดผลกระทบได้จากการกระจายความเสี่ยง แท้จริง แล้วการศึกษาทางวิชาการมากมายต่างก็บอกอยู่แล้วว่า มากกว่า 90% ของผลตอบแทนที่นักลงทุนได้รับนั้นมาจากการจัดสินทรัพย์ลงทุน (Asset Allocation) ไม่ได้มาจากการเลือกลงทุนรายหลักทรัพย์ (Security Selection) แต่กลับยังมีนักลงทุนจำนวนไม่มากนักที่จัดพอร์ตกระจายการลงทุนกันอย่างจริงจัง

จนมาถึงในรอบ 2–3 ปีที่ผ่านมา ภายหลังตลาดหุ้นโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นท่ามกลางสภาพคล่องมหาศาลจากการผ่อนคลายนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ ญี่ปุ่น และยุโรป จึงทำให้ความนิยมในการลงทุนในต่างประเทศกลับมาอีกครั้ง นักลงทุนจำนวนมากได้สั่งสมประสบการณ์ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา และเริ่มปรับเปลี่ยนมุมมองจากการลงทุนเป็นรายผลิตภัณฑ์ ดูกำไรขาดทุนเป็นกองๆ หรือหุ้นเป็นตัวๆ มาเป็นการมองภาพรวมของพอร์ตการลงทุนมากขึ้น

บทบาทของผู้ให้บริการก็เริ่มมีพัฒนาการที่สำคัญเช่นกัน จากเดิมที่นักลงทุนจะเน้นดูว่า “ผู้จัดการกองทุน” ค่ายไหนที่ให้ผลตอบแทนดี ก็เริ่มมาเป็นการมี “ที่ปรึกษาการลงทุน” (Financial Advisor, Investment Planner, Investment Consultant) มาช่วยจัดพอร์ตลงทุนให้กับนักลงทุน มีคำแนะนำออกมาต่อเนื่องว่าแต่ละช่วงควรจัดพอร์ตอย่างไร ไปลงทุนในประเทศไหน สินทรัพย์อะไร มีการสร้างทีมที่ปรึกษาการลงทุนออกไปดูแลลูกค้าในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ให้คำแนะนำจัดพอร์ตลงทุนที่มีทั้งการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงเริ่มใช้เครื่องมือทำ Asset Allocation มากขึ้น เช่น Core/Satellite Approach หรือ Strategic/Tactical Asset Allocation

หากหันไปมองประเทศอย่างอเมริกาที่ตลาดหุ้นหรือกองทุนมีอายุยาวนาน ที่ปรึกษาการลงทุนได้รับความนิยมจากนักลงทุนมากว่า 30 ปีแล้ว ดูง่ายๆ จากจำนวนผู้ที่มีใบอนุญาต CFP หรือ Certified Financial Planner ในสหรัฐ ณ สิ้นปี 2014 มีกว่า 7 หมื่นคน ขณะที่บ้านเรามีเพียง 129 คน อีกทั้งแนวทางให้คำปรึกษาไปไกลถึงเรื่อง Family Office การบริหารความมั่งคั่ง
ให้ทั้งครอบครัว คล้ายๆ กงสีบ้านเรา หรือทำ Multi-Generation Investment ให้คำแนะนำลงทุนข้ามเผื่อไปถึงการตกทอดสู่รุ่นถัดๆ ไป

ผู้เขียนมองว่า อีกไม่กี่ปีจะถึงเวลาของประเทศไทยที่จะได้เห็นบุคลากรและบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนมากขึ้น โดยบริษัทจัดการลงทุนจะเป็นเหมือนโรงงานผลิตสินค้า ขณะที่ Financial Advisor เป็นผู้เลือกสรรสินค้าที่ดีที่สุดในแต่ละประเภทให้ลูกค้า ผลิตภัณฑ์หวังผลในเวลาสั้นๆ จะเริ่มลดความนิยม เช่น กองทุน Term Fund หรือ Trigger Fund โดยนักลงทุนจะมองการลงทุนที่ยาวขึ้น และมองเป็นองค์รวมของพอร์ตการลงทุนมากขึ้น ซึ่งบทบาทที่ปรึกษาการลงทุนจะมีมากขึ้นในการให้คำแนะนำจัดพอร์ตการลงทุนทั้งในและต่างประเทศในหลากหลายชนิดสินทรัพย์ (Global Asset Allocation)

Thailand Web Stat