“ดีแทค แอคเซอเลอเรท” เปิดมุมมอง “Nir Eyal” นำ Hooked Model สู่ความสำเร็จของ Start up ไทย
“HOOKED: How to Build Habit-Forming Products” ซึ่งขายดีเป็นอันดับ 1 ใน อะเมซอน ดอท คอม และเป็น TOP 5 ตลอดกาลของหนังสือประเภท Technology Product Design เนียร์ จบการศึกษา และได้สอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยสแตมฟอร์ด
คุณเนียร์ อียาล (Nir Eyal) เป็นเจ้าของหนังสือ “HOOKED: How to Build Habit-Forming Products” ซึ่งขายดีเป็นอันดับ 1 ใน อะเมซอน ดอท คอม และเป็น TOP 5 ตลอดกาลของหนังสือประเภท Technology Product Design เนียร์ จบการศึกษา และได้สอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยสแตมฟอร์ด และยังเป็นที่ปรึกษาให้กับ Facebook และ Instagram เขาจะร่วมงานกับบริษัทที่มีความเป็นไปได้ในการพัฒนาต่อไป และสามารถควบคุมลูกค้าให้ใช้ Product นี้อย่างซ้ำแล้วซ้ำอีกได้ ซึ่ง Product ที่ดีที่สุดไม่ได้หมายความว่าเป็นสิ่งที่ใหม่ที่สุด หรือเป็น Product ที่มีเทคโนโลยีล้ำสมัยที่สุด แต่เป็นสิ่งที่ลูกค้าถูกถึงเข้ามาอยู่ใน Loop ที่เป็นความสะดวกวิถี ใช้ง่ายขึ้น และทำให้เกิดความประทับใจมากขึ้นด้วย
คุณสมโภชน์ จันทร์สมบูรณ์ กรรมการผู้จัดการ ดีแทค แอคเซอเลอเรท (dtac accelerate) กล่าวในโอกาสที่ได้เชิญคุณเนียร์ อียาล มาร่วมแสดงทัศนะในประเด็น “ยุคที่ข้อมูลข่าวสารทะลักล้น ทำอย่างไรให้ลูกค้าหันมาสนใจสินค้าของเรา” ว่า คุณเนียร์ ได้มาเป็นวิทยากรให้กับ“ดีแทค แอคเซอเลอเรท” มา 4 ปีติดต่อกัน รวมถึงในปีที่ 7 นี้ด้วย โดยคุณเนียร์ เป็นเจ้าของทฤษฎี Hook ที่สามารถทำให้ลูกค้า หรือ user ติดใจในสินค้าและบริการ
Hook Model ตัวการทำให้ Facebook อยู่ในใจคนทั้งโลก
คุณสมโภชน์ อธิบายง่ายๆ ว่า Facebook ที่คนทั่วโลกรวมทั้งคนไทย 98% ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เพราะคุณเนียร์ อียาล และ Hook Model เป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญที่ทำให้มาร์ก ซัคเคอร์เบิร์ก ออกแบบผลิตภัณฑ์ Facebook ขึ้นมา จนประสบความสำเร็จจนถึงทุกวันนี้
Hook Model ประกอบด้วย 4 ส่วน หรือ 4 ขั้นตอน คือ 1.Trigger แบ่งเป็น Internal Trigger และ External Trigger 2. Action 3. Reward 4. Investment
“ยกตัวอย่าง เมื่อเราเบื่อ คือ ก็จะเกิด Internal Trigger หรือตัวกระตุ้นจากภายใน ทำให้เกิด Action คือ เราหยิบโทรศัพท์มือถือขึ้นมาและใช้นิ้วกดไปที่ Facebook ก็จะเห็นการ feed ของข้อมูลข่าวสารใน Facebook ซึ่งเข้าถึงโดยง่าย และเลื่อนข้อความไปเรื่อยๆ จนถึง content ที่ user ต้องการอ่าน ก็คือเป็น Reward และหาก user พอใจก็กด like ไม่พอใจ unlike หรือ comment ก็จะเป็น Investment ก็คือการจบ Loop ของ Hook Model เมื่อปิด Facebook วางโทรศัพท์ลง สักพักมีเสียงเตือน และกดเข้าไปดูสัญลักษณ์ที่สีแดงๆ ที่กระดิ่ง คือคนอื่นที่เข้ามาแสดความเห็นใน content ที่เรา Investment ไว้ ก็จะเป็น External Trigger ทำให้เรา Action เข้าไปอ่านดูอีกครั้ง เกิดเป็น Loop ใหม่อีกรอบ”
สร้างสินค้าและบริการเพื่อให้ลูกค้าติดใจด้วยการสร้าง Forming Habit
เนียร์ กล่าวถึงการทำให้ลูกค้าหันมาสนใจสินค้าของเราในยุคที่มีข้อมูลข่าวสารมากมายว่า ปัญหาของข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในปัจจุบันยังคงดำรงอยู่อย่างนั้นอีกช่วงเวลาหนึ่ง ดังนั้นเราจะต้องทำสินค้าหรือบริการที่ทำให้ User อยากใช้ หรือเป็น Forming Habit และไม่อยากเปลี่ยนไปใช้สินค้าหรือบริการตัวอื่น หรือหันไปใช้สินค้าหรือบริการอยากอื่นได้ยากขึ้น
ในขณะที่คุณสมโภชน์ กล่าวเสริมว่า การออกแบบธุรกิจบริการให้เหมาะกับในบางธุรกิจ เช่น การออกแบบธุรกิจรับ-ส่งเอกสารให้เหมาะสมกับธุรกิจ SMEs จะทำให้ผู้ประกอบการ SMEs ไม่หันไปใช้บริการของธุรกิจรับ-ส่งเอกสารรายอื่นๆ ที่ไม่ได้ออกแบบบริการเป็นเฉพาะ เป็นต้น เพราะการรับ-ส่งเอกสารของธุรกิจ SMEs จะต้องใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะ
การทำ Product Design จะต้องสามารถแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้
เนียร์ ให้ความเห็นในเรื่องการสร้างสินค้าหรือการสรางสรรค์ผลิตภัณฑ์ (Product Design) ที่ดี ว่า ขึ้นอยู่กับว่าเราสามารถออกแบบสินค้าให้สามารถเข้าไปแก้ปัญหาหรือเป็น Internal Trigger ให้กับลูกค้าได้ บางครั้งเราเข้าใจผิดไปว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ดีจะต้องเป็นการออกแบบระดับได้รับรางวัล หรือเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคนใช้เป็นจำนวนมาก แต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ดีจะต้อง capture mindset คือ จะต้องเข้าไปแก้ปัญหาให้กับลูกค้าหรือ user ได้
AI machine learning มีส่วนสำคัญในมุมของ Investment อย่างมาก ซึ่ง AI machine learning สามารถ capture ข้อมูลที่มากมากมหาศาลเพื่อใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ ทำให้รู้ว่าผู้บริโภคชอบอะไร ไม่ชอบอะไร ทำให้การสร้างผลิตภัณฑ์สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ดีกว่าเดิม ทำให้เกิด Hook Model มากขึ้น ยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้ Hook Model ได้แก่ Education, Health
คุณสมโภชน์ ได้ยกตัวอย่างส่วนที่เป็น Application ได้แก่ App Finnomena เป็น App ทางด้านการเงินการลงทุน ซึ่งการลงทุนประเภทนี้อาจจะเป็นเดือนละครั้ง ไตรมาสละครั้ง หรือปีละครั้ง แต่ Finnomena ก็เอา Hook Model ไปใช้ได้ โดยการออกแบบให้มี content หรือ community ขึ้นมา สามารถให้คนเข้าไปอ่านเข้าไปดูทุกวัน เมื่อผู้ที่เข้าไปดู content หรือ community ดังกล่าวต้องการที่จะลงทุน user ก็จะนึกถึง Platform ของ Finnomena เป็นลำดับแรก
Start up ไทยยังขาด Global Mindset และต้องการ Accelerator
ในตอนท้าย เนียร์ ได้กล่าวถึง “ดีแทค แอคเซอเลอเรท” (dtac accelerate) ว่า เป็น Accelerator ที่ยอดเยี่ยม หลักสูตรที่ใช้ตลอดระยะเวลา 7 ปี ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก เพราะเป็นหลักสูตรที่ได้ออกแบบมาโดยเฉพาะให้เหมาะกับ Start up โดยเฉพาะ ย้อนหลังไปเมื่อ 4 ปีที่แล้วที่ได้มาร่วมกับดีแทค แอคเซอเลอเรท Start up ยังเป็นแค่ idea วันนี้ Start up เหล่านี้ได้มีการพัฒนาจนหลายธุรกิจสามารถทำเงินทำกำไรได้แล้ว
ปัจจุบัน จะเห็นได้ว่ามี Start up รายใหญ่ๆ ของไทยที่ประสบความสำเร็จ สามารถอยู่รอดได้แล้ว ผู้ก่อตั้ง Start up เหล่านี้เริ่มกลับเข้ามาเป็นผู้ลงทุนกับ Start up ที่เพิ่งเริ่มก่อตั้ง หรือเข้ามาเป็นผู้ให้คำชี้แนะแนะนำให้แก่ Start up รุ่นใหม่ๆ ซึ่งไม่ค่อยได้เห็นเกิดขึ้นในประเทศอื่นๆ
สำหรับ Start up ไทยบางรายที่ต้องเผชิญกับความท้าทายบางอย่างที่ทำให้ Start up ไม่สามารถเติบโตต่อไปได้ เป็นเพราะขาดความสามารถพิเศษ (Talent) ขาดนักพัฒนา (Developer) ขาดโปรแกรมเมอร์ที่เก่งๆ มีความสามารถ คนเก่งๆ เมื่อจบการศึกษาก็ไม่ได้ทำงานประเทศไทย ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับหลายๆ ประเทศทั่วโลก และควรจะมีโปรแกรมต่างๆ อย่างโปรแกรมของดีแทค แอคเซอเลอเรท เข้ามาให้การช่วยเหลือสนับสนุน SMEs ของไทย
คุณสมโภชน์ ได้กล่าวเสริมเรื่อง Start up ไทยในตอนท้ายว่า ปัญหาของ Start up ไทยที่พบเจอกับตัวเอง และการพบปะแลกเปลี่ยนความเห็นจากเจ้าหน้าที่โครงการฯ จากอินโดนีเซียและจากไนจีเรีย พบปัญหาที่เห็นได้ชัดคือเรื่องของ Global Mindset คือการสร้างผลิตภัณฑ์ให้กับคน 1 ล้านคน หรือ 10 ล้านคน กับการสร้างผลิตภัณฑ์ให้กับคน 100 ล้านคนขึ้นไป วิธีคิดจะต้องแตกต่างกัน ซึ่ง Start up ไทยยังขาดในเรื่องนี้ ทำให้ยังไม่สามารถสู้กับ Start up อินโดนีเซีย หรือ Start Up เวียดนาม ซึ่งกำลังมีพัฒนาการอย่างรวดเร็วได้