ราคาข้าวโลกปีมะโรงส่อแววร่วง หลังผลผลิตล้นตลาด
ส.ผู้ส่งออกข้าว หั่นเป้าส่งออกข้าวไทยปี 67 เหลือ 7.5 ล้านตัน ลดลงจากปีก่อน หลังคาดอินเดียจ่อกลับมาส่งออกข้าวปกติ เวียดนามผลิตข้าวสู่ตลาดมากขึ้น ขณะที่ผู้ซื้อหลักแผ่ว หลังสต๊อกข้าวล่วงหน้ารับมือเอลนีโญไปแล้ว ดันข้าวในตลาดโลกล้น ฉุดราคาดิ่ง-ไทยส่งออกได้น้อยลง
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า ในปี 2566 ไทยสามารถส่งออกได้แล้วกว่า 8.7-8.8 ล้านตัน ซึ่งเกินกว่าเป้าที่ตั้งไว้ ที่ 8.5 ล้านตัด เพราะได้รับอานิสงส์จากข้าวเวียดนามที่มีราคาแพง ในขณะที่ปี 2567 คาดว่าไทยจะสามารถส่งออกข้าวได้ประมาณ 7.5 ล้านตัน ซึ่งเป็นการตั้งเป้าหมายที่ลดลงจากปีก่อน เนื่องจากการแข่งขันในตลาดจะมีความรุนแรงมากขึ้น หลังจากประเทศผู้ผลิตข้าวทั้งหลาย อาทิ และเวียดนาม จะมีผลผลิตข้าวจะออกสู้ตลาดมากขึ้น หลังจากที่มีกัมพูชาเป็นตัวช่วยในการผลิตข้าวมากขึ้น ทำให้จากนี้เราจะเห็นแนวโน้มที่เวียดนามนำข้าวเหล่านั้นออกมาขายแข่งเพื่อกับไทยมากขึ้นไปอีก
อย่างไรก็ตาม แม้ตอนนี้ราคาข้าวไทยจะมีราคาถูกกว่าเวียดนาม แต่คาดว่า อีก 2 เดือนข้างหน้า ราคาข้าวเวียดนามจะถูกลงกว่าไทย นอกจากนี้ยังคาดว่า อินเดีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับ 1 ของโลก น่าจะยกเลิกมาตรการห้ามส่งออกข้าวในปีหน้า ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งต่อราคาข้าวในตลาดโลกลดลงปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก”
“ทราบมาว่า ผลผลิตข้าวเวียดนามในปีการผลิตที่กำลังจะออกมามีผลผลิตที่ดีมาก ซึ่งคาดว่าจะส่งผลต่อราคาข้าวเวียดนามให้ถูกลง ทำให้ประเมินว่า การส่งออกข้าวไทยจะถดถอยลงไป นอกจากนี้คาดว่า พ.ค.ปีหน้า อินเดียจะมีการเลือกตั้ง เชื่อว่าทางการน่าจะยกเลิกแบนส่งออกข้าวไปก่อน หลังราคาภายในประเทศปรับตัวลดลงแล้ว และหากแบนต่อไป เกษตรกรไม่น่าจะพอใจ ”นายชูเกียรติ กล่าว
ทั้งนี้ หากพ.ค.ปี 2567 อินเดียยกเลิกแบนการส่งออกข้าวจริง จะส่งผลทำให้ข้าวอินเดียมีราคาถูกว่าไทยมาก อาจทำให้ส่วนแบ่งการตลาดของไทยหดหายไป ขณะที่ประเทศผู้ซื้อหลักๆ เช่น อินโดนิเชีย และฟิลิปปินส์ อาจจะซื้อข้าวน้อยมาก เพราะปี 2566 ได้ซื้อข้าวไปแล้วจำนวนมาก อย่างเช่น อินโดฯ ก็ได้ซื้อเพื่อกักตุนไปแล้วกว่า 3 ล้านตัน ในช่วงที่อินเดียประกาศมาตรการแบนการส่งออก รวมทั้งเพื่อรับมือกับปรากฎการณ์เอลนีโญด้วย เพราะกลัวข้าวขาดตลาด ประกอบกับปัจจุบันคู่แข่งในตลาดโลกมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้ปริมาณการส่งออกข้าวในปี 2567 ไม่น่าจะได้เท่ากับปี 2566
“จากปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมา ทำให้คาดว่าการส่งออกข้าวไทยในปี 2567 ไม่สดใสเท่าปี 2566 ในเรื่องเชิงราคาในช่วงครึ่งปีแรก ก่อนที่อินเดียจะมีประกาศยกเลิกมาตรการแบนส่งออกออกมา ราคน่าจะยืนอยู่ในระดับที่ดี ยังขายได้ แต่ครึ่งปีหลังก็ต้องจับตาว่า อินเดียจะยกเลิกแบนมั้ย ถ้ายกเลิกจริง ก็จะทำให้ราคาข้าวในตลาดโลกร่วงลงมาแน่นอน” นายชูเกียรติ กล่าว
ขณะที่ เรื่องเสถียรภาพของค่าเงินบาท ก็เป็นอีกปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตา หลังจากขณะนี้มีความผันผวนอย่างมาก ซึ่งทำให้ผู้ส่งออกกำหนดราคาขายได้ยากลำบากมากขึ้น เช่นเดียวกับผู้ซื้อก็กำหนดราคาได้ซื้อยากขึ้น อย่างไรก็ตามมองว่า การทำป้องกันความเสี่ยงค่าเงินผันผวน(Hedging) นั้น มีค่าขายคอมมูนิตี้ หรือ ข้าว มี Margin ต่อหน่วยน้อยมาก ไม่เหมือนสินค้าอุตสาหกรรม แต่ส่วนใหญ่ตกลงกันด้วยปริมาณมากกว่า ขณะที่การ Fixed Rate จะไม่สามารถใช้ราคานั้นตลอด
สำหรับทางออกข้าวไทยหลังเสียความสามารถการแข่งขันนั้น ยังคงมองว่า ไทยควรต้องหาทางลดต้นทุนการผลิตต่อไร ให้ต่ำลงให้ได้ คือ ต้องมีพันธุ์ข้าวที่มีผลผลิตต่อไร่สูง ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้อุตสาหกรรมข้าวไทยเติยโตได้อย่างยั่งยืนในอนาคต
“ที่ผ่านมาภาคเอกชนได้มีเสนอแนะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาตลอด แต่ก็เป็นเหมือนไฟไหม้ฟางมาก สุดท้ายก็เงียบไป ไม่มีใครฟัง” นายชูเกียรติ กล่าว