สรรพากร เร่งถก BOI ออกมาตรการลดผลกระทบกฎหมายเก็บภาษีข้ามชาติ 15%
สรรพากร คาดเม็ดเงินจากการเก็บภาษีบริษัทข้ามชาติปีละ 12,000 ล้านบาทจะเข้ารัฐได้ในช่วงมิ.ย.67 พร้อมเร่งถกBOI ออกมาตรการลดผลกระทบ 12,000 กลุ่มบริษัทจากมาตรการรีดภาษี
นายภาณุวัฒน์ เหลืองวิไล รองอธิบดี และโฆษกกรมสรรพากร กล่าวถึง การบังคับใช้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ภาษีส่วนเพิ่ม พ.ศ. 2567 หรือการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลขั้นต่ำทั่วโลก Global Minimum Tax (GMT) ในอัตราขั้นต่ำ 15% จากบริษัทนิติบุคคลข้ามชาติว่า กฎหมายดังดล่าว มีผลใช้บังคับแก่นิติบุคคลข้ามชาติ ขนาดใหญ่ที่มีรายได้ไม่น้อยกว่า 750 ล้านยูโร โดยเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2568 เป็นต้นไปนั้นคาดว่า จะมีรายได้เข้ารัฐครั้งแรกราวเดือน มิ.ย. 2567 ประมาณปีละ 12,000 ล้านบาท
ทั้งนี้กรมประเมินว่าจะมีผู้กลุ่มบริษัทนิติบุคคลข้ามที่ได้รับผลกระทบในไทย แบ่งเป็น Thai MNE ประมาณ 100 กลุ่มบริษัท และ Foreign MNE หรือ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลข้ามชาติ ประมาณ 1,100 กลุ่มบริษัท
สำหรับผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับการขอรับการส่งเสริมการลงทุนกับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) นั้น ขณะนี้ทางกรมสรรพากร และ BOI อยู่ระหว่างการหารือเพื่อหามาตรการเพื่อลดผลกระทบ 1,000 บริษัทที่ถูกผลกระทบจัดเก็บภาษีที่ผ่านมากรมสรรพากร และ BOI ทำงานใกล้ชิดกันมาโดยตลอด แต่หน้าที่แตกต่างกัน โดย BOI มีหน้าที่ดึงเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติ อย่างไรก็ตามผลกระทบการสิทธิประโยชน์ทงภาษีเกิดขึ้นทั่วโลกเช่นกัน โดยเชื่อว่าการให้สิทธิประโยชน์จะถูกเปลี่ยนโฉมไป
อย่างไรก็ดี พ.ร.ก. ภาษีส่วนเพิ่ม พ.ศ. 2567นั้น ได้กำหนดให้กลุ่ม MNEs ขนาดใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย ไม่ว่ากลุ่ม MNEs ของไทยที่ลงทุนในต่างประเทศ หรือกลุ่ม MNEs ของต่างประเทศที่ลงทุนในประเทศไทยที่มีรายได้ตามงบการเงินรวม (Consolidated Financial Statements) ของบริษัทแม่ลำดับสูงสุดไม่น้อยกว่า 750 ล้านยูโรอย่างน้อย 2 ใน 4 รอบระยะเวลาบัญชีก่อนหน้ารอบระยะเวลาบัญชีที่พิจารณาหน้าที่การเสียภาษีส่วนเพิ่ม ต้องเสียภาษีในอัตราภาษีที่แท้จริง (Effective Tax Rate : ETR) 15% โดยมีผลใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 ม.ค. 2568 เป็นต้นไป
นอกจากนี้ ยังกำหนดให้มีวิธีการจัดเก็ฐภาษี 3 รูปแบบตาม Model Globe Rules ได้แก่ 1. ภาษีส่วนเพิ่มภายในประเทศซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ (Domestic Minimum Top-up Tax : DMTT) 2. กฎการรวมเงินได้ซึ่เงป็นไปตามเกณฑ์ (Income Inclusion Rule : IIR) และ 3. กฎการจัดเก็บภาษีส่วนเพิ่มคงเหลือ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ ( Undertaxed Payments Rule : UTPR)
พ.ร.ก. ภาษีส่วนเพิ่ม พ.ศ. 2567 จะทำให้ประเทศไทยไม่ถูกกัดกร่อนฐานภาษีและถ่ายโอนกำไร (Base Erosion and Profit Shifting : BEPS) และจะทำให้ประเทศไทยมีรายได้ภาษีเพิ่มขึ้น สามารถรักษาสิทธิการจัดเก็บภาษีในฐานะประเทศแหล่งเงินได้ โดยคาดว่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้นนปีละ 12,000 ล้านบาท