สงครามเย็นครั้งที่สอง
โดย...ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์
*******************
ผู้ที่สนใจการเมืองและความมั่นคงระหว่างประเทศ คงอยากรู้ว่า นโยบายต่างประเทศของ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐจะเป็นไปในแนวใด และจะกระทบต่อโลกอย่างไร ประเทศต่างๆโดยเฉพาะไทยต้องปรับนโยบายกันหรือไม่อย่างไร
ในเมื่อสหรัฐคืออภิมหาอำนาจของโลก ที่มีคำพูดอุปมาอุปมัยว่า เมื่อใดที่สหรัฐจามโลกทั้งใบก็สะเทือน ซึ่งคำกล่าวนี้ไม่เกินความจริงแต่อย่างใด
หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลาย เท่ากับสงครามเย็นระหว่างสหรัฐกับสหภาพโซเวียตต้องยุติลง สหรัฐได้ให้น้ำหนักต่อยุทธศาสตร์ "ทรานสแปซิฟิค" มากกว่ายุทธศาสตร์"ทรานสแอตแลนติค" โดยมองว่า ภัยคุกคามสำคัญค่อความมั่นคงของโลกและประเทศที่จะท้าทายความเป็นผู้นำของสหรัฐจะมาจากจีน
เมื่อ โจ ไบเดน ขึ้นเป็นผู้นำสหรัฐ นโยบายต่างประเทศของสหรัฐจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ส่วนหนึ่งสามารถดูได้จากการหาเสียงเลือกตั้ง แต่นั่นเป็น"นโยบายหาเสียง" สิ่งที่เราต้องการรู้คือ "นโยบายแท้จริง" เมื่อเขาขึ้นเป็นประ ธานาธิบดี แน่นอน ต้องมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ไม่เหมือนกับของอดีตประธานาธิบดีทรัมป์
นโยบายต่างประเทศของ โจ ไบเดน ที่เพิ่งประกาศ ครอบคลุม"ปัญหาความมั่นคงของโลก"ตั้งแต่เรื่องโรคระบาดจนถึงการแพร่กระจายอาวุธนิวเคลีย มีหลายสิ่งหลายอย่างที่น่าสนใจ แต่ที่สำคัญที่สุดและเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์สหรัฐโดยตรงและเร่งด่วน คือรัฐบาลของ โจ ไบเดน ได้เน้นเรื่อง "ซ่อมแซม" และ พื้นฟูความสัมพันธ์กับมิตรประเทศที่ได้รับความเสียหายในช่วงที่ทรัมป์เป็นประธานาธิบดี
โดยเฉพาะความเสียหายที่เกิดจากการที่ทรัมป์ประกาศให้พันธมิตรที่มีกำลังทหารสหรัฐประจำอยู่ หรือพันธมิตรที่พึ่งพาด้านความมั่นคงจากสหรัฐ ต้องมีส่วนร่วม มีส่วนรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของสหรัฐ มิฉะนั้น สหรัฐจะถอนทหารออกหมด ทำให้พันธมิตรห่างเหินและไม่ไว้ใจสหรัฐไปมาก
สี่ปีที่ผ่านมาในช่วงการบริหารของทรัมป์ สหรัฐสูญเสียความเชื่อมั่นจากมิตรประเทศ อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้น ความสำคัญเร่งด่วนอันดับต้นๆ ที่รัฐบาลโจ ไบเดน ต้องทำคือ การฟื้นฟูความสัมพันธ์กับมิตรประเทศ และทำให้สหรัฐเป็น"ผู้นำที่ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจ" อีกครั้ง
ทำอย่างไรที่จะให้มิตรประเทศกลับมาไว้เนื้อเชื่อสหรัฐอีก ไว้ใจให้สหรัฐเป็นผู้นำประเทศประชาธิปไตยของโลก ที่วางใจพอที่จะร่วมหัวจมท้ายด้วยในยามคับขัน ซึ่งไม่ง่ายนักคราวนี้ เพราะสหรัฐเคยทิ้งมิตรประเทศในยามคับขันไปแล้วหลายครั้ง ไทยเคยบทเรียนที่เจ็บปวดมาแล้วเช่นกัน จากการกระทำของสหรัฐ
โจ ไบเดน ประกาศก้องให้โลกทราบว่า"สหรัฐกลับมาแล้ว" พร้อมเจตนารมณ์ที่จะทำให้สหรัฐรักษาความเป็นผู้นำอันดับหนึ่งของโลกต่อไป" สหรัฐพร้อมเผชิญ"กับ"ความท้าทายในปัจจุบันและอนาคต"สหรัฐจะทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับพันธมิตร ส่วนใครจะเชื่อหรือไม่เป็นอีกเรื่อง
วันนี้และอนาคตสหรัฐเผชิญกับ "ความท้าทายใหม่ "จากจีนที่ตามมาติดๆชนิดที่หายใจรดต้นคอ ผู้นำจีนทำอะไรเหมือนจะดีไปหมด ตรงกันข้ามกับการบริหารของผู้นำสหรัฐที่ผ่านมาดูจะแย่ไปหมด โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของโควิด19
วิธีที่จะหาพรรคพวกมาร่วมด้วย ก็ต้องสร้าง "ศัตรูร่วม" ด้วยวิธี "กล่าวหา" จีนว่าเป็นประเทศที่ปกครองในระบอบเผด็จการ มี "ความทะเยอทะยาน" ซึ่งเป็นอันตรายต่อโลกและสหรัฐ คล้ายกับสมัย "สงครามเย็นครั้งแรก" ที่สหรัฐกล่าวหาสหภาพโซเวียตว่า คุกคามและขัดขวางระบอบประชาธิปไตยและสันติภาพของโลก
ในการต่อต้านการขยายอิทธิพลของจีนนั้น นักเลงโตแบบสหรัฐจะสู้คนดียวไม่ได้ แต่ต้องมีเพื่อนร่วมสู้ด้วยตลอดมา หากผู้นำใจไม่ถึง คิดเล็กคิดน้อยกับเพื่อนๆ ก็ไม่ทุ่มใจให้เต็มร้อย ประเทศอื่นๆเริ่มหันมาดูผู้นำจีนว่า ทำอย่างไรถึงพัฒนาประเทศไปสู่ความยิ่งใหญ่ได้ ทำให้ประชาชนหลายร้อยล้านคนพ้นความยากจน การพัฒนารุดหน้าจี้ติดสหรัฐและจะแซงหน้าไปในหลายรายการ ทำไม"ปูติน"สามารถนำชาติก้าวพ้นวิกฤตได้หลายครั้ง กู้คืนเศรฐกิจ จนกลับมายืนอยู่ในอันดับต้นๆของโลก
โจ ไบเดน พยายามชู "ประชาธิปไตยอเมริกัน" ให้เป็นต้นแบบของประเทศต่าง ๆ แต่ที่ผ่านมา ประชาธิปไตยอเมริกันเต็มไปด้วยความยุ่งเหยิง คนทั่งโลกเริ่มคิด ประสานแนวคิดประชาธิปไตยแบบตะวันตกกับแนวคิดผู้นำเข้มแข็งแบบจีนและรัฐเซียมารวมกันโดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาที่มุ่งจะลดและแก้ไขปัญหาความยากจนและมองมาที่ผู้นำจีนและระบอบประชาธิปไตยแบบจีนๆมากขึ้น
นี่เป็นความพยายามอีกครั้งหนึ่งที่สหรัฐโดยรัฐบาลโจ ไบเดน คือรวมกลุ่มประเทศที่เคยเป็นมิตรสนิท เก่าแก่มาสะกัดกั้นการเติบโตและการขยายอิทธิพลของจีนที่จับมือกับรัสเซีย ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้นำหลายประเทศมองว่า "ล้าหลัง"
โจ ไบเดน กำลังนำสหรัฐกลับไปสู่"สงครามเย็นครั้งที่สอง"ของโลก ระหว่างสหรัฐกับพันธมิตร และจีน โดยสหรัฐพยายามรักษาพันธมิตรดั้งเดิมในยุโรปไว้ และสร้างพันธมิตรใหม่ในเอเชียเพื่อปิดล้อมจีน
อย่างไรก็ดี หลังจากที่โจ ไบเดน ประกาศนโยบายต่างประเทศเพียงไม่กี่วัน ก็โดนหญิงเหล็กแห่งยุโรป นางแองเจลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี สวนกลับอย่างแรงผ่านสุนทรพจน์ในที่ประชุมเศรษฐกิจโลกที่ดาวอส นางวิจารณ์เชิงตำหนินโยบายต่างประเทศของโจ ไบเดนว่า พอเสียทีกับการใช้วิธีจัดตั้งแก๊งเพื่อต่อต้านจีน และการสร้างพันธมิตรสงครามเย็นอีก เยอรมีจะไม่เข้าร่วมด้วย ซ้ำยังแนะนำประเทศถิ่นในยุโรปไม่ให้เข้าร่วมกับสหรัฐที่มุ่งปิดล้อมปราบปรามจีนเพราะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ อีกทั้งจะทำร้ายความเป็นเอกภาพของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
นาง เรียกนโยบายของ โจ ไบเดน ว่า เป็น"สงครามเย็นแห่งพันธมิตร"และ"ทรราชสากลรูปแบบใหม่" นางเชื่อว่า จีนมีสิทธิที่จะลุกขึ้น สหรัฐไม่มีก็สิทธที่จะบีบบังคับประเทศอื่นในยุโรปให้ปฏิบัติตามและรับใช้"ความเห็นแก่ตัว" ของสหรัฐ โดยเฉพาะเมื่อรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐขู่ที่จะคว่ำบาตรจีนและเรียกร้องเรียกร้องยุโรปไม่ให้ร่วมลงทุนกับจีน
นาง วิจารณ์สหรัฐด้วยว่า ขณะที่เรียกร้องประชาธิปไตย แต่กลับกันก็ปราบปรามประชาธิปไตยในประเทศที่อ่อนแออื่นๆในโลก นางประณามว่า นี่คือลัทธิโลกาภิวัฒน์ ที่ควรถูกประนาม ซ้ำยัง "แขวะ" ไบเดนว่า คงจะไม่ไร้ความรับผิดชอบ และบ้าบิ่นเหมือนยุคทรัมป์
ก่อนหน้านี้ สหรัฐและคณะกรรมาธิการยุโรป ได้กดดันให้เยอรมนีเลือกข้างระหว่างจีนกับสหรัฐ และตอบโต้ผู้นำจีน หลังจากที่เยอรมนีลงนามในข้อตกลงยกลงความร่วมมือกับจีน
มีเพียงรัฐบาลเสปนที่ออกมาสนับสนุนท่าทีของ นางแมร์เคิล โดยมองว่า เป็นการสะท้อนถึงความกังวลที่แท้จริง และสหรัฐได้สร้างความหวาดกลัวในยุโรปต่อสงครามเย็นครั้งใหม่อีกครั้ง
สงครามเย็นครั้งที่หนึ่งนำโดยสหรัฐฝ่ายหนึ่ง กับสหภาพโซเวียตอีกฝ่ายหนึ่ง เวลานี้ โลกกำลังเกิดสงครามเย็นครั้งที่สอง ระหว่างสหรัฐกับจีน ที่ทวีความรุนแรงและกว้างขวางมากขึ้น โดยสหรัฐพยายามกดดันประเทศต่างๆ โดยเฉพาะพันธมิตรดั้งเดิมในยุโรปให้"เลือกข้าง" สงครามเย็น
ครั้งนี้ไม่ใช่เป็นความความหวาดกลัวต่อสงครามนิวเคลีย เพราะต่างฝ่ายต่างรู้ว่าหากใช้อาวุธนิวเคลียเมื่อไร ก็แพ้กันทั้งสองฝ่ายแต่เป็นสงครามชิงความยิ่งใหญ่ทางเทคโนโลยีและเศรษฐกิจ
รัฐบาลไทยควรเตรียมพร้อมหาคำตอบว่าจะเลือกเดินแนวทางใดในสงครามเย็นครั้งที่สองนี้เพราะเราคงถูกสหรัฐกดดันอย่างเต็มที่ให้ต่อต้านจีนซึ่งเวลานี้เป็นมิตรที่ดีของไทย แม้ผลประโยชน์ของไทยมีอยู่กับทั้งสองประเทศ แต่ก็ควรจะตระหนักว่าเมื่อผลประโยชน์สำคัญยิ่งของไทยถูกคุกคาม ใครที่เป็นคนช่วยเราให้อยู่รอดปลอดภัย