ผ่าดีลยักษ์ KTB ควบ TTB ขึ้นแบงก์ไทยอันดับ 1 หนุน Synergy ธุรกิจ

ผ่าดีลยักษ์ KTB ควบ TTB ขึ้นแบงก์ไทยอันดับ 1 หนุน Synergy ธุรกิจ

21 มีนาคม 2568

เกาะติดดีลใหญ่ KTB ควบรวม TTB ขึ้นแท่นแบงก์พาณิชย์ไทยอันดับ 1 สินทรัพย์รวม 5.5 ล้านล้านบาท สินเชื่อรวม 3.9 ล้านล้านบาท เงินฝากรวม 4 ล้านล้านบาท ก้าวสู่ “Super Bank”

KEY

POINTS

  • ลุ้นดีลใหญ่ KTB ควบรวม TTB ขึ้นแท่นแบงก์พาณิชย์ไทยอันดับ 1 สินทรัพย์รวม 5.5 ล้านล้านบาท ส

การควบรวมระหว่างอุตสาหกรรมพลังงาน และอุตสาหกรรมโทรคมนาคม อย่าง บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF กับ บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ INTUCH ที่เป็นดีลใหญ่กำลังจะเสร็จสิ้นลง

ล่าสุด มีกระแสข่าวการควบรวบมกิจการในวงการเดียวกัน คือ วงการธนาคารพาณิชย์ไทย ระหว่าง ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB และ ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TTB เพื่อก้าวขึ้นสู่การเป็น “Super Bank” และขึ้นแท่นเป็นธนาคารพาณิชย์ไทย อันดับ 1 ด้วยขนาดสินทรัพย์ 5,492,706.68 ล้านบาท (KTB มีขนาดสินทรัพย์ 3,744,184.18 ล้านบาท และ TTB มีขนาดสินทรัพย์ 1,748,522.50 ล้านบาท) ข้อมูล ณ สิ้นปี 2567 

เทียบสินทรัพย์กับธนาคารพาณิชย์แห่งอื่น 

  • ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL มีขนาดสินทรัพย์ 4,551,379.31 ล้านบาท 
  • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK มีขนาดสินทรัพย์ 4,325,287.00 ล้านบาท 
  • บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB มีขนาดสินทรัพย์ 3,486,539.22 ล้านบาท 
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ BAY มีขนาดสินทรัพย์ 2,620,074.40 ล้านบาท 
  • ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ CIMBT มีขนาดสินทรัพย์ 508,456.05 ล้านบาท
  • ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) หรือ KKP มีขนาดสินทรัพย์ 498,429.45 ล้านบาท
  • บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ LHFG มีขนาดสินทรัพย์ 346,862.62 ล้านบาท
  • บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TISCO มีขนาดสินทรัพย์ 281,876.94 ล้านบาท

ผสานจุดแข็งของ 2 ธนาคาร

หากเกิดการควบรวมขึ้นก็ถือเป็นการผสานจุดแข็งของทั้ง 2 ธนาคาร โดย KTB มีจุดแข็งในด้านของฐานลูกค้าภาครัฐและรายย่อย โดยโครงสร้างสินเชื่อหลักยังอยู่ในกลุ่มสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ถึง 25.7% หรือ 6.94 แสนล้านบาท และสินเชื่อรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ 19% หรือ 5.25 แสนล้านบาท  

ส่วนพอร์ตวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อม 10% หรือ 2.7 แสนล้านบาท และสินเชื่อรายย่อย 44.7% หรือ 1.2 ล้านล้านบาท ทั้งสินเชื่อบ้าน สินเชื่อบุคคล บัตรเครดิต ฯลฯ

ขณะที่ TTB มีจุดแข็งในฐานลูกค้ารายย่อย โดยโครงสร้างสินเชื่อแบ่งเป็นสินเชื่อเช่าซื้อ 29% สินเชื่อบ้าน 26% สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล 7% ส่วนอีก 30% เป็นสินเชื่อกลุ่มลูกค้าบรรษัท และธุรกิจ 

ดีลควบรวบธนาคารในอดีต 

หากย้อนกลับไปในอดีต 2 ธนาคารนี้ ผ่านการควบรวมกิจการมาแล้ว โดย KTB ก่อตั้งมาตั้งแต่ 14 มี.ค.2509 จากการรวมกิจการธนาคารมณฑล และธนาคารเกษตร เริ่มเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ปี 2532 ซึ่งถือเป็นรัฐวิสาหกิจแห่งแรก และเริ่มเปิดให้ซื้อขายหุ้นตั้งแต่วันที่ 2 ส.ค.2532 เปลี่ยนชื่อเป็นธนาคารกรุงไทย 

ส่วน TTB ได้เข้าซื้อกิจการ ธนาคารดีบีเอสไทยทนุ และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 ก.ย.2547 จากนั้นประกาศควบรวมกิจการกับธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TBANK ในปี 2562 และควบรวมกิจการเสร็จสิ้นเมื่อปี 2564 จนเป็น TTB ในปัจจุบัน 

โบรกฯ มองควบรวบฯ เสริม Synergy 

นายธนเดช รังษีธนานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยบริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับ “โพสต์ทูเดย์” ว่า ข่าวการควบ KTB และ TTB ยังเป็นแค่การนำเสนอข่าว ดังนั้น ดีลจะเกิดขึ้นหรือไม่ต้องรอความชัดเจนจากทางธนาคาร และผู้ถือหุ้นใหญ่ 

โดยทั้ง 2 ธนาคารมีหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งผู้ถือหุ้นใหญ่ของ KTB คือ กองทุนฟื้นฟูฯ (FIDF) 55.07% และ TTB มีกระทรวงการคลังถือหุ้น 11.67% ดังนั้น หากจะเก็งกำไร แนะใช้ความระมัดระวัง แนะนำ KTB (ถือ, ราคาเป้าหมาย 24.50 บาท) TTB (ซื้อ, ราคาเป้าหมาย 2.12 บาท)

หากการควบรวมเกิดขึ้นจะกลายเป็นธนาคารอันดับที่ 1 โดยมีสินเชื่อรวม 3.9 ล้านล้านบาท, เงินฝากรวม 4 ล้านล้านบาท, สินทรัพย์รวม 5.5 ล้านล้านบาท 

การควบรวมจะทำให้เกิด Synergy ทางธุรกิจ (1) ความประหยัดต่อขนาดจากการลดต้นทุนการดำเนินงาน (ลดสาขา + ลดพนักงาน + ต้นทุนเงินฝาก + ลงทุนระบบไอที) (2) เพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ เช่น KTB เด่นด้านบริการภาครัฐ และสินเชื่อบริษัทขนาดใหญ่ ด้าน TTB เด่นเรื่องสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์

ขณะเดียวกัน ก็มีความท้าทาย ได้แก่ (1) วัฒนธรรมองค์กร (2) ระบบไอทีสามารถใช้ร่วมกันได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่ (3) ฐานลูกค้าบางส่วนอาจจะซ้ำซ้อนกัน

ด้าน บล.กรุงศรี มองความเป็นไปได้ที่จะเกิดการควบรวบ KTB กับ TTB เพราะ (1) มีแนวโน้มที่จะได้ประโยชน์ภาษีเหมือนตอนที่ TMB รวมกับ TBANK (2) TTB มีสินเชื่อเช่าซื้อ (HP) ซึ่ง KTB ยังไม่มีสินเชื่อกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นการขยายประเภทสินเชื่อกลุ่มใหม่เพิ่ม (3) การลดค่าใช้จ่ายทับซ้อนลงได้ โดยมองว่าโอกาสเกิดขึ้นได้จะเป็น KTB เข้าควบรวม TTB เพราะ KTB มีมูลค่าสินทรัพย์และ Market Cap มากกว่า TTB ประมาณ 3 เท่า 

เบื้องต้นคาดว่า KTB เข้าควบรวม TTB เพราะ KTB มีมูลค่าสินทรัพย์ และ Market Cap มากกว่า TTB ประมาณ 3 เท่า โดย KTB มีมูลค่าสินทรัพย์ที่ 3.7 ล้านล้านบาท ณ ไตรมาส 4/2567 และ Market Cap ที่ 328,437 ล้านบาท ณ วันที่ 20 มี.ค.2568 เทียบ TTB มีมูลค่าสินทรัพย์ที่ 1.7 ล้านล้านบาท ณ ไตรมาส 4/2567 และ Market Cap ที่ 187,016 ล้านบาท ณ วันที่ 20 มี.ค.2568

ราคาหุ้นบวกตอบรับ

ความเคลื่อนไหวราคาหุ้นวันนี้ (21 มี.ค.25687) ล่าสุด เวลา 12.13 น. KTB เพิ่มขึ้น 0.85% หรือเพิ่มขึ้น 0.20 บาท มาอยู่ที่ 23.70 บาท มูลค่าการซื้อขาย 2,179.90 ล้านบาท และ TTB เพิ่มขึ้น 1.56% หรือเพิ่มขึ้น 0.03 บาท มาอยู่ที่ 1.95 บาท มูลค่าการซื้อขาย 1,647.91 ล้านบาท 

ผ่าดีลยักษ์ KTB ควบ TTB ขึ้นแบงก์ไทยอันดับ 1 หนุน Synergy ธุรกิจ ผ่าดีลยักษ์ KTB ควบ TTB ขึ้นแบงก์ไทยอันดับ 1 หนุน Synergy ธุรกิจ การควบรวมกิจการที่เกิดขึ้นให้เห็นกันหลายดีล สะท้อนสภาพคล่องของภาคเอกชนที่มีจำนวนมาก เห็นได้จากเงินสดที่อยู่ในบริษัทจดทะเบียน (บจ.) และเงินฝากในธนาคารมีจำนวนมาก รวมทั้งเงินที่อยู่ในตลาดเงิน และตลาตราสารหนี้มีมหาศาล ดังนั้นจับตากันต่อไป อาจจะเห็นการควบรวมกิจการอีกหลายๆ ดีล!!

Thailand Web Stat