คลัง กาง 5 แผนเร่งเครื่องดันเศรษฐกิจไทยปี 68 โต 3.5%

30 มกราคม 2568

คลัง เผยอุตสาหกรรมรถสันดาบ ฉุดจีดีพีไทยปี 67 โตแผ่ว จากคาดการณ์เดิม 2.7% ปัธง 5 แผนเข็นจีดีพีปี 68 โตแตะ 3.5% ฟุ้งแจกเงิน 10000 เฟส 1 ช่วยหนุนเศรษฐกิจโตเพิ่ม 0.3%

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าวว่า กระทรวงการคลังได้ประมาณการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2567 ว่าจะขยายตัวได้ 2.5% ลดลงจากคาดารณ์เดิมที่ 2.7%  โดยได้แรงหนุนจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเท่ากบ 35.5 ล้านคน ภาคการบริโภคภาคเอกชน ขยายตัว  4.7% ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่สูงขึ้น  และการส่งออก ที่คาดว่าจะขยายตัว 5.9% แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่การบริโภคภาครัฐคาดว่าขยายตัว 0.6 และภาคการลงทุนคาดว่าขยายตัว 2.1% อย่างไรก็พบว่าภาคการลงทุนภาครัฐหดตัวที่ -2.7%  

ประมาณการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2568 ว่าจะขยายตัวเร่งขึ้นอยู่ที่ 3.0% ต่อปี โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 2.5-3.5% โดยมี 4 ปัจจัยบวกที่เป็นแรงสนับสนุน ได้แก่ การบริโภคภาคเอกชน การส่งออก การท่องเที่ยว และการลงทุนทั้งภาคเอกชน และภาครัฐ โดยการบริโภคภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่อง  3.3 ต่อปี ส่วนหึ่งเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง มูลค่าการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัว 4.4% สอดคล้องความต้องการของตลาดโลกและเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ปรับัวดีขึ้น ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวต่อเนื่องจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 38.5 ล้านคน ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนรายได้ และส่งเสริมภาคการบิรการและภาคการผลิตที่เกี่ยวข้อง

อย่างไรตาม เชื่อว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้มีโอกาสที่จีดีพีของไทยขยายตัวได้เพิ่มขึ้นเป็น 3.5% หากภาครัฐและหน่วยงานเที่เกี่ยวข้อง ได้มีการร่วมเกี่ยวข้องสามารถขับเคลื่อนและบริหาร 5 ปัจจัยเพื่อเพิ่มจีดีพีได้ 5% ได้แก่
1.เร่งรัดเบิกจ่าย ทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายการลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย โดยเฉพาะรายจ่ายการลงทุนให้ได้ 80% ตามเป้าหมาย โดยการจีดีพี (เพิ่มขึ้น 5% คือ 4.65 หมื่นล้านบา)ได้จีดีพี 0.11 %
2.ติดตามกระบวนการใช้จ่ายของโครงการดิจิทัล วอลเล็ต เฟส3 เพื่อทำให้เม็ดเงินทั้งหมดถูกใช้จ่ายหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ดันให้จีดีเพิ่มขึ้น 0.1% จากกรณีปกติ
3.ติดตามการลงทุนบ้านเพื่อคนไทย โดยเบื้อต้นเม็ดเงินในปี 2568 จะมีเม็ดเงินการลงทุนที่ 830 ล้านบาท ได้จีดีพีราว 0.002% 
4.กระตุ้นการท่องเที่ยวในภาพรวมและช่วงซีเกมส์ เพื่อจูงใจให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาไทยมากกว่าเป้าหมาย หากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 5 แสนคน จะดันจีดีพีเพิ่มขึ้นราว 0.15%
5.การเร่งรัดโครงการลงทุนของเอกชนที่ได้รับการออกบัตรส่งเสริมการลงทุน โดยเฉพาะโครงการ Data Center และ Cloud Region หากลงทุนจริงได้รวม 7.5 หมื่นล้านบาท จะช่วยสนับสนุนจีดีพี 0.19%
 

ถ้าทำได้หมดทั้ง 5 ข้อ ก็มีโอกาส 100% ที่เศรษฐกิจไทยในปีนี้จะขยายตัวแตะ 3.5% ซึ่งคลังมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตร่วมกับหน่วยงานทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง ผ่านเครื่องมือการคลังในมิติต่าง ๆ ส่วนนโยบายการเงินก็จะต้องดำเนินการควบคู่กันไป โดยในเดือน ก.พ. นี้ จะมีการหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์) เพื่อพูดคุยเรื่องทิศทางเศรษฐกิจ นโยบายการเงิน และนโยบายการคลัง ว่ารูปแบบจะออกมาเป็นอย่างไร ซึ่งที่ผ่านมามีการพูดคุยกันปกติอยู่แล้ว แต่อาจจะเข้มข้นมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างใกล้ชิดด้วย ได้แก่ แนวนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐฯ การนำเข้าสินค้าจากประเทศที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายสหรัฐที่เพิ่มขึ้นกับผลกระทบต่อภาคการผลิตของอุตสาหกรรมไทย ความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าไทย โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีน ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์โลกในหลายภูมิภาค และปัญหาหนี้ครัวเรือนและภาคธุรกิจของไทย ซึ่งอาจกระทบกำลังซื้อและการใช้จ่ายในระยะต่อไป

 ขณะที่ผลจากโครงการเติมเงิน 10000 บาท ให้กับกลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และกลุ่มเปราะบาง วงเงิน 1.45 แสนล้านบาท นั้น ได้ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจราว 0.3% จากการเก็บข้อมูลของหน่วยงานต่าง ๆ พบว่า กว่า 76% ของผู้ที่ได้รับเงินมีการใช้จ่ายจริง โดยในส่วนนี้กว่า 96% เป็นการใช้จ่ายกับร้านค้าชุมชน และร้านค้าขนาดเล็ก ซึ่งสะท้อนกว่าได้มีเม็ดเงินในส่วนนี้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจขนาดเล็กอย่างแท้จริง และส่วนที่เหลือมีการเก็บออมและนำไปชำระหนี้ ขณะที่ประชาชนที่ได้รับเงินราว 70-80% มีการวางแผนการใช้เงินระยะสั้นช่วง 1-3 ปี ซึ่งในส่วนนี้ได้ส่งผลดีมาถึงต้นปี 2568 ด้วย

Thailand Web Stat