posttoday

DITP ชูธงพัฒนาโลจิสติกส์ ขับเคลื่อนการค้าสู่ยุคดิจิทัล

30 สิงหาคม 2560

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จัดการสัมมนาระดับนานาชาติ "Symposium 2017" ภายใต้หัวข้อ "กลยุทธ์สู่ความมั่งคั่งและยั่งยืนในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล (A Roadmap to Sustainable Growth in Digital Connectivity Era)" ขึ้นภายในงาน TILOG-LOGISTIX 2017 เพื่อเป็นเวทีเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนไทย รวมถึงประเทศสมาชิกในภูมิภาคอาเซียน+6 รองรับการเปลี่ยนแปลงของบริบทด้านการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ โดยเฉพาะเศรษฐกิจยุคดิจิทัล ที่ส่งผลถึงผู้ประกอบการไทยในทุกภาคธุรกิจ

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จัดการสัมมนาระดับนานาชาติ "Symposium 2017" ภายใต้หัวข้อ "กลยุทธ์สู่ความมั่งคั่งและยั่งยืนในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล (A Roadmap to Sustainable Growth in Digital Connectivity Era)" ขึ้นภายในงาน TILOG-LOGISTIX 2017 เพื่อเป็นเวทีเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนไทย รวมถึงประเทศสมาชิกในภูมิภาคอาเซียน+6 รองรับการเปลี่ยนแปลงของบริบทด้านการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ โดยเฉพาะเศรษฐกิจยุคดิจิทัล ที่ส่งผลถึงผู้ประกอบการไทยในทุกภาคธุรกิจ

วรรณภรณ์ เกตุทัต รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ประธานในการจัดสัมมนา กล่าวว่า ปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี และศักยภาพด้านโลจิสติกส์ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อภาคการค้าในปัจจุบัน การเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานที่ดีจะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจยุคดิจิทัลอย่างสมบูรณ์แบบ การจัดงาน Symposium 2017 ครั้งนี้ จึงเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้ประเทศสมาชิกได้มาแบ่งปันข้อมูลระหว่างกัน โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์การค้าจากองค์กรชั้นนำในภูมิภาคอาเซียน+6 และระดับโลกมาแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดเห็นซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนาศักยภาพด้านโลจิสติกส์การค้า เชื่อมโยงเครือข่ายในภูมิภาค พร้อมเดินหน้าสร้างความมั่งคั่งและยั่งยืนในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลไปด้วยกัน

เจ้าหู่เซี๋ยง ประธานสมาพันธ์สมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (FIATA) และรองประธาน ไชน่า เมอร์ชานท์ กรุ๊ป กลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่ด้านการลงทุนและโครงสร้าง โลจิสติกส์ของจีน เผยถึงแผนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศจีน ซึ่งมุ่งเน้นการลงทุนด้านการขนส่ง ต่อเนื่องหลากหลายรูปแบบ ทั้งทางน้ำ ทางภาคพื้นดิน ทางอากาศ รวมถึงการลงทุนด้านดิจิทัลเทคโนโลยี เพื่อยกระดับการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานทั้งระบบ พร้อมตั้งเป้าหมายบูรณาการและเชื่อมโยงเส้นทางโลจิสติกส์ภายในประเทศและระหว่างประเทศอย่างแข็งแกร่ง

หนึ่งในโครงการสำคัญที่รัฐบาลจีนเดินหน้าอย่างเป็นรูปธรรม คือ เส้นทางสายไหม ภายใต้นโยบาย "One Belt One Road" ซึ่งเริ่มดำเนินการในปี 2559 และปัจจุบันมีภาคเอกชนจีนตอบรับการลงทุนภาคอุตสาหกรรมบนเส้นทางนี้กว่า 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นการลงทุนภายในภูมิภาคอาเซียนถึง 62% หรือมีมูลค่าประมาณ 9,000 ล้านดอลลาร์

"จีนวางเป้าหมายการเชื่อมโยงเส้นทางการค้ากับอาเซียนและทั่วโลก ผ่านการพัฒนาระบบขนส่งทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางเรือ ทางถนน ทางราง ทางอากาศ ซึ่งอาเซียนถือเป็นตลาดการค้าหลักของจีนที่ต้องมีการประสานเส้นทางคมนาคมเพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่ง รวมทั้งต่อยอดการขนส่งจากอาเซียนเชื่อมโยงไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก" เจ้าหู่เซี๋ยง กล่าว

ด้าน เกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์ นายกสมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (TIFFA) และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ กรุ๊ป กล่าวถึงแนวคิดการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล โดยมองว่าบุคลากรถือเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจให้ประสบความสำเร็จและเติบโตอย่างยั่งยืน ทางสมาคมจึงร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จัดหลักสูตรการศึกษาด้านโลจิสติกส์การค้า เพื่อส่งเสริมการ พัฒนาทรัพยากรบุคคลในสายงาน โลจิสติกส์และซัพพลายเชนสำหรับรองรับการเติบโตของธุรกิจโลจิสติกส์ทุกรูปแบบ ทั้งยังขยายขอบเขตความร่วมมือกับบริษัทต่างๆ และสมาชิกของสมาคม TIFFA ในการสนับสนุนทุนการศึกษาและรับนักศึกษาในหลักสูตรเข้าฝึกงานและทำงานสร้างรายได้ระหว่างเรียนและหลังสำเร็จการศึกษา นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการกระจายแรงงานด้านโลจิสติกส์ที่มีคุณภาพไปปฏิบัติงานในเขตการค้าทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย เพื่อยกระดับการทำงานในจุดที่มีสินค้าผ่านแดนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

เรมอน กฤษณัน ประธานชมรมผู้บริหารโลจิสติกส์และซัพพลายเชน (LSCMS) ประเทศสิงคโปร์ กล่าวว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 ทำให้เทคโนโลยีเข้ามามีอิทธิพลในธุรกิจ โลจิสติกส์มากขึ้น ช่วยให้การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกันรวดเร็วและลดต้นทุนในการขนส่ง ผู้ประกอบการจึงต้องปรับตัวให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีทำงานร่วมกันเป็นห่วงโซอุปทาน เพื่อเชื่อมโยงการค้าระหว่างกัน ช่วยสร้างความแข็งแกร่งและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน

เทจ มัยยูร์ คอนแทรกเตอร์ กรรมการบริหารสมาคมผู้รับจัดการขนส่งระหว่างประเทศแห่งอินเดีย (FFFAI) เปิดเผยว่า อี-คอมเมิร์ซเป็นเครื่องมือสำคัญทางการค้าและโลจิส ติกส์ในปัจจุบัน ที่นำมาใช้ทั้งในระบบการสั่งซื้อ การบริหารคลังสินค้า การบรรจุสินค้า และการขนส่ง อันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการ SMEs และ Start up ที่นำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นระบบ สามารถขนส่งได้รวดเร็ว และลดอัตราการคืนสินค้าเนื่องจากการจัดส่งที่ล่าช้า เป็นประโยชน์ต่อทั้ง ผู้ผลิต ผู้ซื้อ และผู้ขาย

สำหรับในช่วงเสวนาซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญจากธุรกิจสาขาต่างๆ มาแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ในการเพิ่มการอำนวยความสะดวกทางการค้าและระบบโลจิสติกส์ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งแต่ละประเทศในภูมิภาคอาเซียนต่างเร่งพัฒนาและปรับปรุงข้อกฎหมายด้าน โลจิสติกส์เพื่อเร่งผลักดันการส่งออกเพื่อสร้างรายได้เข้าประเทศ n