posttoday

ชื่อของคุณจะท่องอวกาศไปกับมิว สเปซ

19 มิถุนายน 2561

บริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด ผู้ประกอบธุรกิจด้านดาวเทียมและกิจการอวกาศ ได้ส่งเพย์โหลดการทดลองชิ้นแรก พร้อมกับรวบรวมรายชื่อผู้ให้ความสนใจในกิจกรรมด้านอวกาศ ขึ้นไปเหนือชั้นบรรยากาศโลก

ชื่อของคุณจะท่องอวกาศไปกับมิว สเปซ

บริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด ผู้ประกอบธุรกิจด้านดาวเทียมและกิจการอวกาศ ได้ส่งเพย์โหลดการทดลองชิ้นแรก พร้อมกับรวบรวมรายชื่อผู้ให้ความสนใจในกิจกรรมด้านอวกาศ ขึ้นไปเหนือชั้นบรรยากาศโลก

มิว สเปซ ผู้ประกอบธุรกิจสัญชาติไทยด้านดาวเทียมและอวกาศ ได้เชิญชวนให้ทุกภาคส่วนร่วมลงนามในบอร์ดที่ได้จัดเตรียมไว้ในพื้นที่บูธของมิว สเปซ (Experiencing โซน 4) ในงาน Techsauce Global Summit ที่จะจัดขึ้นที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 22-23 มิถุนายน ที่จะถึงนี้

โดยวีดีโอจากมิว สเปซใน Youtube นี้ ได้อธิบายให้เห็นว่าบรรดารายชื่อที่รวบรวมได้จากงาน Techsauce Global Summit จะขึ้นไปสู่อวกาศได้อย่างไร

ชื่อของคุณจะท่องอวกาศไปกับมิว สเปซ

นายไชยยศ โกศัลลกูฏ หัวหน้าโครงการจากมิว สเปซ กล่าวว่า

“ถือได้ว่ามิว สเปซจะเป็นบริษัทแรกในภูมิภาคเอเชียที่ริเริ่มภารกิจนี้ และเป็นสิ่งที่คนไทยจะภาคภูมิใจ ที่เราสามารถแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของประเทศไทยว่าเราสามารถเข้าร่วมแข่งขันในกิจการด้านอวกาศ และสร้างประวัติศาสตร์ให้แก่ประเทศได้”

“มิว สเปซจะส่งชื่อของผม ชื่อของคุณ และชื่อของทุกคนที่ต้องการเข้าร่วมในภารกิจครั้งนี้ขึ้นไปสู่อวกาศ การเริ่มต้นในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญที่จะทำให้จินตนาการ และความฝันในการท่องอวกาศกลายเป็นจริงได้” นายไชยยศกล่าวเพิ่มเติม

ตามแผนที่วางไว้ เพย์โหลดของมิว สเปซจะสามารถขึ้นไปไกลได้ถึง 100 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก ซึ่งระยะดังกล่าวเป็นจุดที่เราสามารถทดสอบการเปลี่ยนแปลงในสภาวะไร้น้ำหนักได้

กล่องเพย์โหลดของมิว สเปซ นั้น มีน้ำหนัก 11 กิโลกรัมและบรรจุไปกับจรวดที่ทะยานขึ้นเหนือชั้นบรรยากาศโลก

นอกจากรายชื่อผู้สนใจที่ได้ลงชื่อในงาน Techsauce Global Summit แล้วนั้น ทางด้านสถาบันการศึกษาชั้นนำ และหน่วยงานที่มีความสนใจทางด้านอวกาศยังได้ร่วมส่งการทดลองและโครงงานวิจัยต่างๆ ไปกับเพย์โหลดครั้งนี้ด้วย

“ในครั้งต่อไป มิว สเปซจะจัดโครงการประกวดแข่งขันสำหรับนักเรียน นักศึกษาเพื่อทำการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางด้านอวกาศ โดยโครงการที่ชนะจะได้รับโอกาสในการส่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวขึ้นสู่อวกาศ ซึ่งมิว สเปซสามารถทำให้สิ่งนั้นเป็นจริงได้” นายไชยยศกล่าวสรุป