แกะรอยความสำเร็จสตาร์ทอัพเทคโนโลยีแฟชัน 'Pomelo' เกิดในไทยโตระดับภูมิภาค
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2013 ธุรกิจสตาร์ทอัพแบรนด์ “โพเมโล” (Pomelo) ก่อตั้งขึ้น ณ กรุงเทพฯ ประเทศไทย ด้วยมองเห็นโอกาสในตลาดแพล็ตฟอร์มแฟชันช่องทางออนไลน์และออฟไลน์จะมีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็ว
จากเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มสาวๆ ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าแฟชันได้อย่างสะดวกและง่ายขึ้น
ถึงในปีนี้ Pomelo ดำเนินกิจการครบรอบ9ปี พร้อมอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด ภายใต้แนวคิดธุรกิจแพลตฟอร์มแฟชั่น omnichannel ระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยปัจจุบันโพเมโลมีพนักงานมากกว่า 600 คนทั่วภูมิภาค และสาขาธุรกิจกว่า 27 แห่งครอบคลุมให้บริการในประเทศ ไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย จีน และเตรียมเปิด ให้บริการใน ฟิลิปปินส์ เร็วๆนี้
'เทคโนโลยี แฟชัน' คีย์ซัคเซสธุรกิจ
เดวิด โจว ประธานกรรมการบริหาร (ซีอีโอ) และผู้ร่วมก่อตั้ง โพเมโล แฟชัน บอกเล่าเรื่องราวแบรนด์ โพเมโล มีจุดเริ่มต้นเมื่อ 9ปีก่อน ใน ฐานะสตาร์ทอัพพร้อมวางตำแหน่งทางธุรกิจให้เป็นเทคโนโลยี แฟชัน ด้วยมองเห็นภาพการแข่งขันในอนาคตว่า 'อีคอมเมิร์ซ' จะเข้ามามี บทบาทต่อการเลือกซื้อละตัดสินใจซื้อขายสินค้าแฟชันในกลุ่มคนรุ่นใหม่ เป็นอย่างมาก
ด้วยวิสัยทัศน์ของผู้ร่วมก่อตั้ง Pomelo ที่มองภาพใหญ่ถึงการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลในอนาคต โดยเฉพาะจากสถานการณ์โควิด-19 ในช่วง2ปีที่ผ่านมา ปัจจัยเร่งพฤติกรรมการจับจ่ายซื้อสินค้าบนโลกออนไลน์และผลักดันให้ตลาดอีคอมเมิร์ซเติบโตก้าวกระโดดตามมาเช่นกัน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ผู้ร่วมก่อตั้งแบรนด์ "คิดถูก" ด้วยPomelo สามารถสร้างยอดขายเติบโตอัตราสองหลักมาอย่างต่อเนื่องตลอด9ปีที่ผ่านมา
เดวิด ย้อนถึงเส้นทางความสำเร็จธุรกิจไปในปี 2018 จากการทดลองโมเดลธุรกิจเพื่อให้แบรนด์มีส่วนร่วมกับประสบการณ์ของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด ที่พัฒนาสู่รูปแบบการให้บริการ Tap.Try.Buy (เลือกซื้อผ่านช้อปออนไลน์แล้วทดลองใส่ที่สาขาหน้าร้านหากชอบก็ไปชำระเงิน)
"Tap.Try.Buy เป็นโมเดลที่ถูกพิสูจน์แล้วว่าได้ผลอย่างมาก จากกลุ่มลูกค้าโพเมโล โดยเฉพาะในช่วงโควิดที่ผ่านมา แบรนด์เองก็ได้ปรับตัวเพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีกับแบรนด์ด้วยการให้ลูกค้าสามารถนำสินค้าไปลองใส่ได้ถึงบ้าน นอกเหนือจากสาขาหน้าร้านที่เลือก ซึ่งทั้งหมดมาจากจุดเริ่มต้นของแบรนด์ที่วางไว้คือกาารนำเทคโนโลยีและแฟชันมาไว้ด้วยกัน" เดวิด ขยายภาพให้ชัด
นอกจากนี้ Pomelo ยังได้ดำเนินกลยุทธ์ธุรกิจใหม่ๆอย่างต่อเนื่องทั้งการร่วมมือ (Collaboration) ระหว่างแบรนด์ผลิตภัณฑ์แฟชันใหม่ๆ โดยในปัจจุบันมีพาร์ทเนอร์ไม่ต่ำกว่า 500 แบรนด์ที่ทำงานควบคู่ไปพร้อมกับโพเมโล
ด้วยความที่แบรนด์ ยึดมั่นในเรื่องเทคโนโลยี มาตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นทำธุรกิจบนแนวคิดหลักการสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้าโดยเฉพาะ ด้านผลิตภัณฑ์ยั่งยืนมีสัดส่วนไม่ต่ำกว่า30%ของแบรนด์สินค้า ขณะเดียวกัน โพเมโล ก็ยังให้ความสำคัญกับความเป็นท้องถิ่นในแต่ละประเทศควบคู่ไปกับความเป็นสากลของแบรนด์เพื่อสร้างความแตกต่างไปจากแบรนด์แฟชันรายอื่น โดยเฉพาะด้านยูสเซอร์ อินเตอร์เฟส (UI) และ ยูสเซอร์เอ็กซพีเรียนซ์ (UX) เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับลูกค้าถ่ายทอดผ่านแฟชันของตัวเอง
"จากโมเดลที่ประสบความสำเร็จในไทย โดยเฉพาะบริการ Tap.Try.Buy ซึ่งได้นำไปปรับใช้ในประเทศต่างๆ ด้วยสุดท้ายจะเป็นไปตามโฟกัสโพเมโลที่วางไว้ คือ การเป็นแพล็ตฟอร์มผู้นำแฟชันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากปัจจุบันบริการฯนี้คิดเป็น 24% ของคำสั่งซื้อทั้งหมด ส่วนคำสั่งซื้อจากช่องทางอีคอมเมิร์ซคิดเป็น 40%” เดวิด โจว กล่าวเสริม" เดวิด กล่าว
ลงทุนพันล.ขยายธุรกิจรับเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียนบูม
เดวิด กล่าวต่อว่า สำหรับในปี2022 Pomeloวางแผนขยายร้านสาขา ขึ้นอีกเท่าตัวเป็น 54 สาขาทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากปัจจุบัน โพ เมโล มีร้านสาขารวม 27 สาขา ในไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ซึ่งหลังการผ่อนคลายมาตรการป้องกันโควิด-19 ใน เดือนกันยายนที่ผ่านมา มีลูกค้าเข้ามาเยี่ยมชมทั้งที่ร้านและในแพ ลตฟอร์มออนไลน์เพิ่มมากขึ้นถึง 84%
“ในปีที่ผ่านมา โพเมโลได้เปิดตัวเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซอย่างเป็นทางการ ในฟิลิปปินส์ และเปิดร้านสาขาแห่งแรกในมาเลเซีย และบริการ Tap.Try.Buy. at Home พร้อมเปิดตัว Prism หน่วยธุรกิจใหม่ล่าสุดที่ จะช่วยหนุนพันธมิตรของแบรนด์ของเราผ่านการจัดหาโซลูชันที่หลาก หลายเพื่อช่วยขยายธุรกิจของพันธมิตรแบรนด์" เดวิด กล่าวเสริม
ทั้งนี้ เพื่อให้ธุรกิจดำเนินสู่การเป็นผู้นำแพล็ตฟอร์มแฟชันระดับภูมิภาค โดยในปีนี้ Pomelo ได้เตรียมงบลงทุนมากกว่า 1 พันล้านบาท ทั้งในส่วนของการตลาด และ คอนเทนต์ พร้อมแผนเพิ่มจำนวนแบรนด์บนแพลตฟอร์มของโพเมโลจาก 500 แบรนด์ ให้มากกว่า 2,000 แบรนด์ และเพิ่มสัดส่วนร้านสาขาขึ้นอีกเท่าตัวจาก 27 สาขาเป็น 54 สาขา
สอดคล้องกับรายงานของกูเกิล เทมาเส็ก และ บริษัท เบน แอนด์ คอมพานี ระบุเศรษฐกิจดิจิทัลของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คาดว่าจะมีมูลค่า 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2573 โดยหมวดเสื้อผ้า รองเท้า และ เครื่องประดับมีศักยภาพในการเติบโตสูงสุดที่ 3.1 เท่า โดยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีผู้ซื้อออนไลน์สูงถึง 350 ล้านคน ด้วย
จากข้อมูลเหล่านี้ Pomelo เล็งเห็นโอกาสจึงได้วางแผนกลยุทธ์และการลง ทุนของบริษัทในปีนี้และปีต่อๆ ไปด้วยการเร่งทำงานด้านการ ตลาดและเทคโนโลยีให้สอดคล้องกับข้อมูลนี้ ควบคู่ไปกับการขยาย การเติบโตของแบรนด์และการแบ่งประเภทผลิตภัณฑ์
โดยจะดำเนินธุรกิจผ่านกลยุทธ์ต่างๆ ทั้่งการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เอ็กซ์คลูซีฟและมีความหลากหลายจากหมวดหมู่แฟชั่นและไลฟ์สไตล์ พร้อมเสริมสร้างประสบการณ์ให้กับแบรนด์ผ่านศูนย์บริการ Dropship และ Seller Center
นอกจากนี้ แบรนด์ต่างๆบน Pomelo จะสามารถใช้ประโยชน์ จากฟีเจอร์ใหม่ๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการเติบโตบนแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็นศูนย์ผู้ขายแห่งใหม่ (Seller Center) การค้าปลีกที่เชื่อมถึง กัน (Connected Retail)และการทำงานแบบข้ามพรมแดนในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ (SEA Cross Border) พร้อมฟีเจอร์ต่าง ๆ อีกมาก มายที่พร้อมก้าวสู่อีกขั้นของการเติบโต พร้อมตั้งเป้าหมาย จะขยายมูลค่าธุรกรรมรวมในตลาด (GMV) ให้เติบโตขึ้น 260% ในอนาคตอันใกล้
โดย ดวงใจ จิตต์มงคล