หาสมดุลให้กับ 4 จุดมุ่งหมายของชีวิต (หลักปุรุษารถะ) : Purusharthas
ประเทศไทยเราตั้งแต่อดีต ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมหลายอย่างมาจากอินเดีย
โดย ภัชภิชา แก้วสุวรรณสุข (ครูเจี๊ยบ) ผู้ก่อตั้ง Japayatri Yoga Style โยคะสุตรา สตูดิโอ www.YogaSutraThai.com
ประเทศไทยเราตั้งแต่อดีต ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมหลายอย่างมาจากอินเดีย แหล่งความคิดที่สำคัญและเก่าแก่ของอินเดียคือคัมภีร์ทางศาสนา ที่ตกทอดต่อๆ กันมาเริ่มจากปากต่อปาก จนถึงยุคที่มีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรโดยนักคิดชาวฮินดูโบราณคัมภีร์ทางศาสนาที่มีชื่อเสียง เช่น คัมภีร์พระเวท (ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท อถรรพเวท) คัมภีร์อุปนิษัท คัมภีร์ปุราณะสูตรต่างๆ รวมทั้งมหากาพย์มหาภารต มหากาพย์รามายณะ และคัมภีร์ภควัตคีตา ซึ่งคัมภีร์พระเวทและมหากาพย์ เป็นแหล่งความคิดที่มีอิทธิพลทางสังคมของชาวฮินดูในการใช้ชีวิต
อย่างเช่น ระบบวรรณะ (The Varna System) ระบบอาศรม (The Ashrama System ภาษาสันสกฤต : &>57;&&47;rama) ระบบครอบครัว การแต่งงานโครงสร้างทางสังคมของอินเดียทั้งหมดล้วนแต่เกิดจากรูปแบบความคิดในพระคัมภีร์เหล่านี้ทั้งนั้น
ในระบบอาศรมทั้ง 4 จะมีข้อปฏิบัติสำหรับอาศรมแต่ละขั้นโดยมี 4 อย่าง เรียกว่าปุรุษารถ (Purushartha) ได้แก่
1.ธรรม (Dharma) คือ หลักศีลธรรมในสังคม ความรับผิดชอบต่อตัวเองและผู้อื่น เพื่อให้สังคมอยู่อย่างสันติสุข
2.กาม (Kama) เป็นการหาความสุขทางโลกบำบัดความปรารถนาหรือความต้องการทางเพศเป็นการสืบต่อเผ่าพันธุ์มนุษย์
3.อรรถ (Artha) การแสวงหาทรัพย์สินเงินทองตลอดจนสิ่งอุปโภคบริโภคอันจำเป็นต่อชีวิตและครอบครัวโดยยึดหลักทางธรรม
บทบาทในชีวิตของเราทุกคนล้วนต้องผ่านพ้นช่วงต่างๆ ของหลักปุรุษารถ เราจะหาความสมดุลให้เจอสำหรับช่วงต่างๆ ได้อย่างไร ความรู้จักพอดี ถ้าเราเอาแต่หาเงินมากไป ก็ไม่มีเวลาสำหรับโมกษะ ถ้าเราเสพกามมากไป หมกมุ่นมากไป หรือทำเรื่องที่ขัดต่อศีลธรรม ก็อาจขาดความรับผิดชอบในหน้าที่ หากเรามุ่งไปที่โมกษะมากไปแบบออกไปอยู่ป่า ปลีกวิเวกก็ไม่สามารถหาเลี้ยงชีพชอบต่อครอบครัวให้อยู่ดีมีสุขได้