ฉนวนกันความร้อน เรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
อรวรรณ จารุวัฒนะถาวรประเทศไทยเป็นเมืองร้อน เมื่อความร้อนจากภายนอกทะลุเข้ามาภายในบ้าน ทำให้หลายๆ บ้านต้องพึ่งเครื่องปรับอากาศและหากใช้งานหนักแน่นอนค่าไฟย่อมพุ่งสูงขึ้น ซึ่งจริงๆ แล้วการลดและป้องกันความร้อนที่จะเข้ามาในบ้านทำได้ตั้งแต่การออกแบบสร้างบ้านกันเลยทีเดียวคือสร้างให้ถูกทิศทางลมและแสงแดด รวมทั้งการเลือกใช้วัสดุที่มีค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อนต่ำ (ค่า K) และที่ช่วยได้มากคือการบุฉนวนกันความร้อน
อรวรรณ จารุวัฒนะถาวร
ประเทศไทยเป็นเมืองร้อน เมื่อความร้อนจากภายนอกทะลุเข้ามาภายในบ้าน ทำให้หลายๆ บ้านต้องพึ่งเครื่องปรับอากาศและหากใช้งานหนักแน่นอนค่าไฟย่อมพุ่งสูงขึ้น ซึ่งจริงๆ แล้วการลดและป้องกันความร้อนที่จะเข้ามาในบ้านทำได้ตั้งแต่การออกแบบสร้างบ้านกันเลยทีเดียวคือสร้างให้ถูกทิศทางลมและแสงแดด รวมทั้งการเลือกใช้วัสดุที่มีค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อนต่ำ (ค่า K) และที่ช่วยได้มากคือการบุฉนวนกันความร้อน
ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ฉนวนกันความร้อนมีมากมายโดยสิ่งที่แตกต่างกันก็คือคุณสมบัติในการกันความร้อน อย่างเช่นฉนวนกันความร้อนเคลือบด้วยอะลูมิเนียมฟอยล์ติดตั้งใต้หลังคา "แอร์โร-รูฟ" นวัตกรรมใหม่จาก บริษัท แอร์โรเฟลกซ์ ซึ่งเป็นยางสังเคราะห์ชนิดพิเศษมีน้ำหนักเบา เป็นโครงสร้างชนิดเซลล์ปิด (Closed Cell) นอกจากป้องกันความร้อนจากหลังคาเข้าสู่ตัวอาคารแล้ว ยังผสมสารกันไฟและเป็นวัสดุประเภท Thermosetting ไม่ลามไฟและไม่หลอมเหลวเมื่อถูกความร้อนหรือเปลวไฟซึ่งปลอดภัยตามมาตรฐานสากล
นอกจากนี้ ยังไม่มีกลิ่น ไม่เป็นฝุ่นผง หรือแตกหัก ไม่ก่อปัญหาการแพ้จนเกิดอาการคันหรือมีผลต่อสุขภาพ มีค่าการดูดซึมน้ำต่ำ แม้หลังคารั่ว น้ำฝนก็ไม่ทำให้ฉนวนเสื่อมสภาพ ช่วยเพิ่มความสว่างในอาคาร มีความยืดหยุ่นสูง สามารถโค้งงอไปตามหลังคาได้ง่ายทำให้ติดตั้งได้สะดวก รวดเร็วและติดตั้งได้เอง เป็นต้น
ขณะที่ฉนวนกันความร้อนที่จำหน่ายในท้องตลาดจะมีด้วยกันหลายประเภทไม่ว่าจะเป็น โพลีเอทิลีนโฟม ใยแก้ว ใยหิน เยื่อกระดาษ เซลลูโลส และยางอิลาสโตเมอร์ แต่ถ้าแบ่งตามโครงสร้างจะได้ 2 ประเภทหลักนั่นก็คือ
1.ฉนวนใยแก้ว (Fiberglass) เป็นฉนวนที่มีโครงสร้างชนิดเซลล์เปิด (Open Cell) มีลักษณะเป็นเส้นใยทับกันไปมาทำให้ฉนวนใยแก้วดูดซึมน้ำและความชื้นในบรรยากาศได้มากที่สุด ฉนวนชนิดนี้จึงต้องมีวัสดุปิดผิวฉนวนเพื่อป้องกันการดูดซึมน้ำและความชื้น แต่ฉนวนใยแก้วโดยทั่วไปมักเลือกใช้วัสดุปิดผิวที่มีคุณภาพต่ำจึงทำให้มีอายุการใช้งานสั้น อมน้ำ ขึ้นรา มีกลิ่นและเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค
2.ฉนวน (PU/PE Foam) เป็นฉนวนที่มีโครงสร้างเซลล์ชนิดกึ่งเปิดกึ่งปิด (Semi Open Cell) ทำให้มีค่าการดูดซึมน้ำและความชื้นสูง ฉนวน PE Foam เป็นวัสดุที่ทำจาก Thermoplastic ทำให้เมื่อถูกความร้อนหรือเปลวไฟจะหลอมละลายกลายเป็นหยดไฟ ฉนวน PE Foam หากเกิดเพลิงไหม้จะมีควันมากและเป็นก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์ที่ทำให้ผู้อยู่อาศัยเสียชีวิตโดยเฉียบพลัน
ทั้งนี้ บางท่านคิดว่าการแปะฟอยล์บางๆ บนหลังคา คือการบุฉนวนแล้วนั้นเป็นความเข้าใจผิดอย่างมากเพราะหากฟอยล์สามารถกันความร้อนได้ เราคงไม่รู้สึกร้อนเวลาสัมผัสกับอาหารที่หุ้มฟอยล์ที่ย่างหรืออบเสร็จใหม่ๆ ซึ่งในความเป็นจริงคือ ฟอยล์จะทำหน้าที่สะท้อนรังสีความร้อนออกไปแต่ฟอยล์ก็ผลิตจากโลหะซึ่งสามารถนำความร้อนได้ดีมาก ดังนั้นจะหวังพึ่งฟอยล์ตัวเดียวไม่ได้ต้องใช้ร่วมกับฉนวนชนิดอื่นๆ ด้วย
ฉนวนกันความร้อน นับว่าเป็นตัวแปรสำคัญอีกประการที่จะช่วยลดอัตราการใช้พลังงาน ลดความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านแล้วยังสามารถลดเสียงรบกวนได้อีกด้วย โดยปัจจุบันนอกจากสินค้ามีให้เลือกมากมายแล้วราคาก็ถูกลงมามากผู้บริโภคเข้าถึงสินค้าได้ง่ายขึ้น สำหรับผู้ที่กำลังคิดจะติดตั้งมีข้อแนะในเบื้องต้น ซึ่งก่อนอื่นต้องทราบกันก่อนว่า ฉนวนกันความร้อนนอกจากจะแบ่งตามโครงสร้างแล้วยังแบ่งลักษณะสำหรับการติดตั้งด้วยส่วนใหญ่มี 2 ประเภทคือ ฉนวนกันความร้อนแบบแผ่น และฉนวนกันความร้อนแบบพ่น ซึ่งแต่ละประเภทมีลักษณะแตกต่างกันไปดังนี้
ฉนวนกันความร้อนแบบแผ่น อาจเรียกได้ว่าเป็นฉนวนกันความร้อนสำเร็จรูป มีลักษณะเป็นแผ่น หรือเป็นม้วน แบ่งออกเป็น 4 ชนิดตามวัสดุ คือ อะลูมิเนียมฟอยล์ โพลีเอทิลีนโฟม หรือโฟม PE, Air Bubble, และใยแก้ว ส่วนฉนวนกันความร้อนแบบพ่น เป็นฉนวนกันความร้อนที่ต้องมาพ่นลงบนพื้นผิว เช่น หลังคา ผนัง หรือฝ้าเพดาน โดยจะต้องจ้างบริษัทที่ให้บริการพ่นฉนวนกันความร้อนมาให้บริการ ซึ่งฉนวนกันความร้อนแบบพ่นนี้ แบ่งออกเป็น 3 ชนิดตามวัสดุ คือ สีสะท้อนความร้อน โพลียูริเทนโฟม หรือโฟม PU และเยื่อกระดาษ
ในเรื่องของการติดตั้ง ฉนวนกันความร้อนแบบแผ่น สามารถหาซื้อมาติดตั้งเองได้ง่าย โดยการติดตั้งสามารถติดตั้งได้ทั้งปูบนฝ้าเพดาน ติดในโครงผนังเบา ติดบนแป หรือติดใต้จันทัน ซึ่งหากติดบนแปหรือใต้จันทันจะต้องขึงลวดเพื่อป้องกันไม่ให้ตัวฉนวนห้อยแอ่นตกท้องช้าง ในขณะที่ฉนวนกันความร้อนแบบพ่น การติดตั้งจะยุ่งยากกว่า เนื่องจากจะต้องจ้างบริษัทที่เชี่ยวชาญโดยเฉพาะมาพ่น และจะต้องทำการคลุมพื้นที่เพื่อป้องกันละอองของโฟม หรือสีที่จะฟุ้งไปติดตามส่วนต่างๆ ของบ้าน และหากเปรียบเทียบราคาแล้วฉนวนกันความร้อนแบบพ่นจะมีราคาที่สูงกว่า
นอกจากนี้สิ่งที่ควรพิจารณาหลักๆ ในการเลือกใช้ฉนวนนั่นก็คือ
1.ค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อน (K) และค่าความต้านทานความร้อน (R) สูง ซึ่งค่าดังกล่าวไม่ควรมีการเปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุดตลอดระยะเวลาใช้งาน
2.โครงสร้างฉนวน จะเป็นตัวบ่งบอกว่าฉนวนมีการดูดซึมน้ำและความชื้นได้ง่ายหรือไม่และหากใช้งานไปนานๆ จะยุบตัวหรือไม่ ซึ่งน้ำและการยุบตัวจะส่งผลให้ค่า K และ R แย่ลงในแง่ความเป็นฉนวน
3.ควรคำนึงถึงความปลอดภัย เช่น เกิดฝุ่นเป็นอันตรายหรือเป็นเชื้อราหรือไม่ เป็นแหล่งที่พักอาศัยของสัตว์รบกวนได้หรือไม่ และหากเกิดอัคคีภัยจะเป็นอันตรายมากน้อยเพียงใด รวมไปถึงอายุการใช้งาน และการซ่อมบำรุงไว้ด้วย
ถึงตรงนี้พอจะทราบกันแล้วว่าฉนวนกันความร้อนมีข้อดีที่ไม่ควรมองข้ามอย่างไร และเพื่อให้ฉนวนอยู่กับบ้านเราไปนานๆ ก็เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานสากลซึ่งในตลาดมีให้เลือกอยู่หลายแบรนด์ อย่าเป็นประเภทที่ว่า "เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย"