posttoday

เปิดแผนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ บ้านน้ำเชี่ยว จ.ตราด ปั้น SME สู่แพลตฟอร์มออนไลน์

08 สิงหาคม 2566

ม.ศรีปทุม คว้ารางวัล แผนธุรกิจอีคอมเมิร์ซชุมชน จาก ETDA ต่อยอดการท่องเที่ยว-สินค้า SME ชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว จ.ตราด สู่แพลตฟอร์มออนไลน์ เพิ่มมูลค่าสินค้าและการท่องเที่ยวยั่งยืน

จากการที่ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) จัดการแข่งขัน Final Pitching กับกิจกรรม “Boosting Craft Idea รวมพล คนดิจิทัล ระเบิดไอเดีย  เพื่อสังคม” เพื่อเฟ้นหาสุดยอดโมเดลธุรกิจอีคอมเมิร์ซชุมชน ที่ใช้ประโยชน์จากเครื่องมือทางดิจิทัล ไปสู่การสร้างรายได้อย่างยั่งยืนให้กับชุมชนของไทย นั้น จากการแข่งขันผู้คว้ารางวัลชนะเลิศคือ ทีมตัวตึง spu จาก มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี กับผลงาน แผนพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบครบวงจร ชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว จ.ตราด ซึ่งได้ลงมือทำจริงและสามารถนำไปต่อยอดสร้างรายได้ให้กับ SME ในอนาคตได้อย่างยั่งยืน

ทีมตัวตึง spu จาก มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ประกอบด้วย นายบุ๊ชริน ขำวิลัย , นายพิชญุตม์ กุลธนาเรืองกิตติ์ และ นายอมลวัฒน์ ฤทธิชัย โดยทีม ตัวตึง spu กล่าวว่า แผนพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบครบวงจร ชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว จ.ตราด เริ่มต้นจากการสำรวจ หาข้อมูลของพื้นที่ก่อน

พบว่า ชุมชนแห่งนี้มีจุดเด่นที่สำคัญคือ มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ,สภาพแวดล้อมเหมาะกับการจัดกิจกรรมท่องเที่ยว,มีความเป็นกลางทางภูมิศาสตร์ที่ใกล้ชิดกับเมืองหลัก และสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ อีกทั้งยังเป็นชุมชนตัวอย่าง ที่ได้รางวัลจากหน่วยงานต่างๆจำนวนมาก และมีกิจกรรมรักษาสิ่งแวดล้อม รวมถึงผู้มาเที่ยวยังสามารถทำกิจกรรมร่วมกับคนในชุมชนได้ เช่น การสานงอบ 

เปิดแผนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ บ้านน้ำเชี่ยว จ.ตราด ปั้น SME สู่แพลตฟอร์มออนไลน์

เปิดแผนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ บ้านน้ำเชี่ยว จ.ตราด ปั้น SME สู่แพลตฟอร์มออนไลน์

ทว่าพื้นที่ดังกล่าวยังมีอุปสรรค ในเรื่องของระยะทางการเดินทาง ,ภัยธรรมชาติที่ไม่ตรงฤดูกาล และความเสื่อมโทรมของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากการท่องเที่ยว ที่สำคัญคือ มีคู่แข่งในพื้นที่ข้างเคียง คือ บ้านอ่าวใหญ่เกาะกูด,ชุมชนบ้านโขดทราย,ชุมชนบ้านยายม่อน,เกาะกูด และ เกาะช้าง 

นอกจากนี้ยังมีปัญหาในด้านการทำการตลาดให้ชุมชนเป็นที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น การขาดความต่อเนื่องในการทำตลาด , การขาดผู้ที่มีทักษะด้านดิจิทัล,การประชุมสัมพันธ์และการจำหน่ายสินค้ามีเพียงช่องทางเดียว ,ผลิตภัณฑ์ของชุมชน ขาดความเป็นเอกลักษณ์ การนำเสนอเรื่องราวในชุมชนยังขาดการนำเสนอที่น่าสนใจ ทำให้กลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติน้อย เพราะชุมชนขาดความแปลกใหม่ในการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าใหม่ นั่นเอง 

ด้วยเหตุนี้ทีมจึงได้หาข้อมูล ด้านการท่องเที่ยว พบว่า ในปี 2565 สถิติการท่องเที่ยวในจังหวัดตราด ส่วนใหญ่เป็นต่างชาติ และมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อวันอยู่ที่ 5,500 บาท ขณะที่สถิติการใช้โซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ยูทูป ติ๊กต็อก ไลน์ และ อินสตราแกรม เติบโตอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงนำมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆได้โดยง่าย

เปิดแผนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ บ้านน้ำเชี่ยว จ.ตราด ปั้น SME สู่แพลตฟอร์มออนไลน์ เปิดแผนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ บ้านน้ำเชี่ยว จ.ตราด ปั้น SME สู่แพลตฟอร์มออนไลน์

ทีมตัวตึง spu จึงได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายใหม่คือ กลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประเทศ กลุ่มคน GEN Y-Z,กลุ่มคนที่มีรายได้ตั้งแต่ 30,000-50,000 บาท,กลุ่มคนที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม,กลุ่มคนที่มาเที่ยวจังหวัดตราดและต้องการหากิจกรรมเพิ่มเติม,กลุ่มศึกษาดูงานและกิจกรรมสานสัมพันธ์,กลุ่มคนที่ให้ความสนใจเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องสุขภาพและหน้าที่การงาน,กลุ่มผู้ที่สนใจในเรื่องราว และความเชื่อ ตลอดจนกลุ่มทัวร์ และ กลุ่มทัวร์ผู้สูงอายุ

โดยใช้วิธีการเข้าถึงลูกค้าด้วยช่องทาง เฟซบุ๊ก ,อินสตราแกรม,ไลน์ ออฟฟิเชียล ,ติ๊กต็อก,ลาซาด้า,ช้อปปี้,อีเบย์ รวมถึงการออกแบบแอปพลิเคชันชุมชนและการออกบูธงานท่องเที่ยว จัดโดยหน่วยงานรัฐต่างๆ

เปิดแผนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ บ้านน้ำเชี่ยว จ.ตราด ปั้น SME สู่แพลตฟอร์มออนไลน์

เปิดแผนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ บ้านน้ำเชี่ยว จ.ตราด ปั้น SME สู่แพลตฟอร์มออนไลน์ เมื่อมีการปรับแผนการท่องเที่ยวสำหรับชาวต่างชาติ จะพบว่า สามารถนำรายได้เข้าคนในชุมชน 3,690 บาท ต่อทริป มีรายได้เข้าวิสาหกิจ 549 บาท 

เปิดแผนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ บ้านน้ำเชี่ยว จ.ตราด ปั้น SME สู่แพลตฟอร์มออนไลน์ เปิดแผนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ บ้านน้ำเชี่ยว จ.ตราด ปั้น SME สู่แพลตฟอร์มออนไลน์

สำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ งอบ ให้มีหลายขนาด มีการปรับแพ็คเกจ อาหารทะเลแปรรูป เพื่อนำไปขายในช่องทางออนไลน์ เพื่อเพิ่มฐานลูกค้าที่เป็นวัยรุ่น และต่างชาติ มีการพัฒนาแยมลูกจากและระกำ ออกแบบโลโก้ ปรับเปลี่ยนแพ็คเกจ เพื่อนำมาขายให้นักท่องเที่ยวใช้ประกอบอาหารเช้าที่โฮมสเตย์ เป็นวัตถุดิบในคาเฟ่ และโรงแรม นำไปขายผ่านช่องทางออนไลน์ มีต้นทุนเพิ่มขึ้น 20% สามารถขายได้ในราคา 85 บาท มียอดขายเพิ่มขึ้น 5-10% กำไร 50%

เปิดแผนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ บ้านน้ำเชี่ยว จ.ตราด ปั้น SME สู่แพลตฟอร์มออนไลน์

เปิดแผนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ บ้านน้ำเชี่ยว จ.ตราด ปั้น SME สู่แพลตฟอร์มออนไลน์ นายมีธรรม ณ ระนอง รองผู้อำนวยการ ETDA กล่าวว่า การส่งเสริมและสนับสนุนให้คนไทยมีความสามารถในการทำธุรกรรมออนไลน์อย่างมีคุณภาพ เกิดการสร้างรายได้และโอกาสที่ดี  ผ่านการให้ความรู้ ตลอดจนการพัฒนาทักษะ  ในรูปแบบต่างๆ ครอบคลุมในภาคส่วนสำคัญทั้งในกลุ่มผู้ประกอบการ ภาคการศึกษา ภาคประชาสังคม และชุมชน คือหนึ่งในภารกิจที่ ETDA ให้ความสำคัญมาอย่างต่อเนื่อง 

จากสถานการณ์ต่างๆ รวมถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ใช้ชีวิตโดยใช้ออนไลน์เป็นเครื่องมือมากขึ้น ได้กลายเป็นตัวเร่งให้ทุกภาคส่วนต้องเร่งปรับตัวทั้งการทำงานและการให้บริการปรับเปลี่ยนไปด้วย หลายธุรกิจได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม เป็นสิ่งสะท้อนว่าในปัจจุบันโมเดลธุรกิจแบบออฟไลน์เพียงอย่างเดียวไม่อาจตอบโจทย์ได้เพียงพอที่จะนำพาธุรกิจให้อยู่รอด 

การมีโมเดลธุรกิจที่พาสินค้าและบริการขึ้นไปขายบนโลกออนไลน์จึงเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการหลายคนให้ความสำคัญโดยเฉพาะสินค้าและบริการในชุมชนที่ต้องการแผนธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้จริงเพื่อสร้างโอกาสและรายได้ 

ETDA ได้ดำเนินโครงการ ETDA Local Digital Coach หรือ ELDC ที่มุ่งพัฒนากำลังคนด้านดิจิทัล (Digital Workforce) ให้มีความรู้และทักษะดิจิทัล รวมถึงการทำ e-Commerce ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่ง กลุ่มเป้าหมายของ ELDC จะเป็นนักเรียน นักศึกษา บัณฑิตที่เพิ่งจบใหม่ ประชาชนที่สนใจ กลุ่มคนเหล่านี้จะได้รับการพัฒนาทักษะจนสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้กับชุมชน

ด้วยการลงพื้นที่ชุมชนโดยตรง สำรวจเก็บข้อมูล และร่วมพัฒนาสินค้าชุมชน     จนสามารถพัฒนาเป็น Business model ให้กับชุมชนนั้น ๆ ขยายผลให้ชุมชนนำแผนไปต่อยอด เพิ่มช่องทางออนไลน์ เพื่อให้มียอดขายเพิ่มขึ้น  

สำหรับเกณฑ์ในการแข่งขันจะครอบคลุมทั้งในประเด็นความเป็นไปได้ของแผนธุรกิจ (Business Model) ความคิดสร้างสรรค์ที่โดดเด่น แนวทางการทำการตลาดดิจิทัลตลอดจนการเลือกใช้เครื่องมือในการโปรโมทหรือสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย ที่มุ่งเน้นให้สามารถนำไปต่อยอดกับชุมชนได้จริง

เปิดแผนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ บ้านน้ำเชี่ยว จ.ตราด ปั้น SME สู่แพลตฟอร์มออนไลน์

นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญของการพิจารณาคือการมีแผนธุรกิจที่สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม หรือนำไปสู่การร่วมแก้ไขปัญหาสังคมได้ (Social Enterprise) ที่ถือเป็นอีกหนึ่งเกณฑ์ที่เพิ่มเติมมาสำหรับปีนี้เป็นปีแรก

สำหรับรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม The Winner จาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เจ้าของแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ “กาแฟเขาวังชิง”ภายใต้แนว “จากต้นสู่แก้ว”, รองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ ทีม TTU Lanna จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เจ้าของแผน TTU Umbrella ร่มล้านนาผ้ามัดย้อมจากใบชา ที่เข้ามาช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนชาและสมุนไพรบ้านเด่นหลวง  และวิสาหกิจชุมชนโคมลอยบ้านหนองโค้ง  จ.เชียงใหม่