Schneider Electric กับ 6 พันธกิจบนหลักการ ESG
Schneider Electric บริษัทผู้เชี่ยวชาญระดับโลกด้านการจัดการพลังงาน ได้เน้นถึง ยุทธศาสตร์เรื่องความยั่งยืน ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องลงมือทำเลย โดยเรื่อง sustainability ต้องทำโดยภาคธุรกิจทั้งวงจร พร้อมเปิด 6 พันธกิจด้าน ESG
Exclusive insinght sustainability Talk จัดขึ้นโดย กรุงเทพธุรกิจ X Schneider Electric ที่ โรงแรมสินธร เคมปินสกี กรุงเทพ ในวันที่ 20 มีนาคม 2566 โดย Schneider Electric ซึ่งเป็นบริษัทผู้เชี่ยวชาญระดับโลกด้านการจัดการพลังงาน โดยสเตฟาน นูสส์ (Stephane NUSS) ประธานกลุ่มคลัสเตอร์ ดูแลประเทศไทย ลาว และเมียนมา Schneider Electric เปิดเวทีเสวนา เน้นย้ำถึงประเด็นที่บริษัทให้ความสำคัญ คือยุทธศาสตร์เรื่องความยั่งยืนและธุรกิจดิจิทัล โดยบริษัทมีความมุ่งมั่นเพื่อให้ถึงเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศและสังคมอย่างยั่งยืน ทั้งการลงทุนที่ยั่งยืน นโยบายสร้างความทัดเทียมทางเพศ รวมถึงการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ช่วยให้องค์กรไปสู่ความยั่งยืน ซึ่งบริการของ Schneider Electric ที่ช่วยให้ลูกค้าทั่วโลกลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ได้มหาศาล และสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้องค์กรยั่งยืน และโลกจะยั่งยืนควบคู่กันไป เพราะการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เป็นทางออกที่ดีที่สุดเพื่อให้โลกอยู่รอดในอนาคต
ขณะที่ กเว็นนาเอล อาวิส เอว็ท Gwenaelle Avice-Huet ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านกลยุทธ์และความความยั่งยืน Schneider Electric แสดงวิสัยทัศน์ว่า เวลานี้ทุกบริษัททั่วโลกต้องให้ความสำคัญกับเรื่องความนยั่งยืน และ Schneider Electric มีคำมั่นสัญญาในการมุ่งมั่นมุ่งสู่ความโกกรีน โดยตั้งเป้าว่าภายในปี 2050 องค์กรจะไปสู่การเป็น Net zero และผลิตสินค้าต่างๆ ออกมา ไม่ให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อม
และ 6 คำมั่นสัญญาระยาวที่ Schneider Electric จะทำ คือเรื่อง Climate (สภาพภูมิอากาศ), Resources (ทรัพยากร) . equal (ความเท่าเทียม) , generations (เรื่องช่วงวัยต่างๆ ) , trust (ความเชื่อใจในผลิตภัณฑ์) และ Local (ท้องถิ่น) และทุกๆอย่างนั่น จะอยู่บนหลักการของแนวคิด ESG หรือ Environment, Social, และ Governance โดยย้ำว่าประเด็นเหล่านี้ ต้องทำทันที ทำเดี๋ยวนี้ ไม่มีเวลาสำหรับ คำว่า "รอ" อีกต่อไป ที่สำคัญจะทำคนเดียวไม่ได้ ทำหน่วยงานเดียว หรือบริษัทเดียวไม่ได้ แต่ทั้งทางรัฐ NGO ต้องช่วยกันด้วย
ที่ผ่านมา บริษัท Schneider Electric ได้ช่วยให้ ลูกค้าของบริษัททั่วโลก ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ได้ 440 ล้านตันตั้งแต่ปี 2018 โดยเฉพาะในปี 2022 สามารถลดก๊าซคาร์บอนได้ถึง 90 ล้านตัน นั่นหมายความว่า ช่วยให้องค์กรยั่งยืน และโลกยั่งยืนควบคู่กันไป เพราะการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เป็นทางออกที่ดีที่สุดเพื่อให้โลกรอด โดย บริษัทได้ บรรลุรายได้สูงสุดตลอดปีที่ผ่านมา อยู่ที่ 34,176 ล้านยูโร โตขึ้น 12 % (organic growth) จากปีที่ผ่านมา และ อยู่ในลิสต์รายชื่อ 100 Most Sustainable Corporations ประจำปี 2566 ซึ่งนับเป็นองค์กรที่ยั่งยืนที่สุดในโลกติดต่อกันเป็นปีที่ 12 และเป็นอันดับที่ 1 ในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน จากการจัดอันดับโดย Corporate Knights ด้วย
ขณะที่ อมร ทรัพย์ทวีกุล หนึ่งใน co-founder บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ Energy absolute (EA) ชี้ประเด็นว่า สำหรับเรื่อง sustainability หรือความยั่งยืน ยังเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ของสังคมไทย ต้องเติมความรู้ให้คนให้มาก เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญ และต้องทำให้คน ตั้งคำถามว่า ทำไมเราถึงต้องใช้ทุกอย่างเพื่อสิ่งแวดล้อม และทำไมเราต้องใช้ทุกอย่างเพื่อความยั่งยืน
จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและ CEO Bitkup Capital Group Houlding เสนอแนะว่า ในเรื่องของความยั่งยืนสำหรับธุรกิจ ต้องมีกลไกการให้รางวัลและการลงโทษ และจะบรรลุสิ่งนี้ด้วยความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนในระดับโลก เพื่อรับการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า และข้อมูลเชิงลึก ประการแรกคือเราไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ด้วยการบริโภคที่น้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทขนาดเล็ก พวกเขาต้องการผลผลิตมากขึ้น แต่กลับถูกควบคุมไม่ให้เพิ่มผลผลิต และอย่างที่สองคือ Insights คือเราต้องการเทคโนโลยีด้านสภาพอากาศที่สามารถเข้าถึงได้ ยุโรปกำลังกลายเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีของโลก แต่มีความไม่เท่าเทียมกันนี้ระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา และเพื่อให้เทคโนโลยีสามารถเข้าถึงได้ เราจำเป็นต้องใช้ Economy of Scale ซึ่งต้องมีใครสักคนที่ได้รับผลกระทบ ตัวอย่างเช่น บิล เกตส์ เขาจ่ายเงินเพิ่ม 7 ล้านเหรียญต่อปี เพียงเพื่อซื้อเชื้อเพลิงการบินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม บิล เกตส์อาจจ่ายได้ แต่ไม่ใช่คนอื่น บริษัทเกี่ยวกับการบินบอกว่า 30% ของเที่ยวบินทั้งหมดมาจากการเดินทางเพื่อธุรกิจขององค์กร และลองนึกดูว่าถ้าเราใช้กลยุทธ์แครอทกับไม้ โดยบอกว่าบริษัทขนาดใหญ่ทั้งหมดที่มีสัดส่วน 30% ของเที่ยวบินต้องซื้อการบินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แม้แพงขึ้นเล็กน้อย แต่เพียงเพื่อลดต้นทุนเพื่อให้ทุกคนสามารถประหยัดได้มากขึ้นสำหรับทุกคน เพื่อซื้อเชื้อเพลิงการปฏิวัติสีเขียว เห็นได้ชัดว่าการบริโภคน้อยลงไม่ใช่วิธีแก้ปัญหา และเขาบอกว่าเราต้องการความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ลดต้นทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่ตอนนี้ ต้นทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั้นสูงมากในหลายอุตสาหกรรม หลายประเทศจะไม่ซื้อปูนซีเมนต์เขียวเนื่องจากปูนซีเมนต์เขียวมีราคาแพงกว่าปูนแบบดั้งเดิมถึงสองเท่า ดังนั้นวิธีเดียวที่จะใช้มาตราส่วนจำนวนมากคือต้องแน่ใจว่าส่วนสีเขียวมีราคาถูกกว่าและประหยัดกว่า เพราะทุกคนต่างอยากให้ตนเองได้ประโยชน์สูงสุด และคุณต้องการความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชนเพื่อลดต้นทุนด้วยการจัดเตรียมลักษณะพิเศษและกลยุทธ์การให้รางวัลและการลงโทษ เราจึงต้องการระบบแรงจูงใจใหม่นี้ในระดับโลก
ด้าน นายฉาย บุนนาค ประธานกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เนชั่น กรุ๊ป ระบุว่า การทำธุรกิจใดๆในปัจจุบัน ไม่ใช่เน้นแค่เรื่องเงิน เรื่องตัวเลข หรือกำไรสูงสุดเพียงอย่างเดียวที่จะเป็นตัวพิสูจน์ความสำเร็จ แต่ต้องรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด รวมถึงคู่แข่งเพื่อสร้างธุรกิจที่ดี เนชั่นเป็นบริษัทสื่อ ที่ได้เริ่มรณรงค์เกี่ยวกับความยั่งยืนมาเกือบสามปีแล้ว จน ตอนนี้เป็นหนึ่งในเนื้อหาเสาหลักของเรา เราได้จัดงานและพูดคุยเกี่ยวกับหัวข้อนี้มากกว่าสี่ครั้งต่อปี เราตั้งเป้าว่าจะต้องประกาศแผนเกี่ยวกับ ESG ในไตรมาสที่สอง หมายถึงในอีกประมาณสามเดือน เรากำลังทำงานร่วมกับวท. เราได้ตั้งคณะกรรมการหรือ ESG เรียบร้อยแล้ว นี่คือสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ และเราขอขอบคุณ Schneider ในวันนี้ที่จัดการพูดคุยเชิงลึกสุดพิเศษกับเราในวันนี้ และเราหวังว่าจะมีการพูดคุยเช่นนี้อีกในอนาคต