posttoday

"เชฟอินเตอร์ฯ" หลักสูตรอินเทรนด์ล่าสุดจากม.กรุงเทพ กับ 10 เหตุผลว่าทำไมถึงน่าเรียน!

12 มกราคม 2561

มหาวิทยาลัยกรุงเทพไม่เคยทำอะไรที่ธรรมดาหรือติดอยู่ในกรอบ ล่าสุดจึงเปิดไฟเขียวให้คณะมนุษยศาสตร์และการจัดการการท่องเที่ยว ผุดสาขาวิชา “ศิลปะการประกอบและออกแบบอาหาร” หรือ Culinary Arts and Design

 

มหาวิทยาลัยกรุงเทพไม่เคยทำอะไรที่ธรรมดาหรือติดอยู่ในกรอบ ล่าสุดจึงเปิดไฟเขียวให้คณะมนุษยศาสตร์และการจัดการการท่องเที่ยว ผุดสาขาวิชา "ศิลปะการประกอบและออกแบบอาหาร" หรือ Culinary Arts and Design ซึ่งเป็นหลักสูตรอินเตอร์ฯ (International Program) ที่ Rangsit Campus เตรียมปั้น "เชฟมือโปร" ที่ไม่ธรรมดา สมกับเป็นมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์หรือ Creative University ของโลกการศึกษายุคดิจิทัลอย่างแท้จริง

\"เชฟอินเตอร์ฯ\" หลักสูตรอินเทรนด์ล่าสุดจากม.กรุงเทพ กับ 10 เหตุผลว่าทำไมถึงน่าเรียน!  

และนี่คือ 10 เหตุผลที่ทำให้หลักสูตรเชฟของม.กรุงเทพโดดเด่นและน่าเรียนมากกว่าสถาบันอื่นๆ!

1. หนึ่งเดียวของไทยที่สอนการตกแต่งอาหารและออกแบบการรับประทาน

สมัยนี้อะไรๆ ก็ต้องหน้าตาดีไว้ก่อน เพราะรสนิยมคนยุคใหม่ชอบแชะและแชร์ให้ชาวโลกเห็น อาหารก็เช่นเดียวกัน ถ้าปรุงขึ้นมาแล้วหน้าตา "เบๆ" ใครที่ไหนจะอยากกินหรือเรียกยอดไลก์ได้ หลักสูตรนี้จึงไม่เพียงแค่สอนปรุงอาหารทั้งคาวและหวานให้อร่อย แต่ยังสอนศัลยกรรมอาหารหน้าตาธรรมดาๆ ให้ดูว้าวและเพิ่มมูลค่ามากขึ้น รวมถึงสอนออกแบบประสบการณ์การกินให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์จนน่าตื่นตาตื่นใจ อย่างเช่นข้าวเหนียวหมูปิ้งที่เคยปั้นข้าวเหนียวคำ งับหมูปิ้งจากไม้คำ ก็อาจถูก modify เป็นข้าวเหนียวปั้นทรงซูชิ ท็อปด้วยหมูปิ้ง หยิบใส่ปากแบบพอดีคำได้เลย หรือ Dark Dining กับ Dinner in the Sky ที่เคยสร้างความฮือฮาไปทั่ว ก็เป็นตัวอย่างของการออกแบบประสบการณ์ในการกินที่เด็กๆ จะได้เรียนรู้

2. ไม่ได้สอนให้ทำตามสูตรอาหาร แต่สอนให้ "คิด" สูตรอาหาร

สถาบันสอนทำอาหารทั่วไปมักโยนสูตรมาให้เด็กทำตาม เรียบจบแล้วก็ทำได้แค่นั้น แต่ที่นี่สอนให้คิดค้นสูตรอาหารขึ้นเอง ยกตัวอย่างง่ายๆ ก็เช่น ที่อื่นอาจสอนให้ทำเมนูทาร์ตสตรอว์เบอร์รี่ แต่ที่นี่สอนแบบกลับด้านโดยให้คิดค้นว่า จะพลิกแพลงสตรอว์เบอร์รี่ไปทำเมนูอะไรได้บ้าง เพื่อให้เด็กฝึกประลองไอเดียสร้างสรรค์เมนูที่แปลกใหม่

3. เรียนจบแล้วทำงานได้หลากหลายในอุตสาหกรรมอาหาร หรือแม้แต่เป็นเจ้าของธุรกิจ

แน่นอนว่าอาชีพเชฟคือเป้าหมายหลักของผู้เรียนหลักสูตรนี้ ซึ่งการเป็นเชฟที่ปรุงอาหารอร่อย แถมยังออกแบบหน้าตาอาหารได้สวยงามย่อมเป็นที่ต้องการตัวมากกว่า นอกจากนี้ความรู้ต่างๆ ยังสามารถประยุกต์ไปทำงานได้อีกหลายตำแหน่ง อาทิ ฟู้ดสไตลิสต์ นักออกแบบและตกแต่งอาหาร นักออกแบบผลิตภัณฑ์อาหาร บุคลากรในธุรกิจสื่อด้านอาหาร ผู้ให้บริการรับจัดเลี้ยง ช่างภาพอาหาร หรือแม้แต่เปิดร้านอาหารของตัวเอง เพราะที่นี่สอนวิชา Entrepreneurship ให้โดยเฉพาะด้วย

4. สอนโดยเซเลบริตี้เชฟ

นอกจากอาจารย์ประจำที่คร่ำหวอดในวงการเชฟและร้านอาหารแล้ว อาจารย์พิเศษหลายคนก็เป็นถึงเซเลบริตี้เชฟของเมืองไทย เด็กๆ จะได้เรียนกับตัวเป็นๆ ของเชฟตูน-ธัชพล ชุมดวง ที่ลากกระเป๋าออกจากบ้าน AF มาเป็นเชฟมืออาชีพ และเชฟโป้ง-ฐาปกรณ์ ชินะวาสี แห่งรายการ Top Chef Thailand แล้วยังมีเชฟชื่อดังคนอื่นๆ เตรียมตบเท้ามาถ่ายทอดเสน่ห์ปลายตะหลิวให้อีกเพียบ

5. ได้ไปฝึกงานและดูงานกับร้านอาหารชั้นนำ

ทางคณะจีบร้านอาหารชั้นนำของเมืองไทยไว้มากมาย เพื่อให้เด็กไปฝึกงานและดูงานล้วงเคล็ดลับกันถึงก้นครัว โอกาสจะได้ไปสำรวจร้านอาหารระดับมิชลินสตาร์ก็มีความเป็นไปได้

6. มีโอกาสโกอินเตอร์ฯ

ด้วยความที่เป็นหลักสูตรอินเตอร์ฯ ทางภาควิชาจึงพร้อมสนับสนุนและผลักดันเด็กให้โกอินเตอร์ฯ ถ้าใครฝีไม้ลายมือเข้าตา ก็อาจได้ร่วมงานกับโรงแรมระดับ 5 ดาวทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรปที่บินมาถึงเมืองไทยเพื่อ recruit เด็กด้วยตัวเอง

7. สามารถเลือกเรียนหลักสูตร Tripple Degree รับปริญญาจากไทย สวิตฯ และอังกฤษ

ออปชั่นเสริมสำหรับเด็กที่อยากโกอินเตอร์เร็วขึ้น กับหลักสูตร 3+1 คือเรียนที่ม.กรุงเทพ ก่อนเหินฟ้าไปฝึกงานและเรียนที่อังกฤษกับสวิตฯ จบมาได้ปริญญาควบ 3 ใบไปเสริมโปรไฟล์สวยๆ

8. อุปกรณ์การเรียนการสอนครบครัน ทันสมัย ไม่ต้องแย่งกันใช้

เบื่อไหมกับปัญหาแย่งกันใช้อุปกรณ์จนแทบตบตี เชิดใส่ปัญหานี้ได้เลย เพราะที่ตึก Tourism Tower ของม.กรุงเทพมีห้องปฏิบัติการที่ทันสมัยระดับสากล มาพร้อมอุปกรณ์เครื่องครัวให้ใช้แบบหนึ่งต่อหนึ่ง รวมทั้งห้องเรียนก็แสนสะดวกสบายเพราะมีโปรเจ็กเตอร์ขนาดใหญ่ที่ถ่ายทอดสดการสอนทำอาหารขึ้นจอ ทำให้มองเห็นทุกขั้นตอนการทำอย่างละเอียด ที่สำคัญอีกอย่างคือ เด็กทุกคนจะได้รับชุดมีดและ Chef Tools ส่วนตัว มูลค่าชุดละกว่า 20,000 บาทฟรี!

9. รายวิชาน่าสนใจ อะไรๆ ก็น่าเรียน

นอกเหนือจากสอนทำและตกแต่งอาหารแล้ว รายวิชาต่างๆ ก็ล้วนน่าเรียน เช่น วิชาการออกแบบอาหารและการรับประทานอาหาร (สอนออกแบบวิธีการกินในรูปแบบต่างๆ ที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมในการบริโภค) วิชาการออกแบบระบบบริการอาหารและเครื่องดื่ม (สอนออกแบบการบริการให้แตกต่างและโดนใจลูกค้าเพื่อสร้างสรรค์ประสบการณ์ใหม่ๆ) วิชาการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารและเครื่องดื่ม หรือแม้แต่วิชาอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์และตราสินค้าสำหรับอาหารและเครื่องดื่ม เรียกว่าทุกรายวิชาสามารถนำไปต่อยอดความรู้เพื่อเป็นเชฟที่เก่งรอบด้านมากกว่าคนอื่น

10. สอนให้เก่งรอบด้านเพราะประสานความร่วมมือกับหลายคณะ

เพราะตั้งใจสอนให้เด็กเก่งรอบด้านดังเช่นข้อ 9 ทางภาควิชาจึงทำความร่วมมือกับคณะอื่นๆ ด้วยการให้มาร่วมออกแบบหลักสูตรและส่งอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญมาช่วยสอน เช่น คณะศิลปกรรมศาสตร์ที่เก่งด้านศิลปะและการออกแบบ คณะนิเทศศาสตร์ที่เก่งด้านการผลิตสื่อ และคณะการสร้างเจ้าของธุรกิจและการบริหารกิจการที่เก่งด้าน Entrepreneurship เป็นต้น

ไม่ว่าจะเป็นนโยบายของภาครัฐที่ต้องการผลักดัน "ครัวไทยสู่ครัวโลก" (Kitchen of the World) หรือการมาถึงของมิชลินสตาร์ เชฟย่อมกลายเป็นอาชีพที่อินเทรนด์อย่างไม่ต้องสงสัย และไม่ดีกว่าหรือถ้าจะไปได้ไกลกว่าเชฟคนอื่นๆ กับหลักสูตรอินเตอร์ฯ Culinary Arts and Design ของม.กรุงเทพ ซึ่งพร้อมปรุงให้เด็กๆ เป็นเชฟที่เก่งทั้งเรื่องรสชาติและหน้าตาอาหารครบในคนเดียว!

\"เชฟอินเตอร์ฯ\" หลักสูตรอินเทรนด์ล่าสุดจากม.กรุงเทพ กับ 10 เหตุผลว่าทำไมถึงน่าเรียน!

\"เชฟอินเตอร์ฯ\" หลักสูตรอินเทรนด์ล่าสุดจากม.กรุงเทพ กับ 10 เหตุผลว่าทำไมถึงน่าเรียน!