posttoday

ส่งออกมิ.ย.ติดลบ 6.4% ยันไม่ต้องห่วง เหตุฐานสูง

26 กรกฎาคม 2566

พาณิชย์ เผยการส่งออกของไทยเดือนมิ.ย. หดตัว 6.4% มีมูลค่า 24,826 ล้านเหรียญสหรัฐ ยันไม่ต้องกังวล เหตุฐานสูง แม้เชิงปริมาณจะหดตัว แต่มูลค่า ช่วง 6 เดือนแรก ยังสูงกว่าช่วงวิฤตโควิด ขณะที่ติบลบยังน้อยกว่าประเทศคู่ค้าคู่แข่ง

นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ตัวเลขการส่งออกของไทยในเดือนมิ.ย. 2566 มีมูลค่า 24,826.0 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 6.4% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน อย่างไรก็ตามส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานปีก่อนสูง แต่หากพิจารณาจากมูลค่าการส่งออก 9 เดือนแล้ว พบว่า มูลค่าเพิ่มขึ้น

ส่งออกมิ.ย.ติดลบ 6.4% ยันไม่ต้องห่วง เหตุฐานสูง

“ไม่น่าตกใจ ตัวเลขการส่งออกที่ติดลบ เพราะเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านแล้วเรายังหดตัวน้อยกว่าประเทศอื่นๆ จึงอย่าดูแค่ตัวเลขส่งออกที่ติดลบ เพราะเชิงมูลค่าส่งออกช่วง 6 เดือน อยู่ที่ 2.3 หมื่นล้านเหรียญฯ สูงกว่าช่วงโควิด ที่ 2.5 หมื่นล้านเหรียญฯ สาเหตุเพราะฐานสูง เมื่อปีก่อนอยู่ที่ 2.6 หมื่นล้านเหรียญฯ ถือว่าเป็นที่น่าพอใจ เมื่อเทียบกับประเทศอื่น” 
 

 

ส่งออกมิ.ย.ติดลบ 6.4% ยันไม่ต้องห่วง เหตุฐานสูง

ทั้งนี้ หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย หดตัว 2.9% เหตุจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ายังคงซบเซาจากแรงกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง ทำให้การผลิตและการบริโภคยังคงตึงตัว ขณะที่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของตลาดจีนค่อนข้างช้ากว่าที่คาด นอกจากนี้ คู่ค้าส่วนใหญ่ชะลอการสั่งซื้อสินค้าจากผลกระทบของการหดตัวทางด้านอุปสงค์ มีการเร่งระบายสินค้าคงคลังมากขึ้น ส่งผลให้คำสั่งซื้อและการผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง แต่ยังคงมีปัจจัยบวกจากค่าเงินบาทอ่อนค่า ช่วยเพิ่มความสามารถ ในการแข่งขันของผู้ส่งออกในระยะนี้ และกระแสความมั่นคงทางอาหารทำให้สินค้าบางรายการยังขยายตัวดี เช่น ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง ผักกระป๋อง และผักแปรรูป ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ไข่ไก่ ซาร์ดีนกระป๋อง น้ำตาลทราย ทั้งนี้ ทำให้การส่งออกครึ่งแรกปี 2566 มีมูลค่า 141,170.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 5.4% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน

 

ขณะที่การนำเข้าเดือนมิ.ย.มีมูลค่า 24,826 ล้านเหรียญสหรัฐ หัดตัว 10.3%  ทำให้ดุลการค้าของไทยเกินดุล 57.7% ทำให้ภาพรวมการส่งออก 6 เดือนแรก(ม.ค.-มิ.ย) มีมูลค่า 141,170,3 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 3.5% ดุลการค้าครึ่งแรกขาดดุล 6,307.6 ล้านเหรียญสหรัฐ

 

สำหรับ การส่งออกสินค้าเกษตร หดตัว 7.4% และอุตสาหกรรมเกษตร หดตัว 10.2% มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัว 8.6% เมื่อเทียบกับช่วงปีก่อน ถือเป็นการหดตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ ข้าว หดตัว 15.0% หดตัวในรอบ 6 เดือน หดตัวในตลาดสหรัฐฯ แอฟริกาใต้ อิรัก ฮ่องกง และแคนาดา แต่ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย มาเลเซีย จีน โมซัมบิก และเกาหลีใต้

 

แต่ยังมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ขยายตัว14.2% กลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวเมื่อเดือนก่อนหน้า ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย สหรัฐฯ เกาหลีใต้ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นต้น

 

ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ ได้แก่  ตลาดหลัก หดตัว 8.5% โดยกลับมาหดตัวในตลาดสหรัฐฯ กลับมาหดตัว 4.8% อาเซียน  18.0% และสหภาพยุโรป 9.0% ขณะที่ ตลาด CLMV หดตัวต่อเนื่อง23.1% ขณะที่ตลาดจีน กลับมาขยายตัว 4.5% และญี่ปุ่น 2.6% เป็นต้น 

 

สำหรับ แนวโน้มการส่งออกในระยะถัดไป ประเมินว่า การส่งออกในช่วงครึ่งปีหลังมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป แม้ว่าจะยังมีความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า โดยเศรษฐกิจจีนฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่ตลาดคาดการณ์ จากการบริโภคและการลงทุนที่ยังอ่อนแอ เศรษฐกิจยุโรปเปราะบางจากอุปสงค์ภายในและตลาดแรงงานที่อ่อนแอ โดยเฉพาะตลาดเยอรมนี ฟินแลนด์ และเดนมาร์ก ที่มีระดับค่าครองชีพสูง ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลง ในขณะที่การถอนตัวจากข้อตกลง Black Sea Grain Initiative ของรัสเซีย และปัญหาภัยแล้งจากปรากฎการณ์เอลนีโญ สร้างความกังวลต่อการตึงตัวของอุปทานอาหารโลก ซึ่งอาจจะกระทบต่อเงินเฟ้อและกำลังซื้อของประเทศคู่ค้า 

 

อย่างไรก็ดี มีปัจจัยสนับสนุนการส่งออกจากการเร่งเปิดตลาดศักยภาพเพื่อกระจายความเสี่ยงและลดผลกระทบจากการชะลอตัวของตลาดส่งออกหลัก เช่น ตะวันออกกลาง ลาตินอเมริกา และแอฟริกา นอกจากนี้ เงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่องเป็นผลดีต่อผู้ประกอบการส่งออกสินค้าของไทย และความกังวลต่อการขาดแคลนอาหารทั่วโลกอาจเป็นปัจจัยผลักดันให้มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นจากปัจจัย