posttoday

TGI ผู้นำด้าน Smart Factory สู่วิถี อุตสาหกรรม 4.0

24 พฤศจิกายน 2560

"อุตสาหกรรม 4.0" มาจากนโยบายอุตสาหกรรมแห่งชาติของประเทศเยอรมนี ซึ่งประกาศเมื่อปี ค.ศ.2013 ซึ่งเป็นความหมายเดียวกันกับคำว่า Internet of Things หรือ IoT

  

นายวรินทร์ รอดโพธิ์ทอง  ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์  สถาบันไทย-เยอรมัน (TGI)  กล่าวว่า คำว่า  "อุตสาหกรรม 4.0"  มาจากนโยบายอุตสาหกรรมแห่งชาติของประเทศเยอรมนี ซึ่งประกาศเมื่อปี ค.ศ.2013 ซึ่งเป็นความหมายเดียวกันกับคำว่า Internet of Things หรือ IoT ของสหรัฐอเมริกา คือทุกอย่างเป็น Cyber สำหรับประเทศไทย รัฐบาลได้ประกาศนโยบายเชิงวิสัยทัศน์ว่า ประเทศไทย 4.0 หมายถึงการปฏิรูปทั้งประเทศ ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ การเกษตร ฯลฯ เพราะสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวล้วนเป็น Digital แล้วทั้งสิ้น ดังนั้นถ้าประเทศไทยไม่ปรับตัวไม่ปฏิรูปทั้งระบบก็อาจจะอยู่อย่างลำบาก 

สำหรับภาคอุตสาหกรรมของไทยก็ต้องเป็นอุตสาหกรรม 4.0 เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เคยสำรวจพบว่าอุตสาหกรรมในประเทศไทยโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 2.25 นั่นหมายถึงว่ามีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่เป็น 4.0 อยู่พอสมควร แต่ส่วนมากจะเป็นบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ ถ้าเป็นบริษัทของคนไทยก็เป็นบริษัทขนาดใหญ่ และเจ้าของบริษัทเป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล เพราะการนำระบบอัตโนมัติ (Automation) และหุ่นยนต์ (Robot) เข้ามาใช้ต้องมีการลงทุนสูงพอสมควร หลายๆ บริษัทลงทุนนำ Automation และ Robot มาใช้โดยไม่ Lean ไลน์การผลิตก่อน ต้องวิเคราะห์กระบวนการผลิต ปริมาณการผลิตต้องสัมพันธ์กับปริมาณและความต้องการของลูกค้า ถ้ามีลูกค้าอยู่ไม่กี่ราย หรือสั่งสินค้าเท่าเดิม ไม่ได้ทำผลิตเพื่อส่งขายไปทั่วโลกก็ไม่จำเป็นต้องลงทุน ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิต
สูงขึ้นโดยเปล่าประโยชน์

TGI ผู้นำด้าน Smart Factory สู่วิถี อุตสาหกรรม 4.0  

นายวรินทร์ กล่าวถึงความจำเป็นที่โรงงานอุตสาหกรรมจะต้องเป็น Smart Factory เพื่อการก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0 ว่า Smart Factory คือ การบรรจบกัน (Convergent) โดยสมบูรณ์ ระหว่าง Information กับ Production หรือ Industrial ซึ่ง Information (ข้อมูล) หากจัดให้อยู่ในรูปแบบ Digital Technology เราก็เรียกว่า Information Technology (IT) จับต้องไม่ได้แต่แสดงผลได้ การบริหารจัดการ IT ในลักษณะของเครือข่าย (Network) เพื่อการสื่อสาร เราเรียกกันอีกอย่างว่า Cyber net ส่วน Production (การผลิต) หรือ Industrial เรามองเห็นเป็นเครื่องจักร ไลน์การผลิต คน หรือแม้กระทั่งตัวโรงงานเอง ซึ่งเป็นส่วนที่เราเรียกว่าเป็นลักษณะกายภาพจับต้องได้ หากเพิ่ม Digital Technology เข้าไปจะกลายเป็น Industrial Automation ดังนั้น Smart Factory นั้น จึงไม่ได้หมายความว่าเป็น Fully Automation แบบปราศจากคน หากแต่ยังมีคนทำงานร่วมกับเครื่องจักร (Collaboration) แต่กิจกรรมของคนก็ต้องแปลงให้เป็น Digital ร่วมกับเครื่องจักรเช่นกัน ดังนั้น จึงมีการประยุกต์ใช้ RFID กันมากขึ้น เพื่อเป็นการชี้บ่ง (Indentify) และ Sensor เพื่อตรวจจับลักษณะอาการที่มนุษย์ลงมือทำ และทำอะไรลงไปบ้าง เพียงเท่านี้โรงงานก็สามารถเป็น Smart Factory ได้ เช่น ในกระบวนการวัดขนาดของชิ้นงานที่ผลิตแล้ว เพื่อรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ เครื่องมือวัดต้องใช้แบบ Digital ส่งผ่านและบันทึกค่าวัดเข้าระบบ ประมวลผลและสามารถระบุตัวบุคคลที่วัดได้ผ่าน RFID และสำหรับในโรงงานที่เป็นงานฝีมือ (Handicraft) ต้องใช้คนเป็นหลัก ถ้าโรงงานจะเป็น Smart Factory ก็ต้องใช้เทคโนโลยี Sensor เข้ามาร่วมในการกระบวนการทำงานของคนให้มากขึ้น เป็นต้น

สำหรับการเป็น Smart Factory เพื่อการแข่งขันบนเวทีโลกของประเทศไทยนั้น สิ่งสำคัญคือ ประเทศไทยต้องพัฒนาทางด้าน Information ให้ได้ก่อน และทำสิ่งที่เป็น Conventional Production ให้เป็น Cyber ให้ได้ คนที่เข้าไปทำงานต้องมี Record เครื่องจักรต้องติด Sensor เพื่อให้ Smart มีการส่งข้อมูลเป็นแบบ Real-time สิ่งเหล่านี้เป็นการยกระดับโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ต้นทุนต่ำ และมีความยืดหยุ่น ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการแข่งขันบนเวทีโลก และเมื่อทำในส่วนนี้ได้แล้วจึงไปเริ่มทำในส่วนที่เป็น Cyber Physical Production System"

TGI ผู้นำด้าน Smart Factory สู่วิถี อุตสาหกรรม 4.0  

นายวรินทร์ กล่าวในตอนท้ายว่า นโยบายของนายสมหวัง บุญรักษ์เจริญ ผู้อำนวยสถาบันไทย-เยอรมัน ให้ไว้ชัดเจนว่า TGI จะต้องเป็นผู้นำด้าน Smart Factory โดยได้ตั้งกลุ่มงาน Smart Factory ขึ้นมาเรียกว่า Digital Manufacturing เพราะฐานรากคือการใช้ Digital ในกระบวนการผลิต มี Plant สาธิต Smart Factory และมีแผนที่จะสร้างห้อง Learning Factory for Smart Factory

TGI ยังเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมในเรื่องของ Smart Factory ทั้งระบบ ตั้งแต่ออกแบบ ติดตั้ง จนถึงพร้อมใช้งาน มีการจัดฝึกอบรมด้าน Implement Smart Factory และทำต้นแบบบล็อคสำเร็จรูปสำหรับการนำไปเชื่อมต่อกับระบบการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม โดยให้บริษัทที่เป็นเครือข่ายของ TGI นำไปผลิตเพื่อจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ด้วย

TGI ผู้นำด้าน Smart Factory สู่วิถี อุตสาหกรรม 4.0

คลิกที่นี้เพื่อขยายรูป