ชงผุดรถไฟฟ้าเมืองโคราช 5 เส้นทางค่าโดยสาร25บาทตลอดสาย
โคราชเฮ! สนขชงแผนลงทุน 3.26 หมื่นล้านผุดรถไฟฟ้า 5 เส้นทาง เคาะค่าโดยสาร 25 บาทตลอดสาย
โคราชเฮ! สนขชงแผนลงทุน 3.26 หมื่นล้านผุดรถไฟฟ้า 5 เส้นทาง เคาะค่าโดยสาร 25 บาทตลอดสาย
นางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า สนข.ดำเนินการศึกษาแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมาเพื่อแก้ปัญหาจราจรและส่งเสริมการพัฒนาเมืองให้สอดรับกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเฟส 1 ช่วงกรุงเทพ-โคราช วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท ซึ่งจังหวัดนครราชสีมา เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพ มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ สังคม และการท่องเที่ยวรวมถึงเป็นประตูไปสู่ภาคอีสานอีกด้วย ซึ่งที่ผ่านมา สนข. ได้ลงพื้นที่จัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) เพื่อหารือหรือพบปะกับกลุ่มผู้นำชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 12 ครั้ง และได้มีการจัดสัมมนาเพื่อระดมความคิดเห็นไปแล้ว จำนวน 2 ครั้ง
นางวิไลรัตน์ กล่าวต่อว่าสำหรับผลการศึกษาแผนแม่บทของจังหวัดนครราชสีมาพบว่า ระบบที่เหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในการนำมาใช้คือ ระบบไฟฟ้ารางเบา LRT หรือ Light Rail Transit System ซึ่งจะเป็นระบบหลัก และมีระบบรถโดยสาร (Bus Technology) เป็นระบบรอง
รถไฟฟ้าระยะที่ 1 (เฟส1) วงเงินลงทุน 14,100 ล้านบาท ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม วงเงิน ระยะทาง 11.17 กิโลเมตร จำนวน 18 สถานี เส้นทางเริ่มจากตลาดเซฟวัน – ถนนมุขมนตรี – สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์
รถไฟฟ้าสายสีส้มเข้ม ระยะทาง 9.81 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี เส้นทางเริ่มจากแยกประโดก - ถนนช้างเผือก – คูเมืองเก่า
จากนั้นเป็นการลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้าระยะที่ 2 (เฟส2) วงเงิน 4,900 ล้านบาท
รถไฟฟ้าสายสีม่วงเข้ม ระยะทาง 11.92 กิโลเมตร จำนวน 9 สถานี เส้นทางเริ่มจากตลาดเซฟวัน - ถนนมิตรภาพ – สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์
การก่อสร้างระยะที่ 3 (เฟส 3 ) ใช้วงเงินลงทุน 13,600 ล้านบาท ได้แก่
รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อนระยะทาง 12.12 กิโลเมตร จำนวน 13 สถานี เส้นทางเริ่มจากสถานีทดลองการใช้น้ำชลประทานที่ 3 (ห้วยบ้านยาง) – ตลาดเซฟวัน และสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ บ้านนารีสวัสดิ์ - สำนักงานขนส่งจังหวัดนครราชสีมา สาขา 2
รถไฟฟ้าสายสีส้มอ่อน โฮม ระยะทาง 5.37 กิโลเมตร จำนวน 4 สถานีเส้นทางเริ่มจากโรงเรียนเทศบาล 1 - หัวทะเล – ดูและสายสีม่วงอ่อน ระยะทาง 4.48 กิโลเมตร จำนวน 3 สถานี เส้นทางเริ่มจากมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล – แยกจอหอ – ค่ายสุรนารายณ์ โดยจากการศึกษาเบื้องต้นพบว่าค่าโดยสารที่เหมาะสมอยู่ที่ราว 15-25 บาท ตลอดสาย
อย่างไรก็ตามคาดว่าสถาบันที่เป็นที่ปรึกษาจะสามารถส่งแผนแม่บทฉบับสมบูรณ์กลับมาที่สนข.ได้เร็วๆน้ ก่อนจะเสนอเข้าสู่กระทรวงคมนาคมในเดือนส.ค.นี้เพื่อเสนอให้คณะที่ประชุมรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาเห็นชอบต่อไป ทั้งนี้การพัฒนารูปแบบการให้บริการที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนมีบทบาทที่สำคัญต่อการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการจราจรและขนส่งของพื้นที่เป็นอย่างมาก รวมทั้งส่งเสริมการเดินทางของประชาชนในพื้นที่ให้มีความสะดวกสบาย มีความปลอดภัยในการเดินทาง ช่วยให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน เกิดความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น