'แบงก์ชาติ'แจง 'คลัง' เงินเฟ้อหลุดกรอบเหลือ 0.6% ไม่ใช่สัญญาณสภาวะเงินฝืด
แบงก์ชาติ แจง คลัง ชี้เงินเฟ้อ 12 เดือนหลุดกรอบเหลือเพียง 0.6% จากปัจจัยด้านอุปทานด้านอาหารและพลังงาน และการเข้ามาของสินค้าจีน แต่ไม่มีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และไม่ใช่สัญญาณสภาวะเงินฝืด
นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) และ ประธานคณะกรรมการนโยบายการเงิน ทำหนังสือเปิดผนึงถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ชี้แจงความเคลื่อนไหวของอัตราเงินเฟ้อ 12 เดือน พบว่าต่ำกว่าขอบล่างของเป้าหมายอยู่ที่ 0.6%
หนังสือได้ระบุว่า ตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีข้อตกลงร่วมกัน เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2567 กำหนดให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วง 1-3%เป็นเป้าหมายนโยบายการเงินด้านเสถียรภาพราคาสำหรับระยะปานกลาง และเป็นเป้าหมายสำหรับปี 2568 รวมถึงระบุให้ กนง. มีจดหมายเปิดผนึกหากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 12 เดือนที่ผ่านมาหรือประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 12 เดือนข้างหน้าเคลื่อนไหวออกนอกกรอบเป้าหมาย นั้น
เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568 อัตราเงินเพื่อทั่วไปที่เผยแพรโดยกระทรวงพาณิชย์ของเดือนมกราคม 2568 อยู่ที่ร้อยละ 1.3 ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 12 เดือนที่ผ่านมา (เดือนกุมภาพันธ์ 2567 ถึงเดือนมกราคม 2568) อยู่ที่ร้อยละ 0.6 ซึ่งต่ำกว่าขอบล่างของกรอบเป้าหมายนโยบายการเงินในปัจจุบัน
ดังนั้น กนง. จึงขอเรียนขี้แจงรายละเอียด ดังนี้
(1) การดำเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น
(2) สาเหตุที่เงินเฟ้ออยู่ต่ำกว่ากรอบเป้าหมายและแนวโน้มในระยะข้างหน้า และ
(3) นัยของอัตราเงินเฟ้อต่ำกับการขยายตัวของเศรษฐกิจ
(1) การดำเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น การดำเนินนโยบายการเงินมีพันธกิจหลักในการดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงิน(macro-financial stability) ผ่านการรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่ไปกับการรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน
ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับศักยภาพ โดยเสถียรภาพราคา หมายถึงสภาวะที่เงินเฟ้อต่ำและไม่ผันผวน ซึ่งไม่สร้างอุปสรรคหรือเป็นภาระต่อการวางแผนบริโภคและลงทุนของประชาชนโดยที่เงินเฟ้อระยะปานกลางยึดเหนี่ยวอยู่ในกรอบเป้าหมาย ทั้งนี้ การดูแลเสถียรภาพด้านราคาภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น (Flexle Inflation Targeting: FIT) โดยมีกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบช่วง (range target) ที่ร้อยละ 1-3 หมายความว่านโยบายการเงินจะมุ่งดูแลให้อัตราเงินเฟ้อในระยะปานกลางเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบเป้าหมายและไม่จำเป็นต้องอยู่ที่ค่าใดค่าหนึ่งตลอดเวลา โดยอัตราเงินเฟ้ออาจผันผวนออกนอกกรอบในระยะสั้นได้
กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่นเหมาะสมกับการดูแลเสถียรภาพราคาในบริบทเศรษฐกิจไทย เนื่องจากประเทศไทยเป็นเศรษฐกิจขนาดเล็กและเปิด พึ่งพาการนำเข้าพลังงาน และมีสัดส่วนของการบริโภคอาหารที่สูง ทำให้เงินเพื่อไทยมักผันผวนทั้งจากปัจจัยต่างประเทศและปัจจัยด้านอุปทานในประเทศ อาทิ ราคาน้ำมันโลกหรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ทั้งนี้ นโยบายการเงินจะมีบทบาทจำกัดในการตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงของราคาที่เป็นผลจากปัจจัยด้านอุปทาน (supply shock) โดยนโยบายการเงินจะมีบทบาทมากกว่าในการดูแลเงินเฟ้อที่มาจากการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าวิสัยทัศน์ เป็นองค์กรที่มองไกล มีหลักการ และร่วมมือ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนของไทยและบริการในวงกว้างที่สะท้อนอุปสงค์ที่สูงหรือต่ำกว่าศักยภาพเศรษฐกิจ (demand shock) หรือการคาดการณ์เงินเฟ้อที่หลุดลอยและอาจนำไปสู่ปัญหาเงินเฟ้อที่สูงหรือต่ำยืดเยื้อจนกระทบเสถียรภาพด้านราคาได้
ทั้งนี้ กรอบเงินเฟ้อที่ยืดหยุ่นแบบ Range taget และกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อเป็นระยะปานกลาง เอื้อให้นโยบายการเงินสามารถมองข้ามความผันผวนระยะสั้น และไม่จำเป็นต้องปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายบ่อยหรือแรงเกินไป ซึ่งอาจสร้างความผันผวนและส่งผลลบต่อเศรษฐกิจและระบบการเงิน
กรอบ FT มีความยึดหยุ่นส่งผลให้นโยบายการเงินสามารถดูแลเสถียรภาพด้านราคา ควบคู่ไปกับการรักษา macro-financial stability การที่นโยบายการเงินสามารถรักษาเงินเฟ้อในระยะปานกลางให้อยู่ในระดับต่ำและไม่ผันผวน ทำให้การกำหนดกลยุทธ์นโยบายการเงินสามารถหันมาดูแลเศรษฐกิจให้ขยายตัวได้ในระดับที่เหมาะสมและสอดคล้องกับศักยภาพ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สอดรับกับแนวนโยบายแห่งรัฐที่ต้องการให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างยั่งยืน รวมถึงดูแลความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงินควบคู่กันไปได้ด้วย
ทั้งนี้ ในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จำเป็นต้องคำนึงถึงและชั่งน้ำหนักระหว่างความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ต่อ macro-financial stability ทั้งในระยะสั้นและระยาว
โดยล่าสุดนโยบายการเงินให้น้ำหนักกับการดูแลความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ โดยในการประชุม กนง. เมื่อวันที่26 กุมภาพันธ์ 2568 ได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เนื่องจากประเมินว่า
(1) แนวโน้มเศรษฐกิจขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้และมีความเสียงสูงขึ้น
(2) ความเสี่ยงเสถียรภาพระบบการเงินปรับลดลดลงสะท้อนจากการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ที่ดำเนินต่อเนื่อง ขณะที่ภาวะการเงินมีแนวโน้มตึงตัวขึ้นและสินเชื่อชะลอตัวลง และ
(3) เสถียรภาพด้านราคาที่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยแนวโน้มเงินเฟ้อทรงตัวอยู่ใกล้เคียงขอบล่างของกรอบเป้าหมาย ในขณะที่เงินเฟ้อคาดการณ์ระยะยาวยังยึดเหนี่ยวได้ดี
การใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายควบคู่ไปกับการใช้เครื่องมือเชิงนโยบายอื่น (integratedpolicy) เข้ามาช่วยตอบโจทย์อย่างตรงจุดจะช่วยให้การดำเนินนโยบายการเงินมีประสิทธิผลและไม่สร้างผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ ทั้งนี้ กนง. ตระหนักว่าในภาวะปัจจุบันบางภาคส่วนของเศรษฐกิจยังมีปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข โดยภาคครัวเรือนมีภาระหนี้อยู่ในระดับสูง และธุรกิจ SMEs มีปัญหาในการเข้าถึงสินเชื่อจากความเสี่ยงด้านเครดิต
กนง. จึงสนับสนุนการดูแลกลุ่มเปราะบางและการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจ เพื่อช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลงทุนและการขยายตัวของเศรษฐกิจ อาทิ การสนับสนุนนโยบายของ ธปท. ที่ผลักดันให้สถาบันการเงินช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ รวมถึงมาตรการแก้ปัญหาหนี้อย่างยั่งยืนสำหรับกลุ่มเปราะบาง
ตลอดจนโครงการ"คุณสู้ เราช่วย" ซึ่งเป็นความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน และ ธปท. เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและ SMEs
(2) สาเหตุที่อัตราเงินเฟ้อใน 12 เดือนที่ผ่านมาต่ำกว่ากรอบเป้าหมาย และแนวโน้มในระยะข้างหน้า อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 12 เดือนที่ผ่านมาต่ำกว่ากรอบเป้าหมายจากปัจจัยด้านอุปทานในหมวดพลังงานและอาหารสด โดยในหมวดพลังงานเป็นผลจากการลดลงของราคาน้ำมันในตลาดโลก จากความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลก ประกอบกับมาตรการดูแลค่าครองชีพของภาครัฐที่มีต่อเนื่อง
อาทิมาตรการลดราคาน้ำมันผ่านกลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเชื้อเพลิงและการลดภาษีสรรพสามิต รวมทั้งมาตรการลดค่าไฟฟ้า ทำให้ราคาหมวดพลังงานขยายตัวเพียงร้อยละ 1.0
อย่างไรก็ดี หากไม่รวมผลของมาตรการดังกล่าว ราคาหมวดพลังงานจะขยายตัวร้อยละ 4.9 และทำให้ค่าเฉลี่ยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 12 เดือนเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 1.1 สำหรับราคาหมวดอาหารสดขยายตัวในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.4
โดยเป็นผลจากปริมาณสุกรที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับราคาผักที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากจากปีก่อนหน้า ทั้งนี้ แรงกดดันด้านต้นทุนที่ขยายตัวต่ำนี้ทำให้การส่งผ่านไปยังราคาสินค้าและบริการอื่น ๆ อยู่ในระดับต่ำด้วย ทำให้ค่าเฉลี่ยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.6
อย่างไรก็ดี ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อทั่วไปทยอยปรับเพิ่มขึ้นจาก
(1) ผลของฐานราคาพลังงานในปีก่อนที่อยู่ในระดับต่ำตามราคาน้ำมันในตลาดโลกและมาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐ และ
(2) แรงกดดันด้านอุปทานที่ทำให้ราคาหมวดอาหารสดอยู่ในระดับต่ำมีแนวโน้มคลี่คลาย ซึ่งทำให้อัตราเงินเพื่อทั่วไปตั้งแต่เดือนธันวาคม 2567 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2568 กลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายาย
ทั้งนี้ ในระยะข้างหน้า อัตราเงินเพื่อมีแนวโน้มทรงตัวใกล้ขอบล่างของกรอบเป้าหมายและมีโอกาสที่จะต่ำกว่ากรอบเป้าหมายในบางช่วง โดยอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำนั้นมาจากปัจจัยด้านอุปทานเป็นหลัก รวมถึงปัจจัยเฉพาะ อาทิ การแข่งขันจากสินค้าน้ำเข้าราคาถูกจากจีน
(3) นัยของอัตราเงินเพื่อต่ำกับการขยายตัวของเศรษฐกิจ
กนง. ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อไทยที่ต่ำในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงแนวโน้มในระยะข้างหน้าไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เนื่องจาก
(1) อัตราเงินเฟ้อที่ต่ำไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพด้านราคา โดยอัตราเงินเฟ้อถูกขับเคลื่อนโดยปัจจัยด้านอุปทานเป็นสำคัญ อาทิ ราคาน้ำมันโลกและมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐ รวมทั้งสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อผลผลิตทางการเกษตร
นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อปัจจุบันได้กลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายแล้ว ขณะที่เงินเฟ้อคาดการณ์ระยะปานกลางยังคงยึดเหนี่ยวอยู่ในกรอบเป้าหมาย โดยอัตราเงินเพื่อคาดการณ์ใน 5 ปีข้างหน้าทั้งจากผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจของ Asia Pacific Consensus Economics ณ เดือนตุลาคม 2567 และข้อมูลตลาดการเงิน ณ เดือนธันวาคม 2567 อยู่ที่ร้อยละ 1.8 ซึ่งแสดงถึงความเชื่อมั่นว่านโยบายการเงินจะดูแลเสถียรภาพราคาในระยะปานกลางได้ดี
(2) อัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำไม่ได้เป็นสัญญาณของภาวะเงินฝืด เนื่องจากราคาสินค้าและบริการไม่ได้ปรับลดลงในวงกว้าง โดยราคาสินค้าและบริการกว่า 3 ใน 4 ของตะกร้าเงินเฟ้อยังเพิ่มขึ้นหรือไม่เปลี่ยนแปลง ประกอบกับการบริโภคภาคเอกชนในช่วงที่ผ่านมายังขยายตัวได้ที่ร้อยละ 4.4ในปี 2567 จึงไม่ได้สะท้อนปัญหาด้านอุปสงค์
(3) อัตราเงินเพื่อที่ต่ำไม่ได้เป็นอุปสรรรคต่อการแข่งขันและการลงทุน โดยปัจจัยที่ทำให้การลงทุนภาคเอกขนขยายตัวต่ำไม่ได้มาจากอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำ แต่มาจากการที่ภาคเอกชนขาดแรงจูงใจให้ขยายกำลังการผลิต โดยภาคการผลิตถูกกดดันจากปัจจัยเชิงโครงสร้างและการแข่งขันสินค้าจากสินค้าต่างประเทศ โดยเฉพาะจากจีนในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ปิโตรเคมี ยางและพลาสติก และรถยนต์ EVเป็นต้น
ในขณะเดียวกันแนวโน้มเงินเฟ้อที่ต่ำและไม่ผันผวนมีส่วนช่วยให้ต้นทุนการระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ของทั้งภาครัฐและเอกชนอยู่ในระดับต่ำ และช่วยรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของผู้ประกอบการผ่านต้นทุนการผลิตที่ไม่เร่งสูงขึ้นและผ่านอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริง (realexchange rate)
นอกจากนี้ เงินเฟ้อที่ต่ำในช่วงที่ผ่านมายังมีส่วนช่วยบรรเทาค่าครองชีพของประชาชนหลังจากที่ราคาสินค้าหลายรายการเพิ่มสูงขึ้นมากตั้งแต่หลังวิกฤตโควิด โดยราคาพลังงานและอาหารที่จำเป็นต่อการครองชีพของประชาชน อาทิ เนื้อสัตว์ น้ำมันพืช และน้ำมันเชื้อเพลิง ยังอยู่ในระดับสูบสูงกว่าช่วงก่อนวิกฤตโควิดถึงประมาณร้อยละ 20
ในระยะต่อไป กนง. จะประเมินนัยของเงินเฟ้อต่อเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อดูแลให้อัตราเงินเพื่อไม่สูงหรือต่ำจนเกินไปจนกระทบต่อเศรษฐกิจและสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมในการแข่งขันและลงทุน
โดยจะติดตามพัฒนาการของปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อประกอบการดำเนินนโยบายที่เหมาะสม ซึ่งปัจจัยสำคัญที่จะมีผลต่อแนวโน้มเงินเฟ้อ ได้แก่ แนวโน้มราคาพลังงานที่อาจต่ำลงจากเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวต่ำกว่าคาด และความผันผวนของสภาพภูมิอากาศที่อาจส่งผลกระทบต่อราคาอาหารสดตามข้อตกลงร่วมกันระหว่าง กนง. และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่16 ธันวาคม 2567 หากใน 6 เดือนข้างหน้า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 12 เดือนที่ผ่านมา หรือประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 12 เดือนข้างหน้า ยังคงเคลื่อนไหวออกนอกกรอบเป้าหมาย
กนง. จะมีจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอีกครั้ง เพื่อเป็นการสื่อสารและสร้างความเชื่อมั่นในการดูแลเสถียรภาพด้านราคาให้แก่สาธารณชนเป็นการทั่วไป