ความผิดฐานรับของโจรกับฟอกเงิน
คดีเกี่ยวกับรับของโจรและฟอกเงินช่วงนี้มีเพิ่มขึ้นทุกวัน เช่น กรณีการยึดรถ 204 คัน ที่ห้างไอทีสแควร์และคดีเครือข่ายวัดพระธรรมกาย ซึ่งพนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษกำลังจะชี้มูลความผิดฐานฟอกเงินหรือฐานรับของโจร กรณีเงินบริจาคสหกรณ์คลองจั่น 2,000 ล้านบาทเศษ ตามที่เป็นข่าว ผู้อ่านหลายท่านสอบถามมาเกี่ยวกับเรื่องความผิดฐานรับของโจรและฐานฟอกเงิน
คดีเกี่ยวกับรับของโจรและฟอกเงินช่วงนี้มีเพิ่มขึ้นทุกวัน เช่น กรณีการยึดรถ 204 คัน ที่ห้างไอทีสแควร์และคดีเครือข่ายวัดพระธรรมกาย ซึ่งพนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษกำลังจะชี้มูลความผิดฐานฟอกเงินหรือฐานรับของโจร กรณีเงินบริจาคสหกรณ์คลองจั่น 2,000 ล้านบาทเศษ ตามที่เป็นข่าว ผู้อ่านหลายท่านสอบถามมาเกี่ยวกับเรื่องความผิดฐานรับของโจรและฐานฟอกเงิน
ความแตกต่างระหว่างความผิดฐานรับของโจรกับความผิดฐานฟอกเงิน คือ
1.ความผิดฐานรับของโจร ต้องเป็นความผิด 9 ฐาน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 ส่วนฟอกเงินต้องเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายฟอกเงิน
2.บทลงโทษ ความผิดฐานฟอกเงิน ตามมาตรา 60 จำคุกหนึ่งปีถึงสิบปี ปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนความผิดฐานรับของโจรมีโทษจำคุก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 จำคุกไม่เกินห้าปี ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าทำเพื่อการค้า โทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี ปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงสองหมื่นบาท
ผมจึงขอนำเสนอเป็นรายประเด็นดังนี้ เพื่อประโยชน์ของประชาชน
1.ความผิดฐานรับของโจร
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำหรือรับไว้โดยประการใดซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิด ถ้าความผิดนั้นเข้าลักษณะลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอก หรือเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานรับของโจร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำความผิดฐานรับของโจรนั้น ได้กระทำเพื่อค้ากำไรหรือได้กระทำต่อทรัพย์อันได้มาโดยการลักทรัพย์ตามมาตรา 335 (10) ชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงสองหมื่นบาท
ถ้าการกระทำความผิดฐานรับของโจรนั้น ได้กระทำต่อทรัพย์อันได้มาโดยการลักทรัพย์ตามมาตรา 335 ทวิ การชิงทรัพย์ตามมาตรา 339 ทวิ หรือการปล้นทรัพย์ตามมาตรา 340 ทวิ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสามหมื่นบาท
2.ความผิดฐานฟอกเงิน
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542
มาตรา 5, มาตรา 6, มาตรา 7, มาตรา 8, มาตรา 9, มาตรา 10, มาตรา 11
มาตรา 5 ผู้ใด
(1) โอน รับโอน หรือเปลี่ยนสภาพทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดเพื่อซุกซ่อนหรือปกปิดแหล่งที่มาของทรัพย์สินนั้น หรือเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นไม่ว่าก่อน ขณะหรือหลังการกระทำความผิด มิให้ต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลงในความผิดมูลฐาน หรือ
(2) กระทำด้วยประการใดๆ เพื่อปกปิดหรืออำพรางลักษณะที่แท้จริงการได้มาแหล่งที่ตั้ง การจำหน่าย การโอน การได้สิทธิใดๆ ซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด
(3) ได้มา ครอบครอง หรือใช้ทรัพย์สิน โดยรู้ในขณะที่ได้มา ครอบครอง หรือใช้ทรัพย์สินนั้นว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด
ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฟอกเงิน
3.ตัวอย่างฎีกา
1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9620/2551ความผิดฐานรับของโจรนั้น จะเกิดเป็นความผิดขึ้นในขณะที่จำเลยที่ 2 ได้รับทรัพย์นั้นไว้โดยรู้อยู่ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากกระทำผิด ไม่ใช่ว่าจำเลยที่ 2 ครอบครองทรัพย์นั้นอยู่แล้ว จำเลยที่ 2 ต้องนำสืบแก้ตัวว่าตนไม่รู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิด เมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ความว่า ขณะที่จำเลยที่ 1 รับรถจักรยานยนต์ของกลางไว้โดยรู้อยู่ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานรับของโจรนั้น จำเลยที่ 2 กระทำการใดหรือมีพฤติการณ์อย่างใดที่เป็นการรู้เห็นเป็นใจร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 แม้ผู้เสียหายพยานโจทก์เบิกความยืนยันเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยที่ 2 ว่า ภายหลังจากที่รถจักรยานยนต์ถูกคนร้ายลักไป ผู้เสียหายเห็นจำเลยที่ 2 ครอบครองขับขี่รถจักรยานยนต์ของกลางอยู่ ก็ไม่ปรากฏพฤติการณ์ที่แสดงว่าจำเลยที่ 2 ครอบครองรถจักรยานยนต์ของกลางโดยรู้ว่าเป็นรถจักรยานยนต์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์การกระทำของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวเท่าที่โจทก์นำสืบมาไม่พอฟังลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานรับของโจรรถจักรยานยนต์ของกลางร่วมกับจำเลยที่ 1 ได้
2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2923/2549, 2723/2544, 5433/2543,129/2535
ในคดีความผิดฐานรับของโจรนั้น โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นว่าจำเลยรับจำนำรถจักรยานยนต์ของกลางไว้ โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ไม่ใช่ว่าเมื่อจำเลยเป็นผู้ครอบครองรถจักรยานยนต์ของกลางแล้ว จำเลยต้องนำสืบแก้ตัวว่าตนไม่รู้ว่าเป็นของที่ได้มาจากการกระทำความผิด
3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2716/2554 (ผู้เช่าซื้อผ่อนค่างวดไม่ไหว แบ่งเบาภาระตัวเอง โอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้กับบุคคลอื่นผ่อนต่อในนามผู้เช่าซื้อเดิม ไม่ผิดยักยอกทรัพย์ เมื่อไม่ผิดยักยอกทรัพย์
ผู้ซื้อสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ ก็ไม่ผิดฐานรับของโจร)
การพิสูจน์ว่าผู้ที่ได้ทรัพย์มารู้หรือไม่ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดทางอาญา ดูจากพฤติการณ์ในการได้รับทรัพย์สินมาโดยไม่มีมูลหนี้ หรือได้มาแบบให้เปล่า หรือราคาถูกกว่าท้องตลาด ก็น่าจะพอแล้วครับ