ดัน "ไทย" ติดอันดับ 10 ผู้นำส่งออกอาหารระดับโลก
สถาบันอาหาร ฉายภาพตลาดอาหารแห่งอนาคต แนะผู้ประกอบการรับมือพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยรอย่างสิ้นเชิง พร้อมดัน "ไทย" ฮับผลิตอาหารอนาคตแห่งอาเขียน ในปี 2570
นางอนงค์ ไพจิตรประภาภรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวในงานสัมมนาออนไลน์ ผู้ประกอบการแสดง สินค้า...อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารรองรับความปกติใหม่ (New Norm) จัดโดย กลุ่มบางกอก โพสต์ สำนักส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ ภาค กลางและภาคตะวันออก สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุม และนิทรรศการ (สสปน.) หรือ TCEB และหอการค้าไทย พร้อมกล่าวบรรยายในหัวข้อ “โอกาสอุตสาหกรรมธุรกิจแปรรูปอาหารประเทศไทย ใน ครัวโลกแห่งอนาคต”
สำหรับบทบาทและความสำคัญของอุตสาหกรรมอาหารต่อ เศรษฐไทย พบว่ามีมูลค่าการเติบโตเศรษฐกิจ (GDP) อยุ่ที่ 922,835 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนGDP อาหารต่อ GDP ประเทศ อยุ่ที่ 5.5% และคิดเป็นสัดส่วน GDP อุตสาหกรรมอยู่ที่ 20.6%
จากปัจจุบันมีจำนวนกิจการสถานประกอบการธุรกิจอาหาร อยู่ที่ 128, 137 แห่ง มีการจ้างงานมากกว่า 1 ล้านอัตรา หรือคิดเป็นสัดส่วน 19.7% ของการจ้างงานในประเทศไทย และ มีเม็ดเงินลงทุนเบื้องต้นในปี 2562 อยู่ที่ 26,935 พัน ล้านบาท โดยมีแนวโน้มส่วนแบ่งตลาดอาหารของไทยใน ตลาดโลกในปี 2562 อยู่ที่ 2.51%
ขณะที่ในปี 2562 การค้าอาหารของไทย มีมูลค่าการส่ง ออกอยู่ที่ 1,016,932 ล้านบาท มีการนำเข้าคิดเป็นมูลค่า 385,517 ล้านบาท คิดเป็นดุลการค้าอยู่ที่ 631,415 ล้าน บาท โดยอัตราการขยายตัวปี 2562 เทียบกับปี 2561 ด้าน การส่งออกติดลบ 4.6% และการนำเข้าติดลบ 0.7% ส่วน ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา คิดเป็นการวส่งออกอัตราเติบโต 2.4% และ นำเข้า 2.5% โดยประเทศไทย เป็นผู้ส่งออกอาหาร อันดับที่ 11 ของโลก มีส่วนแบ่งอาหารของไทยในตลาด โลกอยู่ที่ 2.51% และเป็นอันดับ 2 ของเอเชียรองจากจีน
TOP 10 ตำแหน่งสินค้าอาหารไทยในตลาดโลก
ขณะที่ 10 อันดับแรกที่ครองส่วนแบ่งตลาดอาหารโลก คือ สหรัฐอเมริกา เนเธอร์ แลนด์ บราซิล เยอรมันนี จีน ฝรั่งเศส สเปน อิตาลี แคนาดา เบลเยียม ส่วนในปี 2562 มีตลาด ส่งออกสินค้าอาหารของไทย จำนวน 10 ประเทศ คือ จีน ซี แอลเอ็มวี (กัมพูชา ลาว เมียนมา และ เวียดนาม) ญี่ปุ่น กลุ่มอาเซียน 5 ประเทศ สหรัฐอเมริกา แอฟริกา กลุ่มอียู 27 ประเทศ กลุ่มประเทศโอเชียเนีย กลุ่มประเทศตะวันออก กลาง และ สหราชอาณาจักร
สำหรับตำแหน่งของสินค้าอาหารส่งออกของไทยในตลาด โลกในปีที่ผ่านมา ในอันดับ 1 มีสองรายการ คือ ทูน่า มูลค่า 67,659 ล้านบาท ครองส่วนแบ่ง 28.8% และ มันสำปะหลัง มูลค่า 62,375 ครองส่วนแบ่ง 44.3% และกลุ่มสินค้าอันดับ 2 มี สามรายการ คือ ข้าว มูลค่า 130,551 ล้านบาท ครอง ส่วนแบ่ง 17.2% ไก่ มูลค่า 110,484 ล้านบาท ครองส่วน แบ่ง 11% น้ำตาลทราย มูลค่า 92,265 ล้านบาท ครอง ส่วนแบ่ง 16.9%
ขณะที่ สินค้าในอันดับ 3 มีหนึ่งรายการ คือ ผลิตภัณฑ์ สับปะรด มูลค่า 15,660 ล้านบาท ครองส่วนแบ่ง 14.1% ส่วนสินในอันดับ 5 มีหนี่งรายการ คือ กุ้ง มูลค่า 52,206 ล้านบาท ครองส่วนแบ่ง 7% และกลุ่มเครื่องปรุงรส อยู่ใน อันดับ6 มีมูลค่า 24,439 ล้านบาท ครองส่วนแบ่ง 5.5%
สำหรับแนวโน้มการค้าอาหารโลกกำลังขยายตัวเพิ่มขึ้น ตามความต้องการสินค้าอาหารของประเทศผู้นำเข้าหลัก โดยเฉพาะจีน โดยพบว่า การค้าอาหารโลกในช่วงครึ่งแรก ของปี2563 อยู่ที่ 645 พันล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา คิด เป็นอัตราเติบโต 8% เทียบกับช่วงเดียวกันในปี2562
4 เทรนด์ผู้บริโภคอุตฯอาหารเปลี่ยน!! หลังโควิด
นางอนงค์ กล่าวว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยรแปลงของผู้บริโภค 4 ด้าน ที่ ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอาหาร คือ
1. มีการดูแล สุขภาพเชิงป้องกัน ทำให้เกิดความต้องการผลิตภัณฑ์ อาหารเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีมากขึ้น เพราะต้องการร่าง กายที่แข็งแรง
2. ช่องทางการเข้าถึงผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ทั้งด้านธุรกิจค้า ปลีก และ ร้านอาหาร ช่องทางออนไลน์ จะมีบทบาทมากขึ้น (Application > Website) ร้านขนาดเล็กเป็นทางเลือกใน การจับจ่ายเพื่อหลีกเลี่ยงคนจำนวนมาก ในซูเปอร์สโตร์ ขนาดใหญ่
3.การเก็บสต๊อกอาหารจำเป็นไว้ที่บ้าน โดยการเลือกซื้อ ผ่านทั้งทางออฟไลน์และออนไลน์ เพื่อสร้างความอุ่นใจหาก เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน
และ 4.มีการใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง มากขึ้น โดยเลือกซื้ออาหารที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ตัดอาหารที่ไม่จำเป็น หรือ อาหารที่มีราคาสูงเพื่อเตรียม พร้อมสำหรับวิกฤตระลอกใหม่
รัฐ เข็น4 มาตรการรับอุตฯอาหารโลกแห่งอนาคต
จากแนวโน้มดังกล่าว ในส่วนของภาครัฐได้เตรียมผลักดัน 4 มาตรการหลักสำคัญ ในอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ ไทย คือ 1. Fodd Security ความปลอดภัยด้านอาหาร 2.Traceability ความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับได้ ทุกขั้นตอน 3.Sustainabilty การดำเนินธุรกิจอุตฯอาหาร เพื่อความยั่งยืน เข่น ของเสียจากอาหาร และ 4. Fiid Safery ความปลอดภัยของอาหาร มาตรการสุขอนามัย ของคนงาน ทั้งในโรงงาน ร้านอาหาร ค้าปลีก และ ขนส่ง
ทั้งนี้ ส่งผลให้ กลุ่มผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม อาหารจะต้องปรับตัวใน 8 ด้านหลัก คือ 1. ความปลอดภัย อาหาร ทั้งกระบวนการผลิตและมาตรฐานต่างๆ 2.การลง ทุนด้านเทคโนโลยี อาทิ ระบบอัตโนมัติ และ หุ่นยนต์ 3.เพิ่มพูนประสิทธิภาพระหว่างลูกค้าและการทำตลาด 4.การบริหารจัดการ วิเคราะห์ ธุรกิจ ความต้องการเชิงลึก ลูกค้า จากบิ๊ก ดาตา 5.การพัฒนาปรับปรุงกลุ่มสินค้าเพื่อ สุขภาพและเวลล์เนส 6.ความร่วมมือด้านกลยุทธ์ระหว่าง พันธมิตรธุรกิจที่เกี่ยวข้อง 7.สร้างความยั่งยืนในระบบ อุตสาหรกรมอาหาร และสุดท้าย 8.เตรียมพร้อมรับมือกับ วิกฤตครั้งต่อไป ผ่านเครื่องมือต่างๆ เช่น บริการเดลิเวอรี ธุรกิจรูปแบบใหม่ ความยืดหยุ่นการบริหารจัดการ ฯลฯ
อีก 10 ปีหน้า โฉมใหม่ในอุตสาหกรรมอาหาร
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารไทยยัง ต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรัยมือแนวโน้มพฤติกรรมผู้ บริโภคโลกที่กำลังจะเปลี่นแปลงในอีก 10 ปีหน้า (2030) ดังนี้ ผู้หญิงมีอิทธิพลและขับเคลื่อนเศรษฐกิจมากขึ้น ประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 8.5 พันล้านคน โดย 60% ของคน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมือง โดนมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็น 1.4 พันล้านคนหรือ 1ใน 5 และ ชาวเอเชียมีสัดส่วนมากกว่า 50% ของประชากรโลก
ขณะที่แนวโน้มผลิตภัณฑ์อาหารในอนาคต จะให้ความ สำคัญใน 3 ด้านหลัก คือ ความสะดวก ความโปร่งใส ของกระบวนการต่างๆ และ คุณภาพ-ความปลอดภัยอาหาร ในกลุ่มสินค้าอาหารประเภทต่างๆที่จะมีความต้องการมาก ขึ้น คือ กลุ่มสารอาหารเฉพาะบุคคล เช่น อาหารทารก อาหารผู้สูงวัย กลุ่มอาหารโปรตีนทางเลือก ทั้งจากสัตว์ พืช แมลง กลุ่มอาหารเเชิงประโยชน์เพื่อสุขภาพ กลุ่มอาหารที่ มีส่วนร่วมสนับสนุนความยั่งยืน เข่น ออร์กานิค ฟู้ด และ กลุ่มอาหารที่มีความเชื่อถือเฉพาะในท้องถิ่น เช่น มาตรฐานอาหารฮาลาล อาหารท้องถิ่นดั้งเดิม
"ไทย" ฮับผลิตอาหารอนาคตแห่งอาเขียน
นางอนงค์ กล่าวต่อ สำหรับโอกาสของอุตสากรรมอาหาร ไทย ยังสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนา อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารระยะที่ 1 (พ.ศ.2562-2570) ภายใต้วิสัยทัศน์ ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารอนาคต แห่งอาเซียน ควบคู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก เพื่อกระตุ้นการส่งออกอาหาร พร้อมยกระดับเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ
โดยวางผลิตภัณฑ์เป้าหมาย เช่น กลุ่มข้าวและธัญพืช กลุ่มปศุสัตว์ อาทิ ไก่ ประมง ิาทิ กุ้ง ปลา กลุ่มผัก อาทิ สับปะรด ข้าวโพดหวาน กลุ่มเครื่องปรุงรส น้ำตาล และ มันสำปะหลัง ในรูปแบบอาหารพร้อมรับประทาน กลุ่มเกษตรอินทรีย์ เครื่องดื่มสุขภาพ รวมถึงสินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์ทันสมัย และ อาหารที่ยกระดับด้วยการตัดแยกเกรด
ขณะที่กลุ่มอาหารแห่งอนาคต เช่น อาหารสุขภาพและอาหารฟังก์ชัน ผลิตภัณฑ์อาหารจากเทคโนโลยีชีวภาพ อาหารใหม่ อาหารและวัตถุดิบเพื่อผลิตอาหารคุณภาพสูง และ ธุรกิจเกี่ยวเนื่องเพื่อสนับสนุนนวัตกรรม อาทิ บรรจุภัณฑ์อาหาร และ เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสนับสนุนนวัตกรรมอาหาร Organic Food Ingredients เป็นต้น
ทั้งนี้ หากสนใจรายละเอียดเนิ้อหาเพิ่มเติม รวมถึงข้อมูลที่น่าสนใจในช่วงเสวนาหัวข้อ “อนาคตอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารไทย...ต้องไปทางนี้” โดย คุณวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป คุณภูษิต ศศิธรานนท์ กรรมการผู้จัดการบริษัท เอ็กซ์โปลิงค์ โกลบอล เน็ทเวอร์ค จำกัด และโคโลญแมสเซ่ ประเทศไทย คุณแดน ปฐมวาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) และ คุณกรชวัล สมภักดี ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กอระ เอ็นเตอร์ไพร์ซ จำกัด (มหาชน) ได้มาร่วมแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร
ผ่านลิ้งค์ https://www.facebook.com/Posttoday/videos/359655112084172