2561 โบรกเกอร์แข่งเดือด

01 พฤศจิกายน 2560

บงกชรัตน์ สร้อยทองปี 2561 การแข่งขันในธุรกิจบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) จะดุเดือดจนต้องน่าติดตามอย่างใกล้ชิดผลจาก "เทคโนโลยี" และ "นวัตกรรม" คืบคลานเข้ามาในทุกอุตสาหกรรม

บงกชรัตน์ สร้อยทอง

ปี 2561 การแข่งขันในธุรกิจบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) จะดุเดือดจนต้องน่าติดตามอย่างใกล้ชิดผลจาก "เทคโนโลยี" และ "นวัตกรรม" คืบคลานเข้ามาในทุกอุตสาหกรรม

วงการโบรกเกอร์ไทยอยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่าน หลังจากเปิดการแข่งขันอย่างเสรี และชัดเจนว่าแต่ละโบรกเกอร์กำลังหา "จุดยืนให้ตัวเอง" เนื่องจากเริ่มเห็นโบรกเกอร์ต่างประเทศได้เข้ามา ทำธุรกิจมากขึ้น โดยเฉพาะจากญี่ปุ่น อย่าง บล.จีเอ็มโอ-แซด คอม (ประเทศไทย)

"ภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ ในฐานะนายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ กล่าวว่า การแข่งขันจะ ไม่รุนแรงถึงขั้นที่ต้องลดค่าธรรมเนียมนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ (คอมมิชชั่น) ไปถึงระดับ 0% ที่ได้รับฟังมาคือจะมีการ คิดค่าคอมมิชชั่นเป็นขั้นตอน อีกทั้งถ้าจะเข้ามาในอุตสาหกรรมมาชิงเค้กก้อนเดียวกันแล้วทำให้ทั้งระบบเสียหาย บริษัท จะอยู่ไม่ได้ในระยะยาว ซึ่งปัจจุบันค่าคอมมิชชั่นเฉลี่ยที่ 0.13% ทั้งนี้ควรเข้ามา เพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมหรือทำให้นักลงทุนมีเครื่องมือในการลงทุนที่ดี จึงจะ ทำให้ธุรกิจยั่งยืน

"ภัทธีรา" กล่าวว่า การแข่งขันจะ มาในรูปแบบใหม่ หลังจากมีนวัตกรรม เข้ามาช่วย สุดท้ายจะวิ่งสู่ "การบริการ" สิ่งสำคัญ คือ จะเปลี่ยนแปลงได้ทันโลก ที่เปลี่ยนไปหรือไม่ "การเเข่งขันไม่สำคัญ เท่ากับการปรับตัวเองให้ได้เพราะถ้าปรับตัวไม่ได้ ต่อให้ไม่มีการแข่งขัน ก็ไม่ สามารถอยู่ในอุตสาหกรรมนี้ได้"

ทั้งนี้ บล.ยังต้องเผชิญกับกฎเกณฑ์การเปลี่ยนแปลงระดับโลกที่จะมีผลต่อการบังคับหรือการทำธุรกิจ เช่น ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2561 เป็นต้นไป สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ของยุโรป หรือ MIFID จะให้แยกค่าธรรมเนียมระหว่างค่าส่งคีย์คำสั่งซื้อขายหุ้นค่า คำแนะนำ และค่าธรรมเนียมการใช้ บทวิจัยให้ชัดเจน ซึ่งเป็นความเข้มข้น เรื่องธรรมาภิบาล (ซีจี)

ส่งผลให้โบรกเกอร์ที่ไม่ได้ทำบทวิจัยอาจมีรายได้ค่านายหน้าซื้อขาย หลักทรัพย์ลดลง เพราะปัจจุบันสถาบัน ต่างประเทศต่อท่อตรงกับโบรกเกอร์ มากขึ้นเนื่องจากส่วนใหญ่จะใช้โปรแกรมซื้อขายหุ้นแบบอัตโนมัติเป็นหลัก โดยค่าคอมมิชชั่นสำหรับสถาบันต่างประเทศที่ต่อท่อตรงน่าจะอยู่ประมาณ 0.10%

"ภัทธีรา" ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) มีมุมมองว่า ปีนี้บริษัทเปิดแอพพลิเคชั่น แต่ปีหน้าจะเน้นพัฒนาพนักงานในองค์กร เช่น การมีเครื่องมือหรือตัวช่วยให้ เจ้าหน้าที่แนะนำการลงทุน (IC) ให้ คำแนะนำลูกค้าอย่างครบเครื่องมากขึ้น รวมถึงการทำโปรโมชั่นที่หลากหลาย มากขึ้นอย่างให้คอร์สอบรมเทรนนิ่งกับ ลูกค้า

ในขณะที่ในวงการตลาดทุนจากที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ได้ลงทุนทำโครงสร้างพื้นฐานตั้งตัวกลางชำระเงินด้านตลาดทุน (FINNET) ซึ่ง คาดว่าจะเริ่มใช้กับบัญชีอัตโนมัติ (ATS) ในบัญชีประเภทเงินสดของ บล.เพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถเชื่อมต่อและอำนวยความสะดวกในการชำระเงิน เพราะจะช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานของ บล.

"ไพบูลย์ นลินทรางกูร" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.ทิสโก้ กล่าวว่า ปีหน้าจะเห็นโบรกเกอร์ 2 ประเภทชัดเจนว่าจะแข่งขันทางด้านราคา หรือจะเป็นโบรกเกอร์ที่เน้นทางด้านบริการ ส่วนโบรกเกอร์ที่ยังไม่มีจุดขาย ชัดเจน จะอยู่ยากขึ้น

ทั้งนี้ หากเป็น บล.ที่เน้นเรื่องค่าคอมมิชชั่นก็ลงทุนระบบอินเทอร์เน็ต กลุ่มที่เน้นบริการก็ต้องทำให้ดีไปเลยอย่าง บล.ภัทร

บล.ทิสโก้ เน้นการแข่งขันทางบริการ ส่วนเรื่องเกณฑ์ของ MIFID มี การปรับปรุงและเริ่มดำเนินการกับลูกค้าที่เป็นทางยุโรป ซึ่งพาร์ตเนอร์บริษัท คือ ดอยช์แบงก์ ก็มีการปรับและเริ่มใช้ โดยชัดเจนว่าดอยช์แบงก์ต้องการอะไรบ้าง ซึ่งฝ่ายวิจัยส่งบทวิจัยไปยังต่างประเทศแล้ว

"ค่าคอมมิชชั่นของกลุ่มลูกค้าสถาบันต่างประเทศจะไม่ได้มีการจ่ายเหมือนเดิม เพราะจากที่เคยได้ 0.20% โดย 0.10% จะมาจากการที่ต่อเข้าระบบการซื้อขายโดยตรง แต่อีก 0.10% ก็จะ มาจากการคิดเป็นค่าบทวิจัยหรือคำแนะนำ มาในรูปตัวเงินไปเลย ซึ่งก็ยังมั่นใจว่าทิสโก้จะอยู่ในอันดับ 5 ของโบรกเกอร์ที่ เป็นสถาบันต่างประเทศ เพราะส่วนใหญ่ ลูกค้าต้องการบริการรวมไว้ที่เดียว" ไพบูลย์ กล่าว

Thailand Web Stat