posttoday

ทรู คอร์ปอเรชั่น บุกนครพนม เจาะเศรษฐกิจสายมู

16 มีนาคม 2567

ด้วยจุดเด่นเมืองสัญลักษณ์แห่งความเชื่อ ดันนักท่องเที่ยว -เศรษฐกิจเติบโต เดินหน้าการตลาดมูเตลู ดึงหมอดูชื่อดังปั้นเบอร์มงคล

นายมนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ภาคอีสานนับเป็นอีกหนึ่งภูมิภาคสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีค่า GDP เทียบเท่า 10% ของ GDP ประเทศ รองจากภาคกลาง และภาคตะวันออกตามข้อมูลของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) 

สำหรับจังหวัดนครพนมแม้เป็นเมืองรองแต่เป็นเมืองที่มีศักยภาพความพร้อม ทั้งต้นทุนด้านเศรษฐกิจมีการค้าชายแดน ต้นทุนธรรมชาติ ตั้งอยู่ริมน้ำโขงและแนวภูเขา และมีต้นทุนวัฒนธรรม และเป็นเมืองสัญลักษณ์ความศรัทธาในวัดและความเชื่อพญานาค 

 

ด้วยจุดเด่นเหล่านี้ เมื่อเสริมด้วยศักยภาพดิจิทัลที่แข็งแกร่งของทรู คอร์ปอเรชั่น ก็จะเป็นเสมือนกลไกที่สำคัญ (Growth Engine) ที่จะช่วยทรานฟอร์มเศรษฐกิจดิจิทัลในจังหวัดนครพนมให้เติบโตสู่เมืองหลักได้อย่างรวดเร็ว 

ทรู คอร์ปอเรชั่น บุกนครพนม เจาะเศรษฐกิจสายมู นายมนัสส์ กล่าวว่า เทรนด์การท่องเที่ยวภาคอีสานจะมุ่งสู่เมืองรองเพิ่มมากขึ้น สะท้อนจากจำนวนและรายได้ของผู้เยี่ยมเยือน โดยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐที่พัฒนาเมืองรองสู่เมืองหลัก โดยนครพนมและศรีสะเกษเป็น 2 จังหวัดนำร่องจากภาครัฐ

ทรู คอร์ปอเรชั่น บุกนครพนม เจาะเศรษฐกิจสายมู ทรู คอร์ปอเรชั่น บุกนครพนม เจาะเศรษฐกิจสายมู

ข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุ การท่องเที่ยวภาคอีสานขยายตัวต่อเนื่องตามจำนวนผู้เยี่ยมเยือนคนไทยเพิ่มขึ้นตามเทศกาลสำคัญในภาคอีสานและทำให้มีนักท่องเที่ยวเดินทางข้ามจังหวัดเพิ่มมากขึ้น อัตราเข้าพักเพิ่มมากขึ้น 66.1% (ข้อมูล พ.ย. YoY)

จากข้อมูลอีสานอินไซต์คาดว่าปี 2567 นี้จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นเป็น 2.9 ล้านคน จากนโยบายสนับสนุนการท่องเที่ยวของรัฐบาลไทย กระตุ้นการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยเฉพาะมาตรการยกเว้นวีซ่า และคาดการณ์เศรษฐกิจอีสานในปี 2567 จะโตเพิ่มขึ้น 2.8%

ด้านนายประเทศ ตันกุรานันท์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยี กล่าวว่า สำหรับการพัฒนาเครือข่ายของภาคอีสานโดยเฉพาะจังหวัดนครพนมที่มีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยรับกับกระแสปีมังกรและการท่องเที่ยวเมืองรอง ทรูขยายทั้งโครงข่าย 5G และ 4G เพื่อการใช้งานดิจิทัล โดยเฉพาะสถานที่ท่องเที่ยว เช่น ถ้ำนาคี พระธาตุพนมซึ่งเป็นศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์ของอีสาน รวมถึงพื้นที่บริเวณริมโขง เช่น ถนนคนเดิน และเขตเศรษฐกิจต่างๆ ที่มีการขยายตัวเพื่อพัฒนาโครงข่ายรองรับการเติบโต อีกทั้ง มีการใช้ AI เข้ามาวิเคราะห์และตรวจสอบคุณภาพเครือข่ายอีกด้วย

ทั้งนี้ ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้นำศูนย์ปฏิบัติการเครือข่าย AI อัจฉริยะ BNIC (Business Network Intelligence Center) วิเคราะห์พฤติกรรม แนวโน้มอีสาน และนครพนม พร้อมขยายเครือข่ายและเพิ่มสัญญาณแบบเจาะลึกเฉพาะพื้นที่ทั่วประเทศ อัตราการเติบโตการใช้ดาต้า พบว่า ทั่วประเทศเฉลี่ย 15.59%,อีสาน 13.14% และจังหวัดนครพนม 14.34%

ตามข้อมูลพบว่านครพนมเป็นจังหวัดที่มีอัตราการใช้ดาต้าที่พุ่งสูงติดเทรนด์ และมีการใช้งานมากกว่าอัตราเฉลี่ยของจังหวัดในภาคอีสาน รับกับกระแสท่องเที่ยวเมืองรองที่เติบโตมากขึ้น ความท้าทายในการวางระบบเน็ตเวิร์ค คือ ต้องออกแบบให้เหมาะสมกับการใล้งาน เพราะเป็นจังหวัดที่พื้นที่กว้าง ประชาดีอยู่กระจัดกระจาย จึงเน้นใช้ระบบ 4G ให้เต็มที่ก่อน ส่วนระบบ 5G ออกแบบเฉพาะพื้นที่เมือง นอกจากนี้เสาโทรคมนาคมของที่นครพนม จำนวน 1 ใน 4 ของเสา ทั้งหมด หรือ 94 ต้นใช้โซล่าเซลล์ 

ด้านนางสาวทิพยรัตน์ แก้วศรีงาม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการจัดการระดับภูมิภาค กล่าวว่า นครพนม มีประชากร 700,000 คน ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร มีนักท่องเที่ยว 90,000 คน และมีเป้าหมายเติบโตเป็น 120,000 คน อัตราการเติบโตสมาร์ทโฟนอยู่ที่ 15%

โดยนครพนมเป็นจังหวัดดาวรุ่งเมืองท่องเที่ยว และเป็นจังหวัดที่มีความสุขมากที่สุด เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีสถานที่ท่องเที่ยวเกี่ยวกับความเชื่อจำนวนมาก 

ทรู คอร์ปอเรชั่น บุกนครพนม เจาะเศรษฐกิจสายมู

ดังนั้น การทำตลาดของภาคอีสาน จึงต้องมุ่งเน้นการวิเคราะห์ให้ตรงกับกลุ่มลูกค้าในพื้นที่ โดยมีไฮไลท์การนำกระแสความเชื่อ หรือ ‘มูเตลู’ มาประสานกับการทำการตลาดในภาคอีสานและนครพนม อาทิ ‘เบอร์มงคล ยุค 9’ ที่ออกแบบ ตรงดวง ตรงวันเกิด ตรงลัคนาราศี เสริมจุดเด่น แก้จุดด้อย เปลี่ยนชีวิตให้ก้าวหน้า เสริมความรัก การงาน การเงิน ให้ดวงปังต่อเนื่อง จากอาจารย์ระดับประเทศ คือ อาจารย์ช้าง ทศพร ศรีตุลา เจ้าตลาดศาสตร์ตัวเลข และ อาจารย์ลักษณ์ ราชสีห์ นักโหราศาสตร์อันดับ 1 นอกจากนี้ ยังมีอาจารย์ชื่อดังจังหวัดนครพนม คือ อาจารย์ภัท นารายณ์รักษ์ อาจารย์มิว ลักกี้สตาร์ และท่านอื่นๆ ที่ให้บริการลูกค้าสายมูแบบเฉพาะบุคคลที่ภาคอีสานและนครพนม