posttoday

รู้ก่อนซื้อ!! 10หุ้นอาหาร-เครื่องดื่ม Q2/66 ใครรุ่ง-ร่วง?

25 พฤษภาคม 2566

ส่อง 3หุ้นตัวเต็งหุ้นเครื่องดื่มผลงานQ2/66จัดว่าเด็ด! พร้อมแตะเบรกหุ้นอาหารรอราคาฟื้น ต้นทุนอ่อนแรงค่อยช้อป

จากการรวบรวมข้อมูลหุ้นกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม โดยจัดเรียงตาม มูลค่าตลาด (Market cap.) 10 อันดับสูงสุดในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม ดังนี้คือ 
รู้ก่อนซื้อ!! 10หุ้นอาหาร-เครื่องดื่ม Q2/66 ใครรุ่ง-ร่วง?

หุ้นเครื่องดื่มฮอตสุด

นักวิเคราะห์ บล.หยวนต้า(ประเทศไทย) กล่าวว่า หุ้นกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 ต้องยกให้หุ้นเครื่องดื่มเนื่องจากเข้าช่วงไฮซีซั่นธุรกิจ และที่สำคัญคืออากาศร้อนมากกว่าปีที่ผ่านมาช่วยกระตุ้นยอดขายเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น อีกทั้งผลประกอบการไตรมาส 2/2566 เติบโตดีต่อเนื่อง หุ้นที่เข้าธีมการเติบโตต่อเนื่อง แนะนำ "ซื้อ" หุ้นของ "บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ICHI" มีมุมมองเป็นบวกต่อแนวโน้มผลประกอบการในไตรมาส 2/66 โดยคาดเบื้องต้นกำไรจะเติบโตต่อทั้ง QoQ และ YoY และมีโอกาสทำระดับสูงที่สุดในรอบ 9 ปีจากปัจจัยฤดูกาลที่เป็นช่วง High Season ของธุรกิจเครื่องดื่ม และตามแนวโน้มการเติบโตของตลาดชาเขียวพร้อมดื่มที่ยังแข็งแกร่ง โดยในเดือน เม.ย. ตลาดชาเขียวพร้อมดื่มมีการเติบโตระดับสูงกว่า 15%YoY

ประกอบกับการออกสินค้า Tansansu รสชาติใหม่ กลิ่นไอศกรีมเมล่อน ตั้งเป้าหนุนรายได้ราว 100 ลบ. และเริ่มรับรู้รายได้จากลูกค้า OEM รายใหญ่ IF (เครื่องดื่มน้ำมะพร้าว) หนุนรายได้อีกราว 30 ลบ. ทำให้อัตราการใช้กำลังการผลิต (U-Rate) จะสูงขึ้นแตะระดับใกล้เคียง 70% ส่งผลบวกต่อยอดขายให้มีโอกาสที่สูงขึ้นแตะระดับ 2,000 ลบ. และ GPM ที่ดีขึ้นจากต้นทุนคงที่ต่อหน่วยที่ลดลง ขณะที่ส่วนแบ่งกำไรจากอินโดนิเซียคาดจะฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อย QoQ เนื่องจากเป็นช่วงที่บริษัทเข้าไปทำกิจกรรมทางการตลาดมากขึ้นทำให้อาจมีค่าใช้จ่ายในการขายที่อยู่ในระดับสูง โดยคาดผลประกอบการในอินโดนีเซียจะกลับมาเติบโตในระดับที่ควรจะเป็นในช่วง 2H66

ส่วนแนวโน้มผลประกอบการใน 2H66 เราประเมินว่าจะชะลอลง HoH ตามปัจจัยฤดูกาล อย่างไรก็ตามเรามองว่ามีโอกาสที่จะชะลอลงในอัตราที่น้อยกว่าทุกปีและเติบโต YoY ได้ เนื่องจาก 1) แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศยังดีต่อเนื่อง หนุนโมเมนตั้มการเติบโตของตลาดชาเขียวพร้อมดื่ม 2) บริษัทเตรียมออก Tansansu รสชาติใหม่อีกอย่างน้อย 1 รสชาติ 3) รายได้ธุรกิจ OEM จะรับรู้ได้ชัดเจนมากขึ้นโดยเบื้องต้นจะช่วยหนุนรายได้ใน 2H66 เพิ่มขึ้นอีกราว 150 –200 ลบ. 4) รายได้ส่งออกไป CLMV ที่ฟื้นตัว 5) อัตราการใช้ก าลังการผลิตที่สูงขึ้นตามปริมาณการขายและรายได้ธุรกิจ OEM ประกอบกับราคาต้นทุนบรรจุภัณฑ์ที่ลดลง หนุน GPM และ 6) รับรู้ผลจากการท าแคมเปญการตลาดของธุรกิจ JV ในอินโดนีเซียมากขึ้น 

ฝ่ายมีมุมมองบวกมากขึ้นต่อแนวโน้มผลประกอบการของ ICHI ในปี 2566 – 2567 หลังจากงบ 1Q66 ที่ออกมาสูงกว่าคาดและจากการเข้าประชุมวานนี้ เราจึงปรับประมาณก าไรปกติปี 2566 – 2567ขึ้น11.4% และ 13.0% เป็น 825 ลบ. (+28.5% YoY) และ 904 ลบ. (+9.6% YoY) ตามล าดับ จากการปรับสมมติฐานรายได้ และ GPM ขึ้น และปรับราคาเป้าหมาย ณ สิ้นปี 2566 ขึ้นเป็น 15.80 บาท (อิงวิธี DCF,Wacc 9.3%, t.g. 3.0%) เทียบเท่ากับ PER ที่ 25.0 เท่า มี Upside gain17.9% ปัจจุบันหุ้นยังซื้อขายที่PER66 เพียง 21.1 เท่า ต่ำกว่ากลุ่ม และค่าเฉลี่ยในอดีต

ยิ่งดื่ม HTCยิ่งดี

2. หุ้นของ "บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) หรือ HTC" ฝ่ายวิเคราะห์คาดแนวโน้มกำไรไตรมาส 2/66 เบื้องต้นทำ New High ต่อจากการเข้าสู่ช่วงหน้าร้อนและเทศกาลสงกรานต์โดยมีแรงหนุนจากสภาพอากาศปีนี้ที่ร้อนกว่าปกติส่งผลให้เกิดการบริโภคมากขึ้น ประกอบกับจำนวนนักท่องเที่ยวภาคใต้ทั้งในและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น บวกกับการออกสินค้าใหม่จำนวน 2 SKU ในเดือน เม.ย. และการทำกิจกรรมทางการตลาดต่างๆ โดยในส่วนของ GPM คาดอยู่ที่ระดับไม่ต่ำกว่า 40% แม้จะได้รับผลกระทบจากการขึ้นภาษีน้ำตาล (Phrase 3) ตั้งแต่เดือน เม.ย. แต่บริษัทสามารถชดเชยได้จากการปรับขึ้นราคาขายราว 1-2%

โดยสินค้าใหม่ 2 SKU ที่ออกในเดือน เม.ย. คือ “อู-ฮ่า” รสโซดากลิ่นลิ้นจี่โยเกิร์ต และโซดากลิ่นเลมอนผสมซีซอล์ท ซึ่งเป็นสินค้าใน Portfolio ของ Coca-Cola ที่ได้รับความนิยมในไต้หวัน และฮ่องกง โดยปัจจุบันจำหน่ายเฉพาะ 7-Eleven และบริษัทมองว่าจะเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายไปยัง Makro ในอนาคต เราคาดจะเป็นหนึ่งปัจจัยช่วยหนุนรายได้ตั้งแต่ 2Q66 เป็นต้นไป

ใน 2H66 เรามองว่าจะสามารถเติบโต YoY จากจ านวนนักท่องเที่ยวจีนที่สูงขึ้น โดยปัจจุบันมีเที่ยวบินจีนอยู่ที่เพียง200 เที่ยว/สัปดาห์แต่เราประเมินว่าจ านวนเที่ยวบินจากจีนมีโอกาสทยอยสูงขึ้นต่อเนื่องใน 2H66 กลับไปใกล้เคียงกับช่วงก่อน COVID-19 ที่ 400 เที่ยว/สัปดาห์ ประกอบกับผลกระทบจากเอลนีโญ ทำให้สภาพอากาศจะร้อนกว่าปกติแม้จะผ่านพ้นช่วง High Season มาแล้วก็ตาม หนุนปริมาณความต้องการบริโภคเครื่องดื่ม

บริษัทปรับเป้าหมายการเติบโตของรายได้ปี 2566 ขึ้นเป็ น 7-9% จากเดิมที่ตั้งไว้ที่ 6-8% สอดคล้องกับประมาณการของเรา จาก 1) จ านวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น 2) การออกสินค้าใหม่ทั้งสินค้าที่ไม่มีน้ำตาล และสินค้ากลุ่มอื่นเพื่อตอบสนองความต้องของลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ 3) การเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดของเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์(NARTD) มากกว่าคาดเป็น 26% จากเดิมที่ 25.5% ในปี 2565 4) การรับรู้รายได้จากการปรับขึ้นราคาขายราว 6% เต็มปี และ 5)บริษัทตั้งเป้ารายได้จากธุรกิจอสังหาฯ ที่ 100 ลบ. โดยปัจจุบันมียอดการโอนแล้ว 4 หลัง และส่วนที่เหลือยังอยู่ในช่วงของการด าเนินการโอน (จ่านเงินดาวน์แล้ว) รวมถึงแผนที่จะก่อสร้างเพิ่มเติมในปีนี้

ระยะยาวคาดบริษัทได้อานิสงส์จากแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ อาทิ โครงการหวยใบเสร็จ ซึ่งจะช่วยหนุนรายได้ของกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภครวมถึงเครื่องดื่มบนช่องทาง Traditional trade มากขึ้น เป็น Upside เรายังคงมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มผลประกอบการของ HTC ที่คาดจะเติบโตได้โดดเด่น YoY ทุกไตรมาสหลังจากนี้หลังจากปัจจัยกดดันด้านต้นทุนคลี่คลาย และ Demand ฟื้นชัดเจนตามการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวในภาคใต้โดยคงประมาณการก าไรปี 2566 ที่ 685 ลบ. (+57.2% YoY) ทำ New High คงราคาเป้าหมาย ณ สิ้นปี 2566 ที่ 48.00 บาท คงค าแนะนำ “ซื้อ” และยังคงเลือกเป็นหุ้น Top pick สำหรับกลุ่มเครื่องดื่มใน 2Q66

กำไรนิวไฮ

และ 3. หุ้น "บริษัท เซ็ปเป้ จำกัด (มหาชน) หรือ SAPPE" ฝ่ายวิเคราะห์มีมุมมองเป็นบวกต่อแนวโน้มผลประกอบการใน 2Q66โดยเบื้องต้นคาดเติบโต QoQ และ YoY ทำระดับสูงสุดใหม่รายไตรมาสต่อ จาก 1)การขยายช่องทางการจัดจำหน่ายในทุกภูมิภาค ทั้ง ยุโรป เอเชีย ตะวันออกกลาง และอเมริกา 2)การออกสินค้าใหม่สำหรับการขายในประเทศ จำนวน 5 SKU โดยการออกสินค้าจะเน้นนักท่องเที่ยวจีนมากขึ้น 3)การทำการตลาดเพิ่มในเกาหลี 4)การรับรู้กำลังการผลิตใหม่ที่มาจากการจ้างบุคคลภายนอกผลิต (OEM) สำหรับการผลิตสินค้าในประเทศเต็มไตรมาสเป็นไตรมาสแรก และ 5)อัตรากำไรขั้นต้นคาดจะอยู่ที่ระดับไม่ต่ำกว่า 43% ถึงแม้จะได้รับผลกระทบจากค่าไฟที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับการจ้างบุคคลภายนอกผลิต แต่เรามองว่าจะสามารถชดเชยได้จากอัตราการใช้กำลังการผลิต (U-rate) ที่อยู่ในระดับสูง โดยเราคาดว่าใน 2Q66 จะมี U-rate ที่ 85% เพิ่มขึ้นจาก 81% ใน 1Q66 ประกอบกับ Product mix ที่เน้นการผลิตสินค้าที่มี GPM สูงมากขึ้น

โดยใน 3Q66 เรามองว่ากำไรทำ New High ได้ต่อหนุนจากการเข้าสู่ช่วงฤดูร้อนของยุโรป ประกอบกับการได้รับผลกระทบจากเอลนีโญ ส่งผลให้อากาศร้อนกว่าปกติซึ่งจะเป็นปัจจัยหลักที่ช่วยหนุนยอดขายของบริษัท นอกจากนี้เรามีมุมมองเชิงบวกต่อการเติบโตในระยะยาวของบริษัทที่จะเติบโตต่อเนื่องถึงปี 2569 ตามเป้าหมายของบริษัทที่ระดับ 10,000 ลบ. (+25% CAGR) จากการเติบโตของยอดขายทั้งในและต่างประเทศ 1) ยุโรป ที่เรามองว่ามี Upside อีกมากในการเติบโต เนื่องจากปัจจุบันมีการนำสินค้าเข้าไปจำหน่ายในร้านค้าสมัยใหม่ (Modern Trade; MT) เพียง 30% ของร้านค้าทั้งหมด ประกอบกับปัจจุบันมีการนำสินค้าเข้าไปจำหน่ายใน Carrefour เพียง 10% ของสาขาทั้งหมด 2) เอเชีย ที่จะเติบโตจากการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายในร้านค้าแบบดั้งเดิม (Traditional Trade; TT) มากขึ้น

ประกอบกับการเน้นการทำการตลาดในเกาหลีเป็นหลัก โดยภูมิภาคเอเชียจะมี Upside จากประเทศอินเดีย เนื่องจากตลาด MT ในปัจจุบันยังมีขนาดเล็ก แต่มีอัตราการเติบโตที่สูงเป็นโอกาสของ SAPPE ในการขยายตลาด และ 3) การขยายช่องทางจัดจำหน่ายเพิ่มเติมในตลาดตะวันออกกลางและอเมริกา คงคำแนะนำ “TRADING” โดยมีราคาเป้าหมาย ณ สิ้น ปี2566 ที่ 78 บาท/หุ้น

ปี 69 รายได้หมื่นล้าน

ฝ่ายวิเคราะห์ปรับประมาณการกำไรปี 2566 และ 2567 ขึ้น 22% และ 24% เป็น 946 ลบ. (+42% YoY) และ 1,233 ลบ. (+30% YoY) ตามลำดับ จากการปรับสมมติฐานรายได้และ GPM ขึ้น เพื่อสะท้อนผลประกอบการ 1Q66 ที่สูงกว่าคาด ประกอบกับแนวโน้ม 2Q66 และ 3Q66 ที่คาดจะเติบโตทำระดับสูงสุดใหม่ได้ต่อ โดยผลของการปรับประมาณการขึ้น ทำให้เราได้ราคาเหมาะสมใหม่ที่ 78 บาท อย่างไรก็ตามเนื่องจากราคาหุ้นปัจจุบันยังคงมี Upside gain จำกัดเพียง 3.6% แม้เราจะปรับราคาเหมาะสมขึ้นก็ตาม จึงให้คำแนะนำเพียง “TRADING” เชิงกลยุทธ์ หากมีสถานะ แนะนำ Lock-in-profit ในระยะสั้นและกลับเข้ามาสะสมใหม่อีกครั้งเมื่อราคาหุ้นย่อตัว 

หุ้นอาหารยังไม่สวย

หุ้นอาหาร ผลการดำเนินงานปี 2566 อาจจะไม่ดีเหมือนปีที่ผ่านมาที่มีฐานค่อนข้างสูง อีกทั้งอาจต้องรอดูในช่วงครึ่งปีหลังว่าราคา หมู ไก่จะฟื้นกลับขึ้นมาหรือไม่ และต้นทุนอาหารสัตว์ปรับตัวลดลงหรือไม่ อย่างหุ้น CPF สถานการณ์ตลาดจีน เวียดนาม และไทยไม่ค่อยจะสู้ดีนัก แม้ราคาต้นทุนอาหารสัตว์มีโอกาสปรับตัวลดลงในไตรมาส 3/2566 แต่ต้องรอดูความชัดเจนและถึงแม้ราคาหุ้นจะย่อตัวลงมาต่ำมาก แต่ด้วยความที่ไร้ปัจจัยบวกสั้นๆจึงอาจต้องรอดูสัญญาณในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 อีกครั้ง

รู้ก่อนซื้อ!! หุ้นอาหารและเครื่องดื่ม

อย่างไรก็ดี ในส่วนของเคล็ดลับการเลือกหุ้นอาหารและเครื่องดื่ม สิ่งที่ต้องดูคือ 1. P/E หุ้นอาหารและเครื่องดื่มขนาดกลางถึงเล็ก จะมีพี/อีเพียง 25 เท่า 2.หุ้นเครื่องดื่มมักจะค่อนข้าง Outperform ได้ดีในช่วงไตรมาส 1 และ ไตรมาส 2 ของทุกปี เนื่องมาจากเข้าสู่ฤดูร้อนจึงเป็นช่วงไฮซีซั่นของธุรกิจเครื่องดื่ม นักลงทุนสามารถจับจังหวะเก็งกำไรได้ แต่เนื่องด้วยปี 2566 นี้ อากาศร้อนมากกว่าปีที่ผ่านมา หุ้นเครื่องดื่มจึงได้รับอานิสงส์ค่อนข้างมากนั่นเอง