กรณ์ จาติกวณิช อ่านเกมส์ทรัมป์ หลังท่าทีเริ่มอ่อนลง ต่อจีน และกรณีปลดประธานเฟด
กรณ์ จาติกวณิช วิเคราะห์ท่าทีทรัมป์เริ่มอ่อนข้อ ทั้งต่อจีนและกรณีปลดประธานเฟด ชี้สถาบันหลักในสหรัฐฯ เริ่มแสดงบทบาทคานอำนาจแนวทางป๊อปปูลิสต์
กรณ์ จาติกวณิช โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว กรณ์ จาติกวณิช - Korn Chatikavanij วิเคราะห์ท่าทีของประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ เริ่มอ่อนลง ระบุว่า
อ่านเกมส์ทรัมป์กันต่อ
ล่าสุด ..
ท่าทีอ่อนลงมากกับจีน
อ่อนลงเรื่องการปลด Jerome Powell (Fed)
เกิดอะไรขึ้น?
ในการตัดสินใจการลงทุนระยะยาว เราต้องตัดสินใจว่า เหตุการณ์สองเดือนที่ผ่านมาจะส่งผลเปลี่ยนแปลงอเมริกา (และเงินดอลล่าร์) แค่ชั่วคราวหรือถาวร
ในการตอบโจทย์คำถามนี้ ผมว่าประเด็นสำคัญคือคำถามว่า ระบอบการปกครองหลักของอเมริกาจะทานวิถี populist ของ Trump ได้หรือไม่ ซึ่ง วันสองวันที่ผ่านมาเริ่มเห็นสัญญานบวกว่า 'ได้'
ผู้นำแนว populist มักจะวางตนเหนือสถาบันถ่วงดุลในระบอบประชาธิปไตย เช่นองค์กรอิสระและศาล พวก populist มักจะอ้างว่า 'พวกองค์กรเหล่านี้ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง'
ทรัมป์ก็เป็นเช่นนี้ แต่อาทิตย์ที่ผ่านมานี้ เริ่มเห็นว่าสถาบันสำคัญในระบอบการปกครองของอเมริกามีความพร้อมในการทำหน้าที่คานเขาได้ในระดับหนึ่ง
อันดับแรกคืออำนาจการปลด Chairman ของ Fed ซึ่งกฎหมายของอเมริกาคล้ายของแบงค์ชาติเรา (เราลอกเขามา) คือถ้าไม่มีอะไรผิดจริง ปลดไม่ได้
เดิมทรัมป์บอกจะปลด แต่เจอข้อเท็จจริงทางกฎหมายก็มีถอย
อีกองค์กรหนึ่งคือ Supreme Court ซึ่งได้ออกคำสั่งห้ามทรัมป์ส่งชาวต่างด้าวจากเวเนซุเอลาสองคนกลับประเทศโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมตามกฎหมาย
นอกจากนั้น มหาวิทยาลัย Harvard และอื่นๆก็ได้ยื่นฟ้องทักท้วงการตัดงบประมาณ
ทั้งหมดนี้เป็นสัญญาณว่า ในอเมริกา check and balance ยังมี
แต่ที่มีนํ้าหนักมากที่สุดในการถ่วงดุลคือ ‘กลไกตลาด’ โดยเฉพาะตลาดเงินตลาดทุน รวมไปถึง 'ตลาดคะแนนเสียงประชาชน' ในเวทีเลือกตั้ง ซึ่งด่านแรกคือการเลือก mid-term ในอีกปีกว่าๆ
ข่าวเรื่อง tariff ก็แย่อยู่แล้ว แต่ประเด็นการแทรกแซงแบงค์ชาติโดยทรัมป์ส่งผลอย่างแรงกับความเชื่อมั่น แม่แต่ทรัมป์ก็หนีกลไกตลาดไม่ได้
ปรากฏการณ์ The Art of Back-tracking จึงเริ่มชัดเจนขึ้น
สุดท้ายระบบเศรษฐกิจ (และสังคม) ของอเมริกายังอาจไม่ล่มสลายได้ง่ายๆเพราะเหตุนี้ ถดถอยบ้างแต่ยังไม่ถึงกับฟื้นไม่ได้