ติดตามและวัดผลตอบแทนกองทุนในยุค 4.0 (2)
หมอนัทสวัสดีครับ กลับมาพบกันกับผมหมอนัทอีกครั้ง ในคอลัมน์ Fund Clinic แห่งนี้ครับในครั้งที่แล้วผมได้พูดถึงเรื่องการวัดผลตอบแทนจากกองทุนว่าจริงๆ แล้วมีวิธีการวัดผลอย่างไรบ้าง โดยแต่ละวิธีก็จะมีมุมมองที่แตกต่างกันครับ ซึ่งปกติเรามักจะเทียบผลตอบแทนของกองทุนกับเกณฑ์มาตรฐานหรือดัชนี เพื่อให้ทราบว่ากองทุนที่เราถืออยู่นั้นดีกว่าการอยู่เฉยๆ แล้วลงทุนกับกองทุนแบบ Passive Fund ที่ไม่ต้องมีผู้จัดการกองทุนมาช่วยบริหารหรือไม่
หมอนัท
สวัสดีครับ กลับมาพบกันกับผมหมอนัทอีกครั้ง ในคอลัมน์ Fund Clinic แห่งนี้ครับในครั้งที่แล้วผมได้พูดถึงเรื่องการวัดผลตอบแทนจากกองทุนว่าจริงๆ แล้วมีวิธีการวัดผลอย่างไรบ้าง โดยแต่ละวิธีก็จะมีมุมมองที่แตกต่างกันครับ ซึ่งปกติเรามักจะเทียบผลตอบแทนของกองทุนกับเกณฑ์มาตรฐานหรือดัชนี เพื่อให้ทราบว่ากองทุนที่เราถืออยู่นั้นดีกว่าการอยู่เฉยๆ แล้วลงทุนกับกองทุนแบบ Passive Fund ที่ไม่ต้องมีผู้จัดการกองทุนมาช่วยบริหารหรือไม่
ซึ่งหากกองทุนสามารถเอาชนะเกณฑ์มาตรฐานได้อย่างต่อเนื่อง นั่นก็หมายความว่า ทีมงานบริหารกองทุนทำผลตอบแทนได้ดี และนอกจากนี้หากเราเอากองทุนที่เราถือครองอยู่ไปเทียบกับกลุ่มของกองทุนที่เป็นประเภทเดียวกัน แล้วพบว่ากองทุนที่เราถืออยู่นั้นยังทำผลตอบแทนได้เป็นอันดับต้นๆ ก็แสดงว่าเราเลือกกองทุนได้อย่างดีเยี่ยมแล้วครับ
ส่วนคราวนี้ ผมจะมาเล่าให้ฟังถึง เครื่องมือที่ใช้ในการติดตามและวัดผล เทียบผลตอบแทนระหว่างแต่ละกองทุน เพื่อเฟ้นหากองทุนที่น่าสนใจ รวมถึงกองทุนที่ทำผลตอบแทนได้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ เราบรรลุเป้าหมายการลงทุนในระยะยาวของผู้ลงทุนครับ
ในยุคไทยแลนด์ 4.0 แบบนี้ เครื่องมือ ต่างๆ ที่ผมจะมาแนะนำให้รู้จักคงหนีไม่พ้นเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นอย่างแน่นอนครับ ว่าแต่จะเป็นเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่น อันไหนต้องมาติดตามกันครับ
เริ่มด้วยอันแรกก่อนเลยครับ โดยใน อันดับแรกนี้จะเป็นเว็บไซต์ที่ผมมักจะใช้อยู่เป็นประจำเพื่อคัดกรองกองทุนที่ทำผลตอบแทนได้ดีอย่างสม่ำเสมอครับ นั่นก็คือ Siamchart ครับ ซึ่งเว็บไซต์นี้จะทำรูปแบบออกมาให้เราสามารถดูกองทุนที่ให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 3-5 ปีได้อย่างง่ายดาย ว่ากองทุนไหนทำผลงานได้ดีเป็น อันดับต้นๆ ซึ่งโดยปกติแล้วผมมักจะใช้วิธีเลือกกองทุนที่ให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 ปี และ 5 ปี ที่ติดอันดับ Top 20 เป็นหลักครับ
ทั้งนี้ ก็เพราะว่าผลตอบแทนของ กองทุนหากเราพิจารณากองทุนที่ให้ผล ตอบแทนได้ดีทั้ง 3 และ 5 ปี นั่นก็หมายความว่ากองทุนมีความสม่ำเสมอของผลตอบแทน และยังให้ผลตอบแทนที่ดีมากอีกด้วย เนื่องจากอยู่ติดอันดับต้นๆ ในกลุ่มผู้นำนั่นเองครับ
หลังจากที่ผมได้กองทุนที่น่าจับตา หรือว่ากองทุนที่ผ่านการคัดกรองในเว็บไซต์ siamchart แล้ว ผมก็จะนำกองทุนที่ คัดกรองได้มาประมาณ 3-5 กองทุน เพื่อนำมาเทียบกันให้ละเอียดมากขึ้นครับ ซึ่งคราวนี้ เราจะไปกันที่เว็บไซต์ของ WealthMagik และ Morningstar
ซึ่งทั้ง 2 เว็บไซต์นั้นจะมีฟังก์ชั่นในการเปรียบเทียบกองทุนให้กับเราครับ โดยที่เว็บไซต์ Wealthmagik จะเน้นการค้นหาและเปรียบเทียบผลตอบแทนของกองทุน โดยสามารถค้นหาและเลือกกองทุนมาเทียบกันได้ 10 กองทุน และแสดงผลมาค่อนข้างที่จะดูง่ายทีเดียวครับ
ส่วนเว็บไซต์ MorningStar นั้นจะเน้น ไปที่การเปรียบเทียบกองทุนที่มีรายละเอียดมากขึ้น โดยสามารถเลือกกองทุนมาเทียบกัน ได้ประมาณ 5 กองทุน รวมถึงมีการจัดลำดับ ของกองทุนตามแนวคิดของทาง MorningStar ที่แสดงผลออกมาในรูปแบบของดาวอีกด้วยครับ โดยกองทุนที่มีคุณภาพดีจะมีดาว 5 ดาวครับ
ส่วนหากใครที่ใช้ถนัดใช้มือถือมากกว่าการนั่งอยู่ที่โต๊ะแล้วเปิดเว็บไซต์แล้วละก็ ผมคิดว่าแอพพลิชั่นเหล่านี้น่าจะถูกใจนักลงทุนที่เล่นมือถือเป็นประจำแน่ๆ ครับ แอพพลิเคชั่นที่น่าสนใจก็ได้แก่
FIN App ซึ่งน่าจะพอคุ้นเคยกันดีหาก เป็นนักลงทุนขาประจำ แต่หากยังไม่เคยใช้ แอพพลิเคชั่นนี้ ผมแนะนำว่าต้องโหลดมา ใช้ครับ เพราะว่าเป็นแหล่งรวมข้อมูลกองทุน ที่ใช้ง่าย มีฟังก์ชั่นครบถ้วนทีเดียวครับ แต่ ข้อเสียอย่างเดียวของแอพพลิเคชั่นนี้คือ มี เฉพาะบนไอโฟนหรือระบบไอโอเอสเท่านั้นครับ
Treasurist (ต้องเปิดผ่านเบราเซอร์), Nter by Finnomena, Fund Radar, Thai Funds Today ก็เป็นอีกหลายๆ ทางเลือกหนึ่งที่ใช้ติดตามผลการลงทุนได้อย่างดีเยี่ยมครับ นอกจากนี้ Treasurist และ Nter นั้นยังสามารถที่จะซื้อขายกองทุนผ่านระบบได้เลยอีกด้วยครับ ซึ่งเดี๋ยวนี้ระบบการเปิดบัญชีก็เร็วขึ้นกว่าแต่ก่อนเยอะครับ
จริงๆ แล้วยังมีแอพพลิเคชั่นและเว็บไซต์อีกมากมายในการใช้เพื่อติดตามการดำเนินงานของกองทุน แต่เนื่องจากเวลาหมดเสียแล้วครับ ผมคงต้องลาไปก่อน ในครั้งหน้าผมจะพาไปรู้จักแหล่งข้อมูลของกองทุนต่างประเทศที่น่าสนใจเพิ่มเติม นะครับ วันนี้ลาไปก่อน สวัสดีครับ