รู้จักกับลักษณะสัญญาของ Options
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ทราบถึงความแตกต่างของการลงทุนในหุ้นและ Options ไปแล้ว สัปดาห์นี้เราจะมาคุยกันถึงลักษณะของสัญญา Options ที่ผู้ลงทุนจะต้องทำความคุ้นเคยกันก่อน สัญญา Options นั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ Call Options ที่เป็นสิทธิในการซื้อ และ Put Options ที่เป็นสิทธิในการขาย โดยผู้ลงทุนจะสามารถซื้อและขาย Options ทั้งสองประเภทได้ ซึ่งทำให้มีความยืดหยุ่นในการลงทุน มี "ทางเลือก" ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ได้
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ทราบถึงความแตกต่างของการลงทุนในหุ้นและ Options ไปแล้ว สัปดาห์นี้เราจะมาคุยกันถึงลักษณะของสัญญา Options ที่ผู้ลงทุนจะต้องทำความคุ้นเคยกันก่อน สัญญา Options นั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ Call Options ที่เป็นสิทธิในการซื้อ และ Put Options ที่เป็นสิทธิในการขาย โดยผู้ลงทุนจะสามารถซื้อและขาย Options ทั้งสองประเภทได้ ซึ่งทำให้มีความยืดหยุ่นในการลงทุน มี "ทางเลือก" ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ได้
สำหรับการซื้อขาย Options ในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (TFEX) นั้น จะมีการซื้อขายกันโดยกำหนดเป็นซิมโบลเหมือนกับชื่อย่อในการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ในคราวนี้จึงจะขอคุยเรื่องสัญลักษณ์ของ Options ใน TFEX เพื่อให้ผู้ลงทุนมีความคุ้นเคยก่อนทำการซื้อขาย ทั้งนี้ สัญลักษณ์ของ Options สามารถแบ่งออกได้เป็นส่วนย่อยๆ ซึ่งในแต่ละส่วน คือ องค์ประกอบที่สำคัญของ Options ทั้งสิ้นเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
จะขอยกตัวอย่างสัญญา Options สัญญาหนึ่ง ซึ่งในที่นี้จะขอใช้ชื่อสมมติว่า SET50Z17C950 โดยสามารถแยกเป็นส่วนๆ ได้ดังต่อไปนี้
SET50/Z17/C/950 ส่วนแรก 'SET50' คือชื่อสินค้าอ้างอิง ซึ่งอาจจะเป็นหุ้น หรือ ดัชนี หรือค่าเงินอะไรก็ได้ สำหรับใน TFEX ปัจจุบันมีการซื้อขาย Options สำหรับ SET50 Index เพียงประเภทเดียว ซึ่งสัญญา Options จะมีมูลค่าเปลี่ยนแปลงไปมูลค่าของสินค้าอ้างอิงของตัวมันนั่นเอง
ถัดมาส่วนที่สองคือ Z17 แทนช่วงเดือนและปีที่สัญญา Options จะหมดอายุลง โดยในประเทศไทยนั้น SET50 Index Options จะถูกกำหนดอายุเป็นรายไตรมาสหรือราย 3 เดือน ซึ่ง Z17 นั้น หมายถึง สัญญา Options นี้จะหมดอายุในสิ้นเดือน ธ.ค. โดยใช้อักษรพยัญชนะภาษาอังกฤษ คือ 'Z' ทดแทน นอกจากนี้ ยังจะมีเดือน มี.ค. มิ.ย. ก.ย. ซึ่งจะใช้ตัวพยัญชนะภาษาอังกฤษคือ 'H' 'M' 'U' ตามลำดับ แล้วตามด้วยเลขอีก 2 ตัวที่แสดงตัวเลข 2 ตำแหน่งสุดท้ายของปี คริสตศักราช เช่น ค.ศ. 2017 จะเป็น 17 หากเป็น ค.ศ. 2020 ก็จะเป็น 20 เป็นต้น
ส่วนที่ 3 คือ ตัวพยัญชนะ 'C' จริงๆ แล้วอาจจะเป็นพยัญชนะ 'P' ก็ได้ โดยที่ C แทนสัญญา Call Options ย่อมาจากคำว่า Call (Call the stock away from the seller) หมายถึงสัญญาระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ที่ผู้ขายจะให้สิทธิผู้ซื้อ ในการซื้อสินทรัพย์อ้างอิง ที่ราคาใช้สิทธิและภายในกำหนดเวลาที่ระบุตามสัญญา และหากเป็นพยัญชนะ 'P' จะหมายถึงสัญญา Put Options ย่อมาจากคำว่า Put (Put the stock to buyer) หมายถึงสัญญาระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ที่ผู้ขายจะให้สิทธิผู้ซื้อในการขายสินทรัพย์อ้างอิง ที่ราคาใช้สิทธิและภายในกำหนดเวลาที่ระบุตามสัญญา หากผู้ลงทุนดูที่หน้าจอระบบซื้อขายในส่วนของ Options Chain จะพบว่า Call อยู่ด้านซ้ายมือของราคาใช้สิทธิ และ Put จะอยู่ด้านขวา
ต่อมาคือ 950 หมายถึงราคาใช้สิทธิที่ หรือ Strike ที่ดัชนี SET50 950 จุด มาจากประโยคที่มักใช้ตกลงสัญญาว่า "Strike a deal" แปลว่าราคาที่เราตกลงจะซื้อขายสินค้าอ้างอิงดังกล่าวในอนาคตผ่านสัญญา Options ซึ่งจะมีให้เลือกได้หลายราคา ในตัวอย่างนี้คือที่ 950 จุด ตรงนี้ต้องระมัดระวังกันให้ดี เพราะ 950 จุด นั้น ไม่ใช่ระดับของดัชนี SET50 ที่ซื้อขายกันอยู่ แท้ที่จริงแล้วราคาดังกล่าวคือราคาที่จะใช้ส่งมอบกันที่ 950 จุดในอนาคต
ทั้งนี้ ในการซื้อขาย Options นั้น ผู้ซื้อจะต้องจ่ายเงินค่าสิทธิ หรือ Options Premium ให้แก่ผู้ขาย ซึ่งผู้ลงทุนจะเห็น Options Premium ปรากฏอยู่ได้บนกระดานซื้อขายของสัญญา Options นั้นๆ ซึ่งความหมายของค่า พรีเมียม คือจำนวนเงินที่จะต้องจ่ายให้แก่ผู้ขาย หรือจะได้รับจากคู่สัญญาในกรณีที่เราเป็นผู้ขาย Options เช่น หากเป็นผู้ซื้อ Options แล้วมีราคาเสนอขายอยู่ที่ 30 จุด ถ้าส่งคำสั่งซื้อไปจับคู่ ผู้ซื้อจะไม่ได้จ่ายเงินค่าพรีเมี่ยม ที่ 30 จุด
แต่สัญญา Options นั้น จะมีตัวคูณหรือ Multiplier ด้วย ซึ่งสัญญา SET50 Index Options ใน TFEX นั้น จะกำหนดตัวคูณไว้เท่ากับ 200 จุด ดังนั้น ผู้ซื้อจะต้องจ่ายพรีเมียม 30 จุด x 200 (Multiplier ของสัญญา SET50 Options) = 6,000 บาท และผู้ขายจะได้รับเงิน 6,000 บาท สำหรับสิทธินั้น