posttoday

ก่อนเกิดการทำแผนที่สยาม (ตอนที่สิบเอ็ด): เรื่อง Old Siam และคุณโหมด อมาตยกุล

20 พฤษภาคม 2564

โดย...ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร

****************

คำว่า “Old Siam” เป็นคำที่นายแพทย์แซมมวล สมิธหรือที่เรียกกันว่า “หมอสมิธ” ใช้เรียกชาวสยามที่หัวเก่าคับแคบปิดกั้นไม่ยอมรับอารยธรรมตะวันตก โดยหมอสมิธได้ใช้คำนี้ในบทความเรื่อง “PHYA KASAB” (พระยากสาปนกิจโกศล—โหมด บุนนาค) ที่ตีพิมพ์ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2416 (ห้าปีหลังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่เสด็จขึ้นครองราชย์) และชาวสยามที่เป็นแบบฉบับของ “Old Siam” ในสายตาของหมอสมิธคือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ด้วยเหตุผลสองประการคือ หนึ่ง เมื่อคุณโหมดผู้ศึกษาวิทยาการตะวันตกจากมิสเตอร์แชนด์เลอร์มิชชานารีชาวอเมริกันได้ตีพิมพ์และจัดจำหน่ายหนังสือกฎหมายสยาม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯทรงโปรดให้ริบหนังสือและห้ามเผยแพร่ สอง พระองค์ทรงปฏิเสธการทำสนธิสัญญาการค้ากับชาติตะวันตกต่างๆ

ก่อนเกิดการทำแผนที่สยาม (ตอนที่สิบเอ็ด): เรื่อง Old Siam และคุณโหมด อมาตยกุล ซึ่งผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นในตอนที่แล้วว่า เหตุผลข้อสองนั้นไม่เป็นความจริง เพราะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าฯ ทรงให้สยามทำสนธิ สัญญาการค้ากับอังกฤษและอเมริกา นั่นคือ สนธิสัญญาเบอร์นีย์ (อังกฤษ) และสนธิสัญญาโรเบิร์ต (อเมริกา) ส่วนเหตุผลข้อที่หนึ่งนั้น ผู้เขียนก็ได้ ชี้แจงโดยอาศัยบทความของคุณกำธร เลี้ยงสัจธรรม เรื่อง“กรณีริบหนังสือ กฎหมายในรัชกาลที่ 3 ไปแล้วว่า การที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงริบหนังสือกฎหมายดังกล่าวเป็น เพราะว่า อาจจะมีประเด็นเรื่องความ คับแคบที่ต้องการจำกัดความรู้ กฎหมายแต่เฉพาะ “หมู่เจ้านายและ ขุนนางจำนวนน้อย” อยู่จริง

แต่สาเหตุที่สำคัญกว่านั้นก็คือ การ ตระหนักถึงภัยคุกคามของลัทธิล่า อาณานิคมของชาติตะวันตกที่แผ่เข้า มาและทรงระแวงว่าคนไทยจะนำ เรื่องราวต่างๆของทางราชการไป บอกแก่เซอร์เยมส์ บรุก ทูตผู้มีอำนาจ เต็มของอังกฤษ เพราะเซอร์เยมส์ บรุกแสดงตนว่ามีความรู้เรื่องเมือง ไทยมาก

เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้า อยู่หัวทรงสวรรคตในปี พ.ศ. 2394 หมอสมิธก็เขียนว่า ต้นแบบของคน หัวเก่าได้จบลงไปแล้ว (“This model type of "Old Siam,'' however, died in 1851.”) และเมื่อพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครอง ราชย์ หมอสมิธก็แสดงความนิยมชม ชอบพระองค์เป็นอย่างยิ่ง โดยหมอ สมิธได้บรรยายว่า จากการที่พระองค์ ได้ใช้เวลาในขณะที่ทรงผนวชเป็น ภิกษุคบหากับมิชชันนารีชาวอเมริกัน อาคันตุกะและชาวยุโรปที่พำนัก อาศัยอยู่ในสยาม และได้เรียนรู้ภาษา อังกฤษจนเชี่ยวชาญยิ่ง ทำให้ พระองค์ทรงสามารถมีความรู้มากมาย ในศาสตร์หลายสาขาและ วรรณกรรมต่างๆของยุโรป ทำให้ พระองค์ทรงยิ่งใหญ่ในทาง ภูมิปัญญาความรู้ในหมู่ชาวสยาม

และจากการได้ความรู้จากครูชาว ยุโรปและอเมริกันทำให้พระองค์ชื่น ชอบต่อแนวทางอันก้าวหน้าของชาติ ตะวันตกที่ล้วนเป็นชาวคริสต์ หมอ สมิธชื่นชมยกย่องพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าเป็นพระ มหากษัตริย์ที่ทรงมีชื่อเสียงเป็นที่ รู้จักไปทั่วโลกจากการที่พระองค์ได้ ทรงทำสนธิสัญญาสมัยใหม่กับ บรรดาชาติต่างๆที่เป็นชาวคริสต์

และที่หมอสมิธไม่ได้กล่าวไว้ในบท ความของเขาก็คือ “เมื่อพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้น ครองราชย์ พระองค์ทรงรับสั่งกับ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิ ราชสนิทว่า หนังสือกฎหมายของ นายโหมด ‘เป็นคุณต่อแผ่นดิน’ ไม่ ควรริบเอามาบรรจุพระเจดีย์ พระ เจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราช สนิทกราบทูลว่า หนังสือกฎหมายที่ ริบมายังไม่ได้เอาไปบรรจุพระเจดีย์ (นั่นคือ เอาไปทิ้งตามพระบรมราช โองการของรัชกาลที่สาม/ผู้เขียน) จึงรับสั่งให้เอาไปคืนแก่นายโหมด เพื่อนำไปขายมิให้ขาดทุนและ พระองค์ก็ทรงซื้อไว้บ้างเพื่อแจกแก่ โรงศาลทุกแห่ง”

และจากความสนพระทัยในความ ก้าวหน้าและอัจฉริยะความสามารถ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทำให้พระองค์ทรงตระหนักถึง ความสำคัญของขุนนางหนุ่มรุ่นใหม่ ที่กำลังเติบโตขึ้นมาอย่างคุณโหมด พระองค์ได้ทรงโปรดเกล้าให้คุณ โหมดมีบรรดาศักดิ์เป็นพระวิสูตร โยธามาตย์ และได้เป็นวิศวกรของ ทางราชการ และเมื่อมีการสั่งเครื่อง จักรผลิตเงินเหรียญอย่างดีจากอังกฤษ ก็ทรงโปรดเกล้าฯให้พระวิสูตรฯเข้า รับหน้าที่คุมเครื่องจักรดังกล่าว และ ด้วยความอดทน ขยันขันแข็งและ ไหวพริบของพระวิสูตรฯ ทำให้เกิด การผลิตเงินเหรียญที่ทำจากแร่ทอง เงินและตะกั่วขึ้นมาแทนที่การใช้เงิน จากเปลือกหอย

อีกทั้งหมอสมิธยกย่องคุณโหมดว่า เป็นสุภาพบุรุษชาวสยามที่มีความ โดดเด่นยิ่งนักในฐานะวิศวกรและนัก เคมี และได้รับใช้เบื้องยุคลบาทและ ประเทศชาติอย่างดียิ่ง ทำให้เขาได้รับ เลื่อนตำแหน่งมาโดยตลอด และเป็น ที่โปรดปรานของทั้งพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าฯและพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าฯ จนได้เลื่อนเป็น พระยากสาปนกิจโกศล อีกทั้งความ รู้ในทางเคมีของเขาก็สมควรได้รับ การยกย่องเชิดชูยิ่งนัก เพราะ เขาได้ ผลิตยาที่มีประโยชน์ที่ได้รับความ นิยมในการรักษาโรคอหิวาตกโรค และแจกจ่ายยารักษาแบบให้เปล่า และสามารถช่วยชีวิตผู้คนได้เป็น จำนวนมาก แม้ว่าพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าฯจะทรงโปรดจะให้ ค่าใช้จ่าย แต่เขาก็ไม่ยอมรับ

หมอสมิธยังชื่นชมยกย่องพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วยใน รัชสมัยของพระองค์ ทรงโปรดให้มี การทำสนธิสัญญากับต่างประเทศ หลายฉบับ ซึ่งผู้เขียนไปค้นมานับได้ 11 ฉบับ เริ่มต้นจากสนธิสัญญา เบาว์ริ่ง พ.ศ. 2398 หลังจากนั้น สยามได้ทำสนธิสัญญากับประเทศ ต่างๆในทำนองเดียวกันกับสนธิ สัญญาเบาว์ริ่งอีก 10 ประเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศและสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2399 เดนมาร์กและแคว้นฮันเซียติค ในปี พ.ศ. 201 ฮอลแลนด์ในปี พ.ศ. 2403 ปรัสเซียในปี พ.ศ. 2405 และ เบลเยี่ยม อิตาลี นอร์เวย์-สวีเดน ในปี พ.ศ. 2411

นอกจากนี้ ผู้เขียนยังไปค้นคว้าเพิ่ม เติมเพื่อสนับสนุนความเห็นของ หมอสมิธที่ว่าพระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าฯทรงเปิดรับทำไมตรีกับ ชาติตะวันตก นั่นคือ พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าฯยังทรงมีพระ สาส์นไปเจริญสัมพันธไมตรีกับ นานาประเทศอีกด้วยเป็นจำนวนทั้ง สิ้น 16 ฉบับตลอดระยะเวลา 17 ปี ในรัชกาลของพระองค์ รวมทั้งการ ส่งเสริมให้พระบรมวงศานุวงศ์ ข้า ราชสำนัก ข้าราชการและบุคคลทั่ว ไปได้เรียนภาษาอังกฤษและใช้ความ รู้ภาษาอังกฤษในการศึกษาหาความรู้ ของตะวันตกในด้านต่างๆต่อไป

และโดยส่วนพระองค์เองนั้นมีความ รู้ภาษาต่างประเทศเป็นอย่างดีและได้ ใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาหา ความรู้ในศาสตร์ต่างๆจนมีความโดด เด่นเป็นที่ประจักษ์รับรู้และยกย่อง จากบรรดาขุนนางข้าราชการทั้งปวง และสามารถโต้แย้งการเผยแพร่ ศาสนาของมิชชันนารีตะวันตกด้วย หลักฐานและเหตุผลที่เป็นวิทยา ศาสตร์สมัยใหม่ของตะวันตกดังที่ได้ กล่าวไปแล้ว และทรงโปรดให้ ออกประกาศต่างๆที่ให้ความรู้ ขจัด ความเชื่องมงายและจัดระเบียบ เปลี่ยนแปลงบ้านเมืองให้ทันสมัย

ประกาศต่างๆเหล่านี้ อาทิ ประกาศ ห้ามมิให้เชื่อการหลอกด้วยอำนาจผี พ.ศ. 2398, ประกาศทรงตักเตือนไม่ ให้ทิ้งศพสัตว์ลงในน้ำฯ พ.ศ. 2399, ประกาศเรื่องออกหนังสือราชกิจจา นุเบกษา พ.ศ. 2400, ประกาศดาว หางขึ้นอย่าให้วิตก พ.ศ. 2401, ประกาศดาวหางปีระกา ตรีศก พ.ศ. 2404 , ประกาศสุริยอุปราคา พ.ศ. 2404, ประกาศดาวพระเคราะห์พุธ เข้าในดวงอาทิตย์ พ.ศ. 2404,

ประกาศทรงอนุญาตให้ข้างในกราบ ถวายบังคมลาออกจากราชการ พ.ศ. 2404, ประกาศว่าด้วยการเล่าลือกัน ว่าพระพุทธทำนายเกิดขึ้นที่เมืองเขมร พ.ศ. 2407, ประกาศสุริยุปราคาหมด ดวง พ.ศ. 2411, ประกาศทรงอนุญาต ให้ราษฎรถวายฎีกา ทูลถามเรื่องที่ เล่าลือได้ (ไม่ปรากฏ พ.ศ.) ประกาศ ว่าด้วยเครื่องรองน้ำฝนอย่างยุโรป (ไม่ปรากฏ พ.ศ.) ที่สำคัญคือ การ ออกหนังสือราชกิจจานุเบกษาที่ทำ ให้ประชาชนสามารถรู้เรื่องราว ประกาศต่างๆของทางราชการ ป้องกันมิให้ข้าราชการคดโกงหลอก ลวงเอาเปรียบประชาชน

กล่าวได้ว่า ในทรรศนะของหมอสมิธ คำว่า “สยามเก่า” หมายถึง ชาวสยามที่ไม่เปิดรับตะวันตก แม้ว่าจะคลาดเคลื่อนในการตีตราพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯว่าเป็นต้นแบบของ “สยามเก่า” ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น จากการที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯทรงไม่มีความรู้ในภาษาอังกฤษและศาสตร์สมัยใหม่ของตะวันตกอย่างถ่องแท้ อีกทั้งในช่วงนั้น ชาติตะวันตกพยายามที่จะเข้ามาล่าอาณานิคมและแสวงหาประโยชน์โดยใช้อำนาจและอิทธิพลที่เหนือกว่า พระองค์ย่อมจะมีความระแวงและไม่ผลีพลามที่จะยอมรับทำสนธิสัญญาและการพิมพ์เผยแพร่หนังสือกฎหมายไทยออกสู่สาธารณะจนทำให้หมอสมิธเห็นว่าพระองค์คับแคบและปิดกั้นไม่รับความเจริญก้าวหน้าและความทันสมัย

ขณะเดียวกัน แม้ว่า หมอสมิธจะยกย่องพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯในฐานะที่คบค้าสมาคมกับมิชชันนารีชาวตะวันตก มีความรู้ภาษาอังกฤษและศาสตร์ตะวันตกสมัยใหม่ต่างๆเป็นอย่างดี และยอมรับการทำสนธิสัญญาต่างๆ และมีภาพลักษณ์นิยมตะวันตก และเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯทรงหัวเก่าหรือแบบฉบับของ “Old Siam” และท่านผู้อ่านอาจจะคิดว่าหมอสมิธน่าจะบัญญัติคำว่า “New Siam” มาขนานนามพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ในความคิดของหมอสมิธมีความแตกต่างอย่างยิ่งกับพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

แต่ไม่มีคำว่า “New Siam” ในข้อเขียนชิ้นนั้นของหมอสมิธ กลับมีคำว่า “Young Siam” และ “Conservative Siam” นอกเหนือไปจาก “Old Siam”

ถ้า “Old Siam” คือคนหัวเก่าคับแคบไม่รับอารยธรรมตะวันตก แล้ว “Conservative Siam” คืออะไร ? แล้วทำไมหมอสมิธถึงใช้คำว่า “Young Siam” และไม่ใช้ “New Siam” ?? (ต่อตอนหน้า)

(ในการเขียนบทความตอนนี้ ผู้เขียนขอบพระคุณ คุณเตช บุนนาค, คุณธงชัย ลิขิตพรสวรรค์แห่งสำนักพิมพ์ต้นฉบับ, คุณกนิษฐา กสิณอุบล กรรมการผู้จัดการสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์, คุณพิณทิพย์ เกิดผลานันท์ บรรณารักษ์ประจำห้องสมุดสยามสมาคมฯ, รวมพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1-4 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) เล่ม 2, (นนทบุรี: สำนักพิมพ์ศรีปัญญา: 2555), บทความของ กำธร เลี้ยงสัจธรรม เรื่อง“กรณีริบหนังสือกฎหมายในรัชกาลที่ 3” ศิลปวัฒนธรรม ธันวาคม 2547 และบทความเรื่อง“สั่งริบหนังสือกฎหมาย โรงพิมพ์หมอบรัดเลย์” ศิลปวัฒนธรรม วันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2564)