ความท้าทายธุรกิจไทยเพื่อรับมือโควิดระลอก 2
คอลัมน์จับทิศธุรกิจเอสเอ็มอี
ดูเหมือนว่าสถานการณ์จะดูดีขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ถ้า!! ไม่มีข่าวการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่จังหวัดเชียงราย และล่าสุดพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 548 ราย ในจังหวัดสมุทรสาคร!!!
ขณะที่ นโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ มาตรการ คนละครึ่ง ที่ได้รับความนิยมจนรัฐบาลต้องขยายโครงการ และเพิ่มสิทธิ์การใช้ ทำให้ตัวเลขการใช้จ่ายเพื่ออัดฉีดเม็ดเงินเข้าระบบดีขึ้นตามลำดับ
แต่ภาวะสถานการณ์แนวโน้มอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทางภาคใต้ จากการที่ผู้เขียนเองได้ลงสำรวจพื้นที่ กลับพบ ว่าตัวเลขยังติดลบ 30% (ข้อมูลจากสมาคมธนาคารไทย) ทั้งนี้ภาคใต้ของไทยพึ่งพาภาคธุรกิจท่องเที่ยว
และที่ผ่านมาตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงกว่า 90% แต่ยังโชคดีที่รายได้ภาคการเกษตรจากราคายางที่เพิ่มขึ้น มีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นมา 20%
และเมื่อย้อนมาดูธุรกิจของขวัญของที่ระลึกท่องเที่ยวกลับพบว่า ธุรกิจกลุ่มนี้ ในจังหวัดที่เน้นการท่องเที่ยวจากต่างชาติมีการปิดหน้าร้านลงกว่า 90% เช่นกัน แต่ปรับตัวสู่หน้าร้านออนไลน์
ผู้เขียนได้ทำการสำรวจพื้นที่ย่านรอบเกาะสมุย มีจำนวนนักท่องเที่ยวบางตาจนน่าตกใจ โรงแรมระดับ 5 ดาว กลับ มาเปิดด้วยราคาโปรโมชั่นทั้งลดทั้งแถม ทำให้ผลกระทบโดยตรงกับโรงแรมระดับต่ำกว่า 3 ดาว ซึ่งไม่สามารถทำราคาโปรโมชั่นต่ำไปกว่านี้ได้ ด้วยเงื่อนไขด้านต้นทุน FIXED COST จึงยังไม่สามารถกลับมาเปิดให้บริการได้
ทั้งนี้ถ้าดูจากข้อมูลการฉีดวัคซีนรอบแรก มีข่าวการแพ้ยาออกมาให้เห็น และเราควรจับตาโควิด ระลอก 2 ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญ เพราะหากคนไทย “การด์ตก” เราจะมีทิศทางรับมือกับการระบาดรอบ 2 อย่างไร
เพราะขณะนี้เงินกู้ 4 แสนล้าน ที่ใช้กระตุ้นเศรษฐกิจไปแล้วนั้น จะหมุนกลับเข้าระบบเศรษฐกิจไทยได้ตามจำนวนรอบที่คาดการณ์ หรือไม่ และหากเครื่องยนต์ภาคการท่องเที่ยวยังไม่กลับมาฟื้นตัวตามที่คาดการณ์กลางปี 64
กลับมาดูเรื่องภาคการส่งออก สินค้าไทยกลุ่มผลิตภัณฑ์จากยางพารา สินค้าเกษตร อาหารแช่แข็ง ผลไม้แปรรูป เนื้อไก่ ตัวเลขการส่งออกปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการสั่งซื้อจากต่างประเทศ ซึ่งยังเป็นสัญญาณที่ดีมีรายได้เข้ามาชดเชยส่วนที่ขาดหาย
แต่ความท้าทายสถาณการณ์ในปีหน้าคาดอัตราแลกเปลี่ยน จะอยู่ที่ 30.15-30.40 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งจะแข็งค่าขึ้น จากปัจจุบันที่เฉลี่ยอยู่ที่ 31-31.35 บาท/ดอลล่าร์สหรัฐ
ซึ่งเท่ากับทำให้สินค้าไทยมีราคาที่เพิ่มขึ้น สถาณการณ์การแพร่ระบาด COVID 19 ครั้งนี้ ถือเป็นการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจทั้งโลก
และผู้ที่ปรับตัวได้เร็ว ล้มแล้วลุกเร็วคือผู้ที่จะอยู่รอด