คลัง เผยยอดโอนคอนโดฟื้นตัว ธอส.มั่นใจไร้ทิ้งใบจอง-ยกเลิกสัญญา

02 เมษายน 2568

เผ่าภูมิ รมช.คลัง เผยยอดโอนคอนโดฟื้นตัวใน 2 วันหลังแผ่นดินไหว โวมาตรการรัฐฟื้นเชื่อมั่นรวดเร็ว ด้านธอส. มั่นใจผลกระทบจำกัด 3 เดือน คาดสินเชื่อบ้านปี 68 โตใกล้ 6 แสนล้าน

นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวในงาน สัมมนาประจำปี 2568
สมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย ในหัวข้อ “ ทิศทางและมาตรการส่งเสริมที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์ ” ว่า ภาคอสังหาริมทรัพย์ถือเป็นภาคที่สำคัญต่อเศรษฐกิจไทย โดยมีบทบาทที่สำคัญในจีดีพีของประเทศ เนื่องจากมีบทบาทสำคัญใน Supply Chain ที่กว้างขวาง ทั้งในด้านการก่อสร้าง การผลิตวัสดุก่อสร้าง การจ้างงาน และการกระตุ้นภาคธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกระทบต่อจีดีพีโดยตรง หากเศรษฐกิจภาคอสังหาฯ ขยายตัวก็จะกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวม แต่หากหดตัวก็จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจไทยอย่างรุนแรง


แม้เศรษฐกิจไทยในปี 2566 มีแนวโน้มดีขึ้น แต่อสังหาริมทรัพย์ยังคงซบเซา แม้จะมีมาตรการช่วยเหลือ เช่น การลดค่าธรรมเนียมโอนและจดจำนอง รวมถึงการผ่อนคลายเกณฑ์ LTV อย่างไรก็ตาม รัฐบาลต้องช่วยกระตุ้นดีมานด์และซัพพลายให้สมดุล โดยเฉพาะการสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อเพิ่มกำลังซื้อ

สำหรับผลกระทบจากแผ่นดินไหว นายเผ่าภูมิระบุว่า ความเชื่อมั่นของตลาดสามารถฟื้นตัวได้รวดเร็ว หากมีการดำเนินมาตรการที่เหมาะสมและใช้หลักวิทยาศาสตร์เป็นฐานข้อมูล ล่าสุด ธอส. รายงานว่ายอดโอนที่อยู่อาศัยกลับสู่ภาวะปกติแล้ว

 

ทั้งนี้ ล่าสุด ได้รับรายงานจากผู้บริหารธนาคารอาคารสงเคราะห์ว่า ยอดการโอนที่อยู่อาศัยคอนโดมิเนียม ได้กลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว สะท้อนการฟื้นฟูความเชื่อมั่นของรัฐบาลทำได้ดีและรวดเร็ว

 

ในสองวันหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว เราเห็นการกลับเข้าสู่เทรนเดิมของยอดการโอนในตึกสูง ซึ่งสะท้อนถึงการฟื้นฟูความเชื่อมั่นได้อย่างรวดเร็วจากการดำเนินมาตรการของรัฐบาล ซึ่งทำได้ดีและรวดเร็ว ซึ่งในมุมมองของผม การฟื้นฟูนี้ถือว่าเป็นการกลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติอย่างรวดเร็ว แม้จะมีความคิดเห็นต่างกันบ้าง แต่ก็สามารถฟื้นความเชื่อมั่นกลับมาได้อย่างทันท่วงที

 

ทางเศรษฐกิจมีผลกระทบต่อทางเศรษฐกิจสูง เพราะฉะนั้นรัฐบาลทุ่มทุกสถาบันในการดึงความเชื่อมั่นกลับมาแล้ว วิทยาศาสตร์คือคําตอบในเรื่องของความเชื่อมั่นในการที่จะดึงกลับมา นะครับ ก็ไม่อยากใช้เวลามากกว่านี้ใน การที่ที่จะพูดถึงเรื่องธุรกิจอ สังหาริมทรัพย์


ในปี 2568 คาดว่า หากภาครัฐผลักดันมาตรการกระตุ้น เช่น ปรับเกณฑ์ LTV และลดค่าธรรมเนียมโอนและจดจำนองอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้ยอดโอนอสังหาฯ เติบโต 9.7% โดยเฉพาะในกลุ่มบ้านราคาต่ำกว่า 7 ล้านบาท

ข้อมูลชี้ว่า หากใช้มาตรการเพียง 1 อย่าง ซัพพลายจะโต 16.8% และดีมานด์เพิ่ม 1.6% แต่หากไม่มีมาตรการเลย ซัพพลายจะหดตัว -0.8% และดีมานด์ลดลง -3.5% อย่างไรก็ตาม หากใช้ 2 มาตรการควบคู่กัน ซัพพลายจะขยายตัวถึง 22.6% และยอดโอนเติบโต 9.7%"มาตรการ จะเพิ่มขึ้น 1.6% แต่หากไม่มีมาตรการเลย ดีมานด์จะลดลง -3.5% อย่างไรก็ตาม หากใช้ 2 มาตรการพร้อมกัน ยอดการโอนจะขยายตัวได้ถึง 9.7%

 

ดังนั้น ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า การใช้มาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ควบคู่กัน จะเป็น ปัจจัยสำคัญที่ช่วยกระตุ้นตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ด้านนายกมลภพ วีระพละ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ยอดการโอนที่อยู่อาศัยและคอนโดมิเนียมกลับมาใกล้เคียงภาวะปกติแล้ว โดยปัจจุบันมียอดโอนเฉลี่ยวันละ 400 ราย หลังจากภาครัฐและผู้ประกอบการร่วมมือกันสร้างความเชื่อมั่น ตรวจสอบความแข็งแรงของโครงสร้างอาคาร ทำให้ลูกค้ากลับมาตัดสินใจโอนได้ตามปกติ

 

แม้ในช่วงวันแรกหลังเกิดแผ่นดินไหว จะมีลูกค้าชะลอการโอนบ้าง แต่เป็นเพียงระยะสั้น และไม่น่าจะส่งผลให้เกิดการยกเลิกสัญญาซื้อขาย โดยความต้องการที่อยู่อาศัยยังคงมีต่อเนื่อง ทั้งบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ และคอนโดมิเนียม คาดว่าผลกระทบดังกล่าวจะไม่เกิน 3 เดือน ก่อนที่ตลาดจะกลับสู่ภาวะปกติ

 

ในไตรมาสแรกของปี 2568 ธอส. ปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยไปแล้ว 46,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12,000 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะกลุ่มบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์ ที่มียอดปล่อยกู้เติบโต 20% ซึ่งได้รับปัจจัยหนุนจากการลดดอกเบี้ยนโยบาย

 

สำหรับแนวโน้มสินเชื่อที่อยู่อาศัยใหม่ในปี 2568 คาดว่าจะขยายตัว 1.1% คิดเป็นวงเงิน 5.93 แสนล้านบาท ปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อนที่ติดลบ 13.4% โดยมีแรงหนุนจากความต้องการที่อยู่อาศัยของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มที่ยังไม่มีบ้านเป็นของตนเอง

 

เศรษฐกิจไทยในปีนี้คาดว่าจะขยายตัว 2.2-3.2% โดยได้รับแรงหนุนจากการใช้จ่ายภาครัฐ การบริโภคภาคเอกชน และอัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวระดับต่ำ รวมถึงมาตรการผ่อนคลายเกณฑ์ LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตาม ได้แก่ หนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง นโยบายปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวดของธนาคารพาณิชย์ และผลกระทบทางจิตวิทยาจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว อาจทำให้เกิดการชะลอการซื้อคอนโดฯ ในระยะสั้น

 

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังมีศักยภาพเติบโตต่อเนื่อง หากภาครัฐสามารถผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ จะช่วยให้ประชาชนมีโอกาสเป็นเจ้าของบ้านมากขึ้น และกระตุ้นการเติบโตของภาคอสังหาริมทรัพย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 

Thailand Web Stat