หุ้นไทยหลุด 1,200 จุดใกล้จุดต่ำช่วงโควิด-19! เน้นตั้งรับ 7 หุ้น Deep Value

หุ้นไทยหลุด 1,200 จุดใกล้จุดต่ำช่วงโควิด-19! เน้นตั้งรับ 7 หุ้น Deep Value

28 กุมภาพันธ์ 2568

ทิ้งดิ่ง! หุ้นไทยหลุด 1,200 จุด ลงมาแตะ 1,186.36 จุด ใกล้เคียงจุดต่ำสุดเดือน ต.ค.2563 ช่วง Covid-19 โบรกแนะช่วงตลาดผันผวน เข้าสู่ Deep Value Zone แกว่งหาจุดต่ำสุด เน้นทยอยซื้อถือลงทุนยาว 7 หุ้น Deep Value

KEY

POINTS

  • ทิ้งดิ่ง! หุ้นไทยหลุด 1,200 จุด ลงมาแตะ 1,186.36 จุด ใกล้เคียงจุดต่ำสุดเดือน ต.ค.2563 ช่

ความเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหุ้นไทยเปิดการซื้อขายเช้าวันนี้(28 ก.พ.68)ร่วงกว่า 20 จุด หลุดแนวรับสำคัญที่ 1,200 จุด ล่าสุดเวลา 11.32 น. ดัชนีร่วง 21 จุด คิดเป็น -1.73% แตะระดับ 1,194.73 จุด

กังวลมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐ ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ยืนยันจะเดินหน้าเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากแคนาดา เม็กซิโก ในอัตรา 25% และเพิ่มภาษีนำเข้าจากจีนอีก 10% มีผลวันที่ 4 มีนาคม อีกทั้ง การปรับพอร์ตดัชนี MSCI ซึ่งใช้ราคาปิดของวันนี้อาจทำให้เกิดการไหลออกของเงินลงทุนต่างชาติในระยะสั้น

ฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) ระบุว่า ดัชนีหุ้นไทยที่ลงมาแตะ 1,186.36 จุด ใกล้เคียงจุดต่ำสุดในเดือน ต.ค.2563 ที่ตลาดพักมาหลังเด้งสู่ 1,454 จุด หลัง Covid-19 ทำให้ Equity Risk Premium ตลาดหุ้นไทยปัจจุบันสูง 4.97% ใกล้ 5% บวก +2SD หรือ Implied SET ที่ 1,180 จุด กลยุทธ์ในภาวะตลาดผันผวนปัจจุบันคงต้องมองเพื่อโอกาสระยะกลาง-ยาว เน้นหุ้น 7 Deep Value Stocks หรือทยอยแบ่งไม้ซื้อ เนื่องจากตลาดเข้าสู่ Deep Value Zone และยังแกว่งเพื่อหาจุดต่ำสุดอยู่

ดัชนีหุ้นไทยวันนี้ที่แตะ 1,186 จุดทำให้ Equity Risk Premium ขอตลาดหุ้นไทยพุ่งสู่ 4.97% กำลังจะแตะ 5% ซึ่งเป็นระดับ Deep Value Market ในอดีต SET แตะตรงนี้หรือมากกว่า +2SD ในปี 2020 Covid-19, น้ำท่วมใหญ่ในประเทศปี 2011 และ Subprime Crisis สะท้อนว่าตลาดหุ้นไทยถูกมากแล้ว และน่าจะเป็นจุดที่ Value Investors & Ultra High Net-worth ไทย เริ่มมองเป็นโอกาสการลงทุน หุ้น Core Business แข็งแกร่ง , Deep Value เพื่อโอกาสการฟื้นตัวในระยะกลางถึงยาว

หุ้นไทยหลุด 1,200 จุดใกล้จุดต่ำช่วงโควิด-19! เน้นตั้งรับ 7 หุ้น Deep Value

ขณะที่ โครงสร้าง SET ยังอยู่ในช่วงของการฟื้นตัว จากการสำรวจหุ้นในตลาดของไทยปัจจุบัน 914 บริษัท (SET และ mai) พบว่าหุ้นที่ PER ต่ำกว่า 12 เท่ามีสัดส่วนราว 37%, PBV ต่ำกว่า 1 เท่า ราว 54% , Dividend Yield มากกว่า 3% ราว 53%

ตัวเร่งที่จะผลักดันตลาดหุ้นไทย เรื่องแรกคือ การฟื้นฟูเศรษฐกิจ (Real Fundamental) น้ำหนัก 50% ด้วยภาพนโยบายการคลังและนโยบายการเงินที่ดูสอดคล้องมากขึ้นน่าจะมีโอกาสหนุน Domestic Demand โดยในช่วงครึ่งแรกของปี68

ฝ่ายวิเคราะห์คาดจะมีเม็ดเงินสูงกว่า 2.6 แสนล้านบาท คิดเป็น 1.4% ของ GDP เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น และฝั่ง Investment น่าจะเร่งขึ้นทั้งฝั่ง FDI และฝั่ง Corporate ซึ่งภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวจะเป็น Impact บวกต่อ กลุ่มธนาคารในระยะกลาง และมีผลมากว่า NIM ที่แคบลง

รัฐบาลกำลังหามาตรการกระตุ้นในประเทศให้ GDP ขยายตัว 3.1-3.5% จากรถเก่าแลกรถใหม่หนุน Auto Industry Related, มาตรการเที่ยวในประเทศ และการผ่อนปรน LTV เพื่อกระตุ้นอสังหาฯจะเป็นพัฒนาการภายในในระยะถัดไป

อีกทั้ง Domestic Liquidity น้ำหนัก 50% ความพยายามฟื้นฟู Domestic Long Term Funds จากความพยายามเดินหน้า ThaiESG 2 รองรับ LTF เดิม โดยเฉพาะถ้าขยายกรอบการลดหย่อน 5 แสนบาทต่อปี เท่า LTF จะเป็นปัจจัยฟื้นความเชื่อมั่นต่อเม็ดเงินลงทุนระยะกลาง-ยาวที่จะเพิ่มขึ้นในระยะกลาง มีเสถียรภาพขึ้น 

กลยุทธ์การลงทุนมองโอกาสระยะยาวน่าสนใจ และการลดดอกเบี้ยกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา น่าจะเป็นการสะท้อนนโยบายการเงินและการคลังที่ไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้น ในวันที่ตลาดเป็น Deep Value Market คงทยอยสะสมเพื่อระยะยาว ดังนี้คือ

•7 Deep Value Stocks: CPALL, HMPRO, BH, BDMS, MINT, SCGP, GPSC
•เช่าซื้อ: MTC บวกทั้งจากดอกเบี้ยลดลง และคุณภาพสินทรัพย์ดีขึ้น
•อสังหา: AP บวกทั้งจากดอกเบี้ยลดลง และรอความคืบหน้ามาตรการ LTV
•High Yield: ADVANC หุ้นปันผลน่าดึงดูดขึ้น ในเชิงเปรียบเทียบกับดอกเบี้ยที่ลดลง
•หนี้สูง: CPALL, MINT ภาระดอกเบี้ยจะลดลง เปิด Upsideกำไร
•ท่องเที่ยว: AOT, BA ยังคงเป็นแกนหลักหนุนเศรษฐกิจฟื้นตัว
•ธนาคารเน้นตั้งรับ: ให้น้ำหนักมุมมองทางบวกต่อคุณภาพหนี้จะสูงกว่าผลกระทบการลดดอกเบี้ย KBANK,KTB

Thailand Web Stat